กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”

.วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567, จังหวัดนครราชสีมา – กระทรวงดีอี โดย ดีป้า เปิดเวทีประชันทักษะการบินและ การซ่อมโดรนเกษตร รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ Thailand Agriculture Drone Competition 2024 ในโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) พร้อมเผยโฉมแชมป์บิน – ซ่อมโดรนเกษตรครั้งแรกของไทย เตรียมพร้อมต่อยอดยกระดับทักษะเกษตรกรและช่างซ่อมชุมชนทั่วประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า จัดการแข่งขันการบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ในรายการ Thailand Agriculture Drone Competition 2024 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท ซึ่งการแข่งขันดังกล่าวเป็นกิจกรรมสำคัญในโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ที่มุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรและกลุ่มชุมชนเกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานด้วยตราสัญลักษณ์ dSURE จาก ดีป้า สำหรับการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ Thailand Agriculture Drone Competition 2024 จัดขึ้นที่สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายสามารถ สุวรรณมณี ปลัดจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการแข่งขัน และได้รับเกียรติจาก นายพรรณธนู วรรณกางซ้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ คณะผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มชุมชน เกษตรกร และประชาชนที่สนใจร่วมชมร่วมเชียร์และเป็นกำลังใจให้ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันเป็นจำนวนมาก

ข่าวที่น่าสนใจ

นายสามารถ กล่าวว่า จังหวัดนครราชสีมามีเกษตรกรราว 500,000 ครัวเรือน และมีพื้นที่การเกษตรกว่า 8 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น มันสำปะหลัง ข้าว และอ้อย โดยจังหวัดนครราชสีมาถือเป็นแหล่งปลูกและผลิตมันสำปะหลังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่งผลให้นครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรต่อเนื่อง ซึ่งการนำเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรมาประยุกต์ใช้สามารถยกระดับการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรมีจุดเริ่มต้นมาจากความตั้งใจที่จะพัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยให้มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ยุคเกษตรอัจฉริยะ โดยการส่งเสริมให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง โดยเฉพาะโดรนเพื่อการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการดูแลพืชผล ดังนั้นการแข่งขันในวันนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงเวทีประลองฝีมือ แต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับทักษะและต่อยอดศักยภาพของนักบินโดรน และช่างซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรจากทั่วประเทศ อีกทั้งเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างเกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายพื้นที่

“ทั้งนี้ โดรนเพื่อการเกษตรที่ผลิตในประเทศไทยจะต้องได้รับการยกระดับมาตรฐาน dSURE ทั้งในด้านความปลอดภัย มีคุณภาพ และราคาที่สมเหตุสมผล การันตีด้วยการขึ้นทะเบียนบนบัญชีบริการดิจิทัล เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง การบิดเบือนตลาด และก่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ส่วนในปี 2568 ดีป้า พร้อมสานต่อการส่งเสริมให้กลุ่มชุมชนและเกษตรกรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอื่นนอกเหนือจากโดรนเพื่อการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี IoT และ Cloud Computing ที่จะนำมาใช้ร่วมกับเกษตรแปลงใหญ่ รวมถึงรถแทร็กเตอร์ที่มีการติดตั้งระบบ GPS และรองรับการควบคุมผ่านสัญญาณ 5G ที่จะนำมาใช้บริหารจัดการแปลงและเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต อีกทั้งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรไทยในยุคดิจิทัล” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ที่ผ่านมา ดีป้า และเครือข่ายพันธมิตรได้ร่วมจัดการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาคใน 5 ภูมิภาค จนได้ทีมที่ผ่านเข้ารอบรวม 131 ทีมมาร่วมชิงชัยในรายการ Thailand Agriculture Drone Competition 2024 ในวันนี้ โดยแบ่งเป็นการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร 100 ทีม และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร 31 ทีม ซึ่งผลการแข่งขันแบ่งเป็นทีมผู้ชนะการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม โดรน เอไอ รับถ้วยพระราชทานฯ เหรียญทอง พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ได้แก่ ทีม บัซซ์ไดร์ฟ รับเหรียญเงิน พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ ทีม สุกี้รวมมิตร รับเหรียญทองแดง พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท

.ทีมผู้ชนะการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม โดรน เอไอ รับถ้วยพระราชทานฯ เหรียญทอง พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ได้แก่ ทีม โดรนเกษตรตีสาม รับเหรียญเงิน พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ ทีม สิงห์เหนือแพร่ 1 รับเหรียญทองแดง พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท

.ทั้งนี้ การแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ทั้งรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค และรอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน อาทิ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีซี่ 2018 จำกัด บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท พาวเวอร์ อโกรเทค (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรและกลุ่มชุมชนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาสเข้าถึงและพัฒนาทักษะดิจิทัล ตอบโจทย์การขับเคลื่อนชุมชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างยั่งยืนผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ได้ที่ Facebook Page: depa Thailand

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง
"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ชี้เจรจา MOU 44 ถามคนไทยหรือยัง เอาพลังงานหรืออธิปไตย
สุดเศร้า "นักเรียน ม.4" เรียนวิชาพละ  วิ่งได้ 200 เมตร หัวใจวายเสียชีวิต
"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น