เจาะ “MOU44” พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา “เกาะกูด” เป็นของใคร

เปิดหลักฐาน “MOU44” หรือ MOU 2544 พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ขุมทรัพย์ทางพลังงานมูลค่ามหาศาล “เกาะกูด” เป็นของใคร 

 

เจาะ MOU44 เกาะกูดเป็นของใคร

 

Top News รายงาน ถึงแม้ว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน “เกาะกูด” จะอยู่ในการปกครองของประเทศไทยมาตลอด แต่ข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ที่กินเวลายาวนาน ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ ความคาดหวังการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา จึงถูกจับตาอีกครั้ง เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเกาะกูด กว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร มีก๊าซธรรมชาติถึง 11 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต มูลค่า 3.5 ล้านล้านบาท, น้ำมันดิบอีกกว่า 500 ล้านบาเรลล์ มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท นั่นหมายความถึง ทรัพยากรที่มีมูลค่ามหาศาล…ประเด็น “MOU44” หรือ MOU 2544 หรือ บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ที่มีการลงนามร่วมกัน ถูกหยิบยกขึ้นมา เพราะหลายฝ่ายมีความกังวลว่า “MOU44” จะทำให้เสียพื้นที่เกาะกูดให้กับกัมพูชา

ข่าวที่น่าสนใจ

เจาะ MOU44 ไทยเสียเกาะกูดได้หรือไม่

 

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ขนาด 26,000 ตร.กม. ที่เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของทั้งไทยและกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 หรือที่เรียกกันว่า MOU44

 

สุพรรณวษา โชติกญาณ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อธิบายว่า MOU44 ระบุให้ดำเนินการทั้งในเรื่องการแบ่งเขตทางทะเล และการพัฒนาพื้นที่ร่วมไปพร้อมกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายเจรจาหารือกันบนพื้นฐานของหลักกฎหมายระหว่างประเทศและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยมีกลไกหลักของการเจรจาแก้ไขปัญหา OCA ภายใต้ MOU 44 คือคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านความมั่นคง กฎหมาย และพลังงาน โดยที่ผ่านมา มีการประชุม JTC สองครั้ง เมื่อปี 2544 และ 2545

 

นอกจากนี้ ยังมีกลไกย่อยอื่นๆ ได้แก่ คณะอนุกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Sub-JTC), คณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับการกำหนดเขตทางทะเล และคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับระบอบพัฒนาแนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหา OCA ที่ทั้งไทยและกัมพูชาเห็นสอดคล้องกัน ทั้งในระดับนโยบายและระดับเทคนิค คือ

 

  1. ประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องยอมรับข้อตกลงได้
  2. จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาของทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ
  3. ข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ดังนั้น MOU44 จึงเป็นความตกลงที่กำหนดกรอบและกลไกการเจรจาระหว่างกัน โดยไม่ได้เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิทางทะเลของอีกฝ่ายแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันต่อไป ในข้อ 5 ระบุไว้อย่างชัดเจน

 

นอกจากนี้ เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และปัจจุบัน ไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 100%

MOU44

ข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า MOU44 มีเพียง 3 หน้า ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยหน้า 3 เป็นเอกสารแนบ หัวใจอยู่ที่ข้อ 2 ที่แบ่งเป็นข้อ ก กับข้อ ข

 

  • ข้อ ก – จัดทำความตกลงกันสำหรับการพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันซึ่งอยู่ในพื้นที่พัฒนาร่วม หรือ JDA (Joint Development Area) ในพื้นที่สีขาวส่วนล่างของแผนผังแนบท้าย
  • ข้อ ข – ตกลงแบ่งเขตแดนทางทะเล (ทะเลอาณาเขต, ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) ซึ่งอยู่ในพื้นที่แลเงาสีดำเป็นเสมือนทางม้าลายส่วนบนของแผนผังแนบท้าย เรียกว่าเขต Area to be Delimited

 

ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนล่าง ข้อ ก มีขนาด 16,000 ตารางกิโลเมตร ขณะที่พื้นที่ส่วนบน ข้อ ข มีขนาด 10,000 ตารางกิโลเมตร

 

MOU44

 

แหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่าหลายร้อยล้าน ตัวแปรสำคัญ

 

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว หรือ MOU44 เคยเขียนบทความในจุลสารความมั่นคงศึกษา ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ฉบับที่ 92 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 เรื่อง พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ไว้ว่า แม้การลงนาม MOU44 นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้ยืนยันว่า จะยกเลิกข้อเรียกร้องการถือครองเกาะกูดครึ่งหนึ่ง และยอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทย โดยแผนผังที่แนบท้ายบันทึกความเข้าใจได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “เกาะกูดอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย”

 

แต่ทว่า การค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในพื้นที่ทับซ้อนในเวลาต่อมา ทำให้บริษัทน้ำมันข้ามชาติหลายแห่งสนใจเข้ามาลงทุนผ่านทางกัมพูชา ซึ่งอาจส่งผลให้การเจรจาในอนาคตยากขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้น และมีผู้เล่นใหม่ๆ ที่สนใจเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น

 

“เกาะกูด” อาจจะไปไกลถึงศาลโลก และจะซ้ำรอยเหมือน “เขาพระวิหาร” หรือไม่ เมื่อตัวแปรสำคัญคือแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่มีผลประโยชน์มหาศาล

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส
ซาอุฯเคยเตือนเยอรมนีเรื่องคนร้ายโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น