“มาริษ” ยันกต.จะทำหน้าที่อย่างมือาชีพ เจรจา MOU 44 “กัมพูชา” ย้ำผลประโยชน์สูงสุดต้องเป็นประเทศชาติ

"มาริษ" ยันผลการเจรจาเพื่อใช้ประโยชน์ปิโตรเลียมในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนไทย-กัมพูชา ประชาชนไทยต้องเห็นชอบก่อน - ย้ำผลประโยชน์ต้องเป็นของประชาชน ชี้ MOU44 เป็นกลไกทำให้การเจรจาไทยกับกัมพูชาเดินหน้าได้

“มาริษ” ยันกต.จะทำหน้าที่อย่างมือาชีพ เจรจา MOU 44 “กัมพูชา” ย้ำผลประโยชน์สูงสุดต้องเป็นประเทศชาติ – Top News รายงาน

มาริษ

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงถึงความกังวลเกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณอ่าวไทยว่า ผลการเจรจา หากจะสำเร็จ และยุติได้ จะต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย และรัฐสภาของทั้งสองประเทศ จะต้องให้ความเห็นชอบ ผ่านการเสนอจากคณะรัฐมนตรี เข้าสู่กระบวนการรัฐสภาในฐานะผู้แทนประชาชน ที่จะเป็นผู้ตัดสินว่าเห็นชอบกับผลการเจรจาหรือไม่ และข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น จึงเป็นไปไม้ได้ ที่จะให้มีการเจรจาเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งได้ตามที่มีการกล่าวอ้าง

ส่วนการใช้ประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียมนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า ยังไม่สามารถกระทำได้จนกว่าการเจรจาดังกล่าวจะมีข้อยุติ โดยผลการเจรจาจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ของประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่ง MOU44 กำหนดให้จะต้องเจรจา 2 เรื่องทั้ง “เขตทางทะเล” และ “การพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน” ไปพร้อมๆ กันโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ พร้อมยืนยันว่า หากการเจรจาสำเร็จ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดต้องเป็นประเทศชาติ และพี่น้องประชาชนคนไทย ที่จะมีเขตทางทะเลที่ชัดเจนกับประเทศเพื่อนบ้าน และได้ใช้พลังงานที่มีราคาถูกลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายมาริษ กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้มีการยกเลิก MOU44 เพราะถือเป็นการยอมรับเส้นอ้างสิทธิของกัมพูชา และทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนว่า MOU44 ไม่ได้เป็นการยอมรับเส้นอ้างสิทธิในไหล่ทวีปของกัมพูชา และไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดนใดๆ เพราะเกาะกูดอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย 100 เปอร์เซ็นต์ และจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ สาระสำคัญ ใน MOU44 เป็นเพียงการตกลงร่วมกัน “เพื่อที่จะเจรจาเท่านั้น” โดยแผนผังแนบท้าย เป็นเพียง “ภาพประกอบของพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปของแต่ละประเทศ” ซึ่งเส้นอ้างสิทธิในข้อตกลงนี้ ไม่ใช่เส้นเขตทางทะเล ตามที่มีการเข้าใจผิดแต่อย่างใด

นายมาริษ กล่าวย้ำว่า การคงไว้ซึ่ง MOU44 เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะข้อตกลงนี้ทำให้ ทั้งสองฝ่าย มีพันธกรณีที่จะต้องมาเจรจากัน ทั้งในเรื่อง “เขตทางทะเล” และ “พื้นที่พัฒนาร่วม” ไปพร้อม ๆ กัน

 

ส่วนกรณีที่รัฐบาลเมื่อปี 2552 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU44 โดยให้ไปศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบก่อนนำเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และรัฐสภานั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า ในกระบวนการศึกษาข้อมูลดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศได้ประชุมหารือ และรับฟังข้อคิดเห็นจากคณะที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านกฎหมาย จนได้ข้อสรุป เสนอเป็นมติคณะรัฐมนตรีในปี 2557 ว่า การคง MOU44 ไว้ เป็นผลดีมากกว่าเสีย และที่สำคัญการมีเขตทางทะเลที่ชัดเจน จะนำไปสู่การเจรจาการใช้ประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียมได้อย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน

“ขอให้เชื่อมั่นว่า การเจรจาจะคำนึงถึงอธิปไตยและผลประโยชน์ของคนไทยเป็นที่ตั้ง โดยยืนยันว่า กระทรวงการต่างประเทศ จะทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพสูงสุด” นายมาริษ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“พาณิชย์”ชี้เป้าส่งออกปลาสวยงามขายจีน เผย “ปลากัด” มาแรงได้รับความนิยมสุด
"นฤมล"นำถก 3 ฝ่ายลุยแก้ปัญหายางพารา สั่งรับมือภาษีสหรัฐฯลดผลกระทบเกษตรกร
“อินโดนีเซีย” ระทึก! แผ่นดินไหวหมู่เกาะ Talaud รุนแรง 6.2 ลึก 128 กม.
"คปท." นำยื่นหนังสือแพทยสภา ขอเร่งสรุปผลสอบชั้น 14 อยากรู้ "ทักษิณ" ป่วยวิกฤตจริงหรือไม่
โปรสตรี จัดประชุมใหญ่ นายกฯเผยรายละเอียดแมทช์เวียดนาม
ไทยแลนด์ พีจีเอทัวร์ 2025 เติมแมตซ์เพลย์ใน 23 รายการ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 35 ล้านบาท ตั้งเป้าสร้างแมตซ์ พัฒนาโปร ต่อยอดอาชีพ
"ทหารพราน" สกัดรถกระบะขนยา แหกด่าน ยึดของกลาง ยาบ้า 2.5 ล้านเม็ด
"สนธิญา" ร้องป.ป.ช.สอบ "พีระพันธุ์" ขัดรธน.อ้างถึงองคมนตรี - ถือหุ้นบริษัทเอกชน
ตร.เร่งสอบพยานกว่า 100 ปาก "คดีตึก สตง.ถล่ม" หาผู้กระทำผิด ยันทำงานเต็มที่
สรุปไทม์ไลน์ไฟไหม้ "โรงแรมดาราเทวี" เชียงใหม่ จุดต้นเพลิงเรือนไม้หน้าสปา จนท.เร่งสอบสาเหตุแท้จริง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น