ทช. เล็งหาผักชนิดใหม่ หลัง “พะยูน” เมินผัก 4 ชนิด ทดแทนหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เล็งหาผักชนิดใหม่ใส่แปลงให้พะยูนกิน หลัง พะยูน เมินกิน ผัก 4 ชนิด ประกอบด้วย ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง และผักคะน้า เพื่อมาทดแทน หญ้าทะเลที่เสื่อมโทรม ด้าน “อ.ธรณ์” แนะ เร่งสำรวจแหล่งอาหารใหม่เพิ่ม ไม่งั้นอีก4ปีอาจเหลือแค่70ตัวจาก250ตัว

ทช. เล็งหาผักชนิดใหม่ หลัง “พะยูน” เมินผัก 4 ชนิด ทดแทนหญ้าทะเลเสื่อมโทรม – Top News รายงาน

 

ทช.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก โดยระบุข้อความว่า.. วานนี้ (6 พ.ย.2567 ) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้ทดลองวางแปลงอาหารธรรมชาติ เพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับพะยูนในสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรม บริเวณแหล่งหญ้าทะเลท่าเทียบเรือหาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต เป็นวันที่ 2 โดยจัดวางแปลงในช่วงเวลาน้ำทะเลลงต่ำสุด บริเวณใกล้แหล่งหญ้าทะเลที่พะยูนเข้ามาหากิน ขนาดแปลงละ 1 ตารางเมตร รวมจำนวน 4 แปลง โดยใช้ผัก 3 ชนิด ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง และผักคะน้า เพื่อทดสอบชนิดผักที่พะยูนมีความสนใจ หลังจากนั้นมีการติดตามผลในช่วงเวลาน้ำขึ้น โดยการบินสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับ เพื่อสำรวจการเข้ามากินอาหารของพะยูน จากการเฝ้าติดตาม พบพะยูนเข้ามาหากินในบริเวณดังกล่าว จำนวน 1 ตัว ชื่อ “หลังขาวใหญ่” มีร่างกายที่ผอมลงจากครั้งแรกที่พบในการสำรวจ ว่ายเข้าไปยังแปลงทดลอง มีความสนใจ แต่ไม่ได้เข้ามากินผักในแปลงทดลองดังกล่าว อาจมีสาเหตุเนื่องจากความไม่คุ้นชิน จึงวางแผนปรับเปลี่ยนการวางผักและชนิดผักสำหรับเสริมให้ในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้ศูนย์วิจัยฯ จะพัฒนาแนวทางการเสริมอาหารให้กับพะยูนในช่วงสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรมนี้ต่อไป

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตามก่อนหน่านี้ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การขาดแคลนแหล่งอาหารหญ้าทะเลจึงทำให้พะยูนตายลงเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ปีที่แล้วถึงปัจจุบันมีพะยูนตายไปแล้วจำนวน 72 ตัว จากจำนวนประชากรเมื่อปี 2565 ซึ่งอยู่ที่จำนวน 250 ตัว และหากยังเป็นเช่นนี้คาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้า ประชากรพะยูนของไทยน่าจะเหลืออยู่ที่ 60-70 ตัว หรือลดลงถึง 75% ดังนั้นความจำเป็นเร่งด่วนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการคือการสร้างแหล่งอาหารเพิ่มเติม โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการร่วมมือกันสำรวจหาแหล่งอาหารใหม่เพิ่ม รวมทั้งสำรวจประชากรของพะยูนที่ชัดเจน

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่างการเก็บเมล็ดหญ้าทะเลนำมาเพาะพันธุ์เพื่อนำไปปลูกเพิ่มเติมในแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน ส่วน ทช. ร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครดำเนินการสำรวจประชากรพะยูน รวมถึงสร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่ต่างๆ

“ที่สำคัญ ทช. กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยการให้อาหารเสริมกับพะยูน โดยการให้ผักกาดขาวเป็นอาหารในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลหาดราไวย์ ซึ่งเคยสำรวจพบพะยูน 3 ตัวในบริเวณดังกล่าว ทั้งนี้การให้ผักกาดขาวเป็นอาหารเสริมกับพะยูน เคยทำมาแล้วในอเมริกาและญี่ปุ่น แต่เป็นการดำเนินการในอควาเรียมที่เลี้ยงมาพะยูนตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก ซึ่งไทยถือเป็นประเทศแรกในโลกที่มีการให้ผักกาดกับพะยูนที่อยู่ในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามพบว่าพะยูนยังไม่ได้มากินผักกาดขาวที่ให้ไว้ ทั้งนี้มีรายงานการพบพะยูนในพื้นที่ใกล้เคียงประเทศไทย เช่น ลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเดิมไม่ค่อยมีรายงานการพบพะยูนในพื้นที่ดังกล่าวมากนัก คาดว่าจะเป็นพะยูนจากประเทศไทยที่อพยพไป แต่พื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ได้มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งหญ้าทะเลมากนัก ซึ่งเรามีความร่วมมือกับทางมาเลเซียอยู่แล้ว และจะร่วมมือกันในการสำรวจประชากรของพะยูนให้ชัดเจนต่อไป” ผศ.ดร.ธรณ์กล่าว

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า ส่วนแนวคิดในการเคลื่อนย้ายพะยูนจากฝั่งอันดามันไปอยู่ฝั่งอ่าวไทย ที่มีปัญหาแหล่งหญ้าทะเลน้อยกว่า เป็นเรื่องที่น่าจะทำได้ลำบาก เพราะเกรงในเรื่องความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย และการไม่คุ้นชินกับแหล่งที่อยู่ใหม่ แต่ในกรณีพะยูนที่ป่วย ก็สามารถนำมาอนุบาลในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยชะลอการสูญเสียชีวิตของพะยูนในธรรมชาติได้

  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ชูศักดิ์” รับเข้าให้ข้อมูลอัยการสูงสุด ปมถูกร้องยุบเพื่อไทย ลุ้นศาลรธน. รับคำร้องหรือไม่
TSB ลุยช่วยสังคมต่อเนื่อง จับมือนักธุรกิจเอกชน ฟื้นฟูน้ำท่วมเชียงราย
“4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ชวนย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระรามและพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สินค้าจ่อขึ้นราคาหลังสหรัฐได้ผู้นำใหม่
“รณณรงค์” เดือดหามภรรยาส่งรพ. เครียดจัด หลัง “ตั้ม” ทิ้งบอมบ์เมียมีชู้
สุดเศร้า "พ่อลูกอ่อน" ห้ามคนตีกัน ถูกยิงหัวดับคางานหมอลำ สลดโพสต์สุดท้ายถึงกับจุกอก
เครือซีพี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้ารางวัลบทความวิจัยยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อม หนุนโครงการ “ป่าปลอดเผา” สร้างชุมชนต้นแบบป้องกันไฟป่า แนวเขตชายแดนไทย-เมียนมา
แนะสร้าง "Demand Side" เร่งแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ เอมอร อัมฤก นักวิชาการอิสระ
ด่วนจับแล้ว "ทนายตั้ม-ภรรยา" ตร.ตั้ง 3 ข้อหาหนัก หลังมีการออกหมายจับ เจอรวบที่ฉะเชิงเทรา
เกษตรกรเลี้ยงปูทะเลสงขลาลดเสี่ยง ประมงสงขลาหนุนกำจัดปลาหมอคางดำในบ่อด้วย “กากชา”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น