“อดีตโฆษกทร.” ขอให้มั่นใจทีมเจรจา MOU 44 ยันไม่ง่ายนำอธิปไตย แลกผลประโยชน์ส่วนตัว

“พล.ร.อ.จุมพล” อดีตโฆษกกองทัพเรือ ขอให้เชื่อมั่นทีมเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ไล่ไทม์ไลน์MOU44 เกิดยุค “ทักษิณ” เพราะสานต่อจากMOU43 ยุครบ.ชวน

“อดีตโฆษกทร.” ขอให้มั่นใจทีมเจรจา MOU 44 ยันไม่ง่ายนำอธิปไตย แลกผลประโยชน์ส่วนตัว – Top News รายงาน

อดีตโฆษกทร.

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 พล.ร.อ.จุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และอดีตโฆษกกองทัพเรือ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าวท็อปนิวส์ กรณีพื้นที่ทับซ้อนบนทะเลอ่าวไทย ว่า ประเทศไทยเรามีอำนาจอธิปไตยบนเกาะกูด ทั้งด้านกฎหมาย และบริเวณโดยรอบเกาะกูด 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผลสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุชัดเจนว่า “ฝรั่งเศสยกเกาะกูดให้สยาม หรือ ประเทศไทยอย่างชัดเจน” ย้ำว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องยืนยัน และปัจจุบัน ปี 2024 ใช้เวลา 117 ปี กำลังเข้าสู่ปีที่ 118 เรามีสำเนาทะเบียนบ้าน มีค่ายทหาร หรือหน่วยปฏิบัติเกาะกูด และกระโจมไฟ ซึ่งกระโจมไฟแสดงถึงสิทธิการเป็นเจ้าของในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นจึงไม่มีใครอ้างได้ว่า เมื่อทำ MOU 2544 แล้ว ประเทศไทยจะเสียเกาะกูดไป เพราะหากจะเสียเกาะกูดไป ก็คงเสียไปนานแล้ว

 

เมื่อถามว่าในเมื่อประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด น่านน้ำบริเวณเกาะกูด ไทยก็ต้องมีสิทธิ์ด้วยใช่หรือไม่ พลเรือเอกจุมพล กล่าวว่า มีสิทธิ์แน่นอน เนื่องจากเราประกาศเส้นฐานตรง เชื่อมกับเกาะต่างๆ เพื่อเป็นเส้นฐาน ซึ่งเส้นฐานที่ 1 ปี 2513 เราประกาศใช้เส้นดังกล่าว จากนั้นจะแบ่งพื้นที่ด้านข้างออกไป 12 ไมล์ทะเล กัมพูชาก็เช่นเดียวกัน ที่ใช้สิทธิ์เกาะกงลากเส้นฐานตรงเช่นเดียวกัน ต่างคนต่างอ้าง โดยที่ประเทศไทยอ้างเส้นไหล่ทวีป แต่กัมพูชาอ้างหลักประวัติศาสตร์ ดังนั้นสิทธิ์การอ้างบนพื้นที่ทับซ้อนจึงมีด้วยกันทั้งคู่ ฉะนั้นจึงต้องมาที่โต๊ะเจรจา และได้เจรจาในกรอบ MOU 44 มาตั้งแต่ปี 2544 แล้ว โดยMOU ได้เปรียบและเสียเปรียบหลายเรื่อง แต่ตนไม่ขอก้าวล่วง เสมือนเปิดไพ่ให้เขาดู แต่ขอให้เชื่อทีมกฎหมาย และทีมขีดเส้น รวมถึงทีมเจรจาที่กำลังจะแต่งตั้ง

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

พลเรือเอกจุมพล ยืนยันว่า ต้องเจรจาต่อรองพื้นที่ทับซ้อน เพื่อขีดเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลใหม่ โดยต้องทำควบคู่กันการพัฒนาร่วม ซึ่งเป็นการชาญฉลาดของการเจรจาครั้งนั้น เพื่อไม่ให้เรื่องใดเรื่องหนึ่งยังค้างคาอยู่ ส่วนที่หลายคนบอกว่าต้องขีดเส้นก่อนแล้วค่อยเจรจานั้น เราบังคับเขาได้หรือไม่ ส่วนที่หลายท่านบอกว่าอยากให้ยกเลิก MOU 44 นั้น มันเป็นแนวคิดเชิงทั่วไป ซึ่ง MOU สามารถยกเลิกได้ แต่ต้องทำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนั้น และทั้ง 2 ฝ่ายต้องเห็นตรงกัน

 

เมื่อถามถึง ความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดการเจรจาMOU44 เกิดขึ้น เพราะความสัมพันธ์นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับ สมเด็จฮุน เซน ผู้นำกัมพูชาในเวลานั้น พลเรือเอก จุมพล ชี้แจงว่า จริงๆมันเป็นความต่อเนื่องจาก MOU 43 ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีในยุคนั้น และนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และสำเร็จในการปักปันเขตแดนบนบก เมื่อนายทักษิณ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จึงใช้ช่องทางความสัมพันธ์ที่ดีเปิดการเจรจา เนื่องจากปี 2535 และปี 2538 มีการเจรจาพื้นที่ทางทะเลเกิดขึ้น แต่ไม่สำเร็จ เมื่อเข้าปี 2543 เริ่มขยับมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ส่วนที่นายทักษิณ กับ สมเด็จฮุน เซน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ก็เป็นเรื่องส่วนตัว

ส่วนที่หลายคนวิจารณ์ว่าเป็นการนำอธิปไตยของประเทศไปแลกกับผลประโยชน์ส่วนตัวนั้น อดีตโฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า กว่าจะเจรจาตรงนี้ได้ และขั้นตอนให้ถึงการที่จะแสวงประโยชน์ให้เกิดช่องทางที่จะคอรัปชั่นเชิงนโยบายได้นั้น มันมีขั้นตอนของการให้สัมปทาน ซึ่งหลายคนเข้าใจผิด กระบวนการที่จะเกิดขึ้นต่อไป เป็นหน้าที่ที่พวกเราต้องตรวจสอบตั้งแต่คณะกรรมการเจทีซี จนถึงอนุกรรมการของเจทีซีที่มีอยู่ 3 กลุ่มงานหลัก ได้แก่

1.กลุ่มขีดเส้นและแบ่งเขต โดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายเป็นแม่งาน

2.กลุ่มเรื่องผลประโยชน์ทรัพยากรใต้ทะเล โดยกระทรวงพลังงาน ซึ่งไม่ใช่ การแบ่งผลประโยชน์ 50-50 ตามที่หลายคนบอก มันอยู่ที่โต๊ะเจรจา

3.กลุ่มที่ 3 คือนักขีดเส้น ซึ่งมาจากกลุ่มอุทกศาสตร์ทหารเรือ หรือกรมแผนที่ทหาร และหน่วยงานอื่นๆที่จบกฏหมายทะเลมา ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันจะตั้งคณะกรรมการเจทีซีในสัปดาห์หรือสองสัปดาห์นี้

 

พลเรือเอกจุมพล กล่าวอีกว่า ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ก็ได้ตั้งคณะกรรมการเจทีซีแล้ว โดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังท่านปัจจุบันเป็นคณะทำงานด้วย โดยเตรียมตั้งท่าเจรจาแล้ว แต่หมดรัฐบาลเสียก่อน ส่วนสามารถพูดได้ชัดหรือไม่ ว่าประเทศไทยเราจะไม่เสียเปรียบพื้นที่ทางทะเล และผลประโยชน์ของชาติทางทะเลตรงพื้นที่ทับซ้อนนั้น เราต้องนำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นตัวตั้ง เนื่องจากเราไม่สามารถเคลื่อนย้ายประเทศได้ ดังนั้นสิ่งที่ทั้ง 2 ประเทศควรต้องทำ คือ “วินๆ” ต่างคนต่างไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กอดเคลียร์ใจ น้ำตาซึม “ชูวิทย์” ถือพวงมาลัยขอขมา “สนธิ” กอดอบอุ่น ลืมอดีตขัดแย้ง
เจ็บแสบ! “สนธิ” เย้ย “เดชาเพื่อตั้ม” ต้นแบบยางมะตอย เอาอะไรมาถูก็ไม่รู้สึก
“ชูศักดิ์” รับเข้าให้ข้อมูลอัยการสูงสุด ปมถูกร้องยุบเพื่อไทย ลุ้นศาลรธน. รับคำร้องหรือไม่
TSB ลุยช่วยสังคมต่อเนื่อง จับมือนักธุรกิจเอกชน ฟื้นฟูน้ำท่วมเชียงราย
“4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ชวนย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระรามและพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สินค้าจ่อขึ้นราคาหลังสหรัฐได้ผู้นำใหม่
“รณณรงค์” เดือดหามภรรยาส่งรพ. เครียดจัด หลัง “ตั้ม” ทิ้งบอมบ์เมียมีชู้
สุดเศร้า "พ่อลูกอ่อน" ห้ามคนตีกัน ถูกยิงหัวดับคางานหมอลำ สลดโพสต์สุดท้ายถึงกับจุกอก
เครือซีพี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้ารางวัลบทความวิจัยยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อม หนุนโครงการ “ป่าปลอดเผา” สร้างชุมชนต้นแบบป้องกันไฟป่า แนวเขตชายแดนไทย-เมียนมา
แนะสร้าง "Demand Side" เร่งแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ เอมอร อัมฤก นักวิชาการอิสระ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น