“กกพ.” เปิดรับฟังความเห็น 3 เงื่อนไข สูตรคำนวณ ค่าเอฟที งวด ม.ค.-เม.ย. 68

ดับฝัน!! ลดค่าไฟ ม.ค.-เม.ย.68 กกพ.เปิดฟัง 3 ทางเลือก ต่ำสุดเท่าเดิม

“กกพ.” เปิดรับฟังความเห็น 3 เงื่อนไข สูตรคำนวณ ค่าเอฟที งวด ม.ค.-เม.ย. 68 – Top News รายงาน

กกพ.

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. ครั้งที่ 49/2567เมื่อวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2568 แบ่งเป็น 3 กรณี ตามเงื่อนไข ดังนี้

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft เพื่อจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด ได้แก่ ต้นทุนการจัดหาไฟฟ้าคงค้างของ กฟผ. จำนวน 85,236 ล้านบาท และค่าภาระต้นทุนการจัดหาก๊าซคงค้างของ กฟผ.และปตท.เดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 จำนวน 15,083.79 ล้านบาท โดยสูตรนี้ค่า Ft ขายปลีกจะเท่ากับ 170.71 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.49 บาทต่อหน่วย จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วยในงวดปัจจุบัน โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – สิงหาคม 2567 ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด

 

กรณีที่ 2: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft จ่ายคืนเฉพาะภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมดจำนวน 85,236 ล้านบาท โดนค่า Ft ขายปลีกจะเท่ากับ 147.53 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.26 บาทต่อหน่วย ซึ่งสูตรนี้จะยังมีภาระต้นทุนการจัดหาก๊าซคงค้างของ กฟผ.และปตท.จำนวน 15,083.79 ล้านบาท

กรณีที่ 3: กรณีตรึงค่า Ft เท่ากับงวดปัจจุบัน 39.72 สตางค์ต่อหน่วย และค่าไฟฟ้าคงที่4.18 บาทต่อหน่วย ตามข้อเสนอ กฟผ. ซึ่งสูตรนี้จะทยอยชำระคืนภาระต้นทุนการจัดหาไฟฟ้าของ กฟผ.ได้จำนวน 15,094 ล้านบาท โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2568 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. และ ปตท. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 85,226 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 8 – 22 พฤศจิกายน 2567 ก่อนที่จะสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

 

นายพูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวลดลง แต่เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้าที่ยังคงสูงอยู่ ส่งผลให้ค่าไฟในช่วงต้นปี 2568 นี้ อาจจะต้องปรับเพิ่มค่า ค่าFT ขึ้นสู่ระดับ 147.53 – 170.71 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อคืนหนี้คงค้างให้กับ กฟผ. และ ปตท. ซึ่งทำให้เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน ที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวดมกราคม – เมษายน 2568 เพิ่มขึ้นเป็น 5.26 – 5.49 บาทต่อหน่วย หรือหากตรึงค่าเอฟทีไว้ที่ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย โดยทยอยคืนหนี้คงค้างควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อการปรับค่าไฟฟ้าอย่างก้าวกระโดด เพื่อลดภาระของประชาชน ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย เท่ากับปัจจุบัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น