ปกรณ์ นิลประพันธ์ กับความหวังต่อทิศทางของประเทศพัฒนาแล้วชัดเจนมุ่งไปสู่ AI, quantum computing, bio-technology และ space technology

กดติดตาม TOP NEWS

การศึกษาไม่ใช่การจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการ “วางอนาคตของชาติ” และ “สร้างอนาคตของชาติ” ต้องไม่ย่ำอยู่กับที่ ระบบราชการ หน่วยงานของรัฐ และบุคลากรภาครัฐ ต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง ไม่ทำงานอย่าง rule based แต่เป็น outcome based หน่วยตรวจสอบต้องเปลี่ยนเป็นตรวจ outcome audit ไม่ใช่แค่ตรวจ compliance และ performance

TOP News  บทความโดย  ปกรณ์ นิลประพันธ์ ทิศทางของประเทศพัฒนาแล้วชัดเจนมุ่งไปสู่ AI, quantum computing, bio-technology และ space technology การมุ่งไปสู่เรื่องดังกล่าวต้องการ strong policy support และการสื่อสารที่ทำให้ผู้คนตระหนักถึง “อนาคต” และทิศทางที่ประเทศจะก้าวเดินไป รวมทั้ง initiative ต่าง ๆ ของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมที่จะร่วมกันสร้าง ecosystem ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาในเรื่องดังกล่าว ทิศทางเศรษฐกิจไม่ใช่แค่ GDP growth แต่เป็น wellbeing growth เน้นการให้ incentive เพื่อกระตุ้นการพัฒนาของภาคเอกชน ไม่ใช่เอะอะก็รัฐตั้งหน่วยงานมาทำเองเพราะรัฐไม่ใช่องคาพยพที่เต็มไปด้วยคนมีการศึกษาสูง ๆ เหมือนราชการเมื่อ 100 ปีก่อนอีกแล้ว ภาคเอกชนหลังยุค 1980s มีคนเก่งการศึกษาสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมากกว่าราชการแล้วในปัจจุบัน รัฐจึงไม่ใช่ผู้นำเหมือนอย่างในยุค constitutionalism มานานแล้ว

 

การออกกฎหมายเพื่อควบคุมบังคับต้องเปลี่ยนทิศเป็นส่งเสริม เพื่อสร้างความสามรถในการแข่งขัน และควบคุมการแข่งขันให้ based on equal basis ขจัด barrier to entry to market อย่างจริงจัง

ระบบภาษีและระบบงบประมาณต้องพัฒนาเพื่อรองรับการพัฒนาที่ว่านี้ รวมทั้งการจัดการกับสังคมสูงวัย ไม่อุดหนุนพร่ำเพรื่อกระทั่งผู้คนไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง อยู่ด้วยการเรียกร้อง การเสี่ยงโชค หรือโชคลาง

การศึกษาไม่ใช่การจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการ “วางอนาคตของชาติ” และ “สร้างอนาคตของชาติ” ต้องไม่ย่ำอยู่กับที่

ระบบราชการ หน่วยงานของรัฐ และบุคลากรภาครัฐ ต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง ไม่ทำงานอย่าง rule based แต่เป็น outcome based หน่วยตรวจสอบต้องเปลี่ยนเป็นตรวจ outcome audit ไม่ใช่แค่ตรวจ compliance และ performance

โลกยุคนี้และต่อ ๆ ไป จะมุ่งไปสู่สิ่งที่มีมูลค่าแต่จับต้องไม่ได้ (intangible) มองไม่เห็น (unable to see) และไกลเกินมือเอื้อมถึง (outreached) ไม่ใช่ยุค East meets West เดินทางแสวงหาทรัพยากร หาโลกใหม่ เหมือนสามสี่ร้อยปีที่ผ่านมาอีกแล้ว ธุรกิจมูลค่าสูงในอนาคตจึงไม่ใช่การขุดหาทรัพยากร ไม่ใช่โรงงานผลิต ไม่ใช่ commodity ไม่ใช่การเยี่ยมเยือน (visit)

ไม่ต้องเทียบกับยักษ์ตะวันตกหรือจีน เราพัฒนาช้ากว่าเพื่อนบ้านที่อยู่ทางใต้ของประเทศมานาน ถ้าเทียบกัน ส่วนตัวผมคิดว่าไม่น้อยกว่าสามสิบปี ระบบความคิดของคนส่วนใหญ่ของเขาไปไกลมากแล้วโดยผลของระบบการวางและสร้างอนาคตของชาติ และ open ecosystem ด้านการค้าการลงทุนและการทำงาน รวมทั้งการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสอย่างจริงจัง

มันคงยาก แต่ผมคิดบวกว่าเรายังมีความหวัง

หวังว่าสักวันคงเป็นจริง.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น