The Pinnacle Leadership Program หลักสูตรวิทยาการพัฒนาผู้นำระดับสูงอย่างยั่งยืน (วพส.) รุ่นที่ 2 ปิดม่านจบอย่างสมบูรณ์

The Pinnacle Leadership Program หลักสูตรวิทยาการพัฒนาผู้นำระดับสูงอย่างยั่งยืน (วพส.) รุ่นที่ 2 ปิดม่านจบอย่างสมบูรณ์

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ปิดการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยาการพัฒนาผู้นำระดับสูงอย่างยั่งยืน (วพส.) รุ่นที่ 2 ณ โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์ พอยต์ สุรวงศ์ โดยมี ผศ. ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานในพิธีปิดการศึกษาอบรม

The Pinnacle Leadership Program หรือ หลักสูตรวิทยาการพัฒนาผู้นำระดับสูงอย่างยั่งยืน (วพส.) เป็นหลักสูตรที่สร้างผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาตนเองและผู้นำองค์กรขึ้นสู่ระดับสูงสุดของการเป็นผู้นำ โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (SDU) พัฒนาหลักสูตร The Pinnacle Leadership Program ซึ่งประกอบไปด้วย 6 Modules หลักในการเรียนรู้ที่ออกแบบเนื้อหาเฉพาะเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นสุดยอดผู้นำที่เป็นตำนาน เป็นผู้บริหารระดับแนวหน้าของประเทศ พร้อมด้วยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จริงจากเหล่าผู้นำระดับสูง จากหลากหลายแวดวง ซึ่งเริ่มเข้ารับการศึกษาอบรมตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2567 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ 9 หน่วยกิตในหลักสูตรภาวะผู้นำทางการศึกษา ระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ข่าวที่น่าสนใจ

ช่วงแรกเป็นกิจกรรม The Pinnacle Talk โดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและกรรมการและผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตรวิทยาการพัฒนาผู้นำระดับสูงอย่างยั่งยืน ผศ.ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และดร.เบญจวรรณ สุจริต COO Silpin Asia Co.,Ltd อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ และผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตรวิทยาการพัฒนาผู้นำระดับสูงอย่างยั่งยืน Directors ประจำหลักสูตรฯ พร้อมทั้งได้รับเกียรติรับฟังการบรรยายหัวข้อ “Deciphering the Success of Entrepreneurs” สุดพิเศษจากคุณตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Group Presentation: Sustainable Development Leadership สำหรับการนำเสนอโครงการที่ได้ลงพื้นที่เพื่อทำโปรเจกต์ CSR กิจกรรมเพื่อสังคมในการสร้างอาชีพที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมในพื้นที่ชุมชนอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีหัวข้อ Food, Education, Well-Being และ Environment พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผศ. ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการ​แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ที่ปรึกษาและกิจการพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี และผศ.(พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหลักสูตรฯ ได้นำเสนอในหัวข้อ “Plai Proud น้ำมันไพลคลายปวดเมื่อย ทำง่ายสไตล์ชาวบ้าน” ต้นแบบของการพัฒนาสุขภาวะชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้ ผ่านการผสานองค์ความรู้ดั้งเดิมกับวิถีชีวิตใหม่ อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพรไพลเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ของชุมชน พัฒนาศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพื่อการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อากาศเปลี่ยน เหนือ-อีสานมีหมอก อุณหภูมิต่ำสุด 14 องศา กทม.ร้อนขึ้นเล็กน้อย
"พิชัย" บินร่วมประชุมเอเปค หารือรมต.การค้า 21 ชาติทั่วโลก พุ่งเป้าขยายลงทุน ขยับยอดส่งออกสินค้าไทย
"3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ยื่นหนังสือ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แก้ไขปัญหาในส่วนของท้องถิ่น 4 เรื่อง
VGI แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 67/68 มีรายได้ 1,341 ล้านบาท โต 23.7% นำโดยสื่อโฆษณาทุกประเภท
ศาลค้านประกันตัว ตร.กองปราบหิ้วฝากขัง "ตี่ลี่ฮวงจุ้ย" เข้าเรือนจำ
เอาแล้ว “ทนายบอสพอล” แหกแรง “ฟิล์ม” โกหก ไม่เคยจ้างโปรโมทดิไอคอน
"กรมพัฒนาธุรกิจฯ" จับมือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งแก้ปัญหานอมินีและบัญชีม้าทุกมิติ
“บิ๊กเต่า” จ่อเรียก “หนุ่ม กรรชัย” ให้ข้อมูลปมคลิปเสียง 20 ล้านบาท
บุกรวบทันควัน "หนุ่ม" โพสต์ขู่ยิง "เด็กอนุบาล" จ.มหาสารคาม
ผืน ‘ป่าสองสี’ ฝีมือธรรมชาติในจีน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น