“นศ.รามฯ” ยื่น 4 ข้อ ขอครม.เจรจาผลประโยชน์ทางทะเลไทย-กัมพูชา รอบคอบโปร่งใส

“นศ.รามฯ” ยื่น 4 ข้อ ขอครม.เจรจาผลประโยชน์ทางทะเลไทย-กัมพูชา รอบคอบโปร่งใส

Top news รายงาน วันที่ 12 พ.ย.67เวลา 13.25น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายปาณวัฒน์ มุสิกะพงศ์ ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง พรรคเพื่อราม พร้อมเครือข่าย เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลผ่านนายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

โดยยื่น 4 ข้อเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาและปฏิบัติกรณีเกี่ยวกับผลประโยชน์ในน่านน้ำเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา (เกาะกูด)

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยระบุว่าเครือข่ายนักศึกษาและภาคประชาชนจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงสถาบันการศึกษาทุกระดับและภาคส่วนต่างๆ เกิดความไม่สบายใจอันเนื่องมาจากความกังวลของประชาชนและความไม่ชัดเจนจากรัฐบาลในกรณีดังกล่าว จึงขอแสดงจุดยืนเพื่อให้รัฐบาลพิจารณา ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลคำนึงถึงและยึดมั่นในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ค.ศ.1982 มาตรา 121 วรรคสองอย่างเคร่งครัด
2. ขอให้รัฐบาลดำเนินการในประเด็นนี้ด้วยความรอบคอบและโปร่งใสทุกขั้นตอนตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ผนวกร่วมกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 และมาตรา 20
3. อ้างอิงตามหลักการในข้อ2 ขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลของกลุ่มธุรกิจและผู้ได้รับประโยชน์จากสัมปทานใดๆ ในพื้นที่เจรจาร่วมเพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันเพื่อความเข้าใจในสถานการณ์และประโยชน์ที่พึงได้รับของประชาชนและประเทศชาติ และ4. เครือข่ายนักศึกษาไม่ได้คัดค้านสิทธิอำนาจของรัฐบาลในการดำเนินการเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติแต่ขอให้ดำเนินการดังกล่าวอย่างสุขุมรอบคอบโปร่งใสและสะท้อนการเป็นตัวแทนเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

นายปาณวัฒน์ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลนำประเด็นเจรจานี้เข้าสู่กระบวนการทางรัฐสภาตามมาตรา 178 วรรค2 และ 3 เพื่อให้เกิดการถกเถียงทางด้านนโยบายสาธารณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขอให้รัฐบาล ประชาสัมพันธ์กระจายข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง โดยที่การตัดสินใจใดๆ จะต้องดำเนินการผ่านกระบวนการรัฐสภาอย่างเคร่งครัด

 

 

 

 

ทั้งนี้ นายสมคิด ยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและทุกภาคส่วน ในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความรอบคอบ ตนเห็นด้วยที่จะต้องมีการชี้แจงให้กับประชาชนเข้าใจและผ่านกระบวนการคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (JTC) และ หากจะต้องมีการทำสนธิสัญญา จะต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา โดยย้ำว่าไทยไม่ได้เสียดินแดนเกาะกูด ตามที่มีฝ่ายพยายามปั่นกระแส และกัมพูชาก็ไม่คิดว่าเกาะกูดเป็นของเขาเลย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สภาผู้แทนฯ ลงมติผ่านร่างพ.ร.บ.คุ้มครอง ส่งเสริมกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งวุฒิสภาพิจารณา
"สรรเพชญ" เร่งรัฐบาล โอนเงินเยียวยาน้ำท่วมภาคใต้ พร้อมเสนอครม.สัญจร แก้ปัญหา "ห้าแยกน้ำกระจาย" จริงจัง
“พิพัฒน์” รุกมาตรการความปลอดภัย จับมือ 18 สถานประกอบกิจการ ขับเคลื่อนแคมเปญ “Safety Culture Together”
ทุบแตก "ฐานทัพพม่า" ในรัฐคะฉิ่น กลุ่มติดอาวุธ คึก หวังยึดฐานใหญ่อีกแห่ง
อั้นไว้ก่อน ค่อยเติม! เช็กราคาน้ำมัน พรุ่งนี้เบนซิน แก๊สโซฮอล์ ลด 40-50 สต./ลิตร
"ภูมิธรรม" ลงพื้นที่ดูชายแดนแม่สอด 6 ก.พ.นี้ ตรวจ 4 จุดตัดไฟฟ้า "แก๊งคอลเซ็นเตอร์"
เกาะ‘ฮอกไกโด’ของญี่ปุ่นเจอหิมะตกหนักเป็นประวัติการณ์
"บิ๊กต่าย" เตรียมประสาน "ตร.สากล" ช่วยเหลือหญิงไทยถูกหลอกรีดไข่สืบพันธุ์
นับถอยหลังเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2025 จีนที่ฮาร์บิน
ออสเตรเลียแบน DeepSeek จากหน่วยงานรัฐบาล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น