“แสวง” เผยคำร้อง คุณสมบัติ “ทนายตั้ม” ยังเป็นตัวสำรองสว.ได้ จนกว่าศาลมีคำพิพากษา

เลขาฯ กกต. เผยคำร้อง “นายกฯ-เพื่อไทย” อยู่ระหว่างรวบรวมพยาน ชี้ให้โอกาสทุกฝ่าย บอกคุณสมบัติ “ทนายตั้ม” ยังครบเป็นตัวสำรอง สว.ได้ ขณะคำร้อง “สว.หมอเกศ” ใกล้พิจารณาแล้ว แนะผู้ร้องเรียนระบุความผิดและหลักฐานให้ชัดเจน ไม่ใช่การตั้งคำถาม

“แสวง” เผยคำร้อง คุณสมบัติ “ทนายตั้ม” ยังเป็นตัวสำรองสว.ได้ จนกว่าศาลมีคำพิพากษา

 

ข่าวที่น่าสนใจ

วันที่ 14 พ.ย.2567 นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคำร้องให้มีการยุบพรรคเพื่อไทย ว่า อยู่ในกระบวนการ เมื่อพูดถึงความยุติธรรมก็มีขั้นตอนในการให้โอกาสคน มาชี้แจงซึ่งในชั้นนี้ก็อยู่ในชั้นรวบรวมพยานหลักฐาน ที่ต้องสอบให้ครบจนสิ้นกระแสความ และให้โอกาสทั้งสองฝ่าย ตนไม่อาจจะบอกได้ว่าต้องใช้เวลากี่วัน เพราะตั้งแต่ตั้งคณะกรรมการสอบขึ้นมา ก็ยังไม่ได้มีการรายงานเพื่อขอขยายเวลา

 

ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริงความคืบหน้าคุณสมบัติของนายษิทธา เบี้ยบังเกิด ในฐานะตัวสำรองสมาชิกวุฒิสภา ลำดับที่ 4 ของกลุ่มที่ 17 ว่า อยู่ในกระบวนการเมื่อมีคนร้องในเรื่องลักษณะต้องห้ามความเป็นสมาชิกวุฒิสภา ถ้าดูจากข่าวก็ต้องดูเรื่องเงื่อนเวลา เบื้องต้นจากการตรวจสอบข้อกฎหมายถือว่ายังมีคุณสมบัติ และยังอยู่ในบัญชีสำรองเป็นผู้มีคุณสมบัติและยังไม่มีลักษณะต้องห้าม จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ไม่ว่าศาลชั้นไหนก็แล้วแต่

สำหรับความคืบหน้ากรณีคุณสมบัติของนางสาวเกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา นายแสวง กล่าวว่า สำนักงานได้เสนอให้กกต. พิจารณาแล้ว ซึ่งในการพิจารณามีคำร้องอยู่หลายข้อกล่าวหา สำนักงานได้มีการแยกข้อกล่าวหาเพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น โดยแยกไปคณะกรรมการสอบสวนหลายคณะ และเมื่อถึงขั้นตอนการพิจารณาต้องมาพร้อมกันทุกสำนวน ซึ่งขณะนี้กกต.ได้เร่งนำขึ้นมาพิจารณา ภายในสิ้นเดือนนี้

ส่วนคำร้องสมาชิกวุฒิสภาคนอื่น ๆ ยังมีทั้งเรื่องของคุณสมบัติ และเรื่องการฮั้วเรากำลังตรวจสอบอยู่ บางเรื่องมีความซับซ้อน และต้องใช้เวลา เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัด เมื่อกฎหมายเขียนไว้ชัดคนทำงานก็จะทำงานยากเพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

เมื่อถามถึงคำร้องที่นายเรืองไกร วิกิจวัฒนะ ยื่นให้มีการตรวจสอบความเหมาะสมกรณีนายกรัฐมนตรีทำท่าชูมือมินิฮาร์ท ในระหว่างการถ่ายภาพหมู่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ นายแสวง กล่าวว่า เมื่อมีการร้องเข้ามา กกต.ก็จะต้องนำมาพิจารณาดูก่อน ซึ่งกรณีคำร้องของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มีการมาร้องเกี่ยวกับกฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายเลือกตั้ง มีจำนวนมาก ทางกกต. อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในเรื่องพวกนี้แต่ถ้าจะมาร้องควรมีข้อมูลให้มากกว่านี้ ไม่ใช่เป็นการตั้งคำถาม ส่วนมากคำร้องทุกเรื่องเป็นการตั้งคำถาม ซึ่งเป็นคำร้องที่อาจจะหลบเลี่ยงการฟ้องร้องกลับ แต่สำนักงานก็ไม่เคยทิ้ง แต่ก็ต้องทำงานเข้มงวดขึ้น ซึ่งในส่วนของรูปแบบของคำร้องอยากให้ผู้ร้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่ามีหรือไม่ ผิดกฎหมายมาตราใด ไม่ใช่ว่าผิดหรือไม่

นายแสวง ยังกล่าวถึงการร่วมประชุม กับคณะกรรมาธิการร่วม 2 สภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่า ได้นัดหมายในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ หากตนไม่ติดภารกิจใดก็จะเข้าร่วม ให้ข้อมูลกับทางกรรมาธิการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ใต้ป่วนต่อเนื่อง คนร้ายลอบวางบึ้มหน้าร้านสะดวกซื้อ บันนังสตา ตร.เจ็บ 7 นาย-ชาวบ้านอีก 4 เช้านี้บึ้มรถยนต์อีก หน้าห้างสนามบินนราฯ
พรรคไทยก้าวหน้า แถลงขอโทษปชช. แจงคดี “สส.ปูอัด” ขอรอผ่านชั้นอัยการ ก่อนตัดสินใจขับพ้นพรรค
"นิด้าโพล" คนไทยส่วนใหญ่ เชื่อ "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย" ขัดแย้งจริง แต่เคลียร์จบได้
มาแน่ เช็กรายชื่อ 39 จังหวัด รับมือพายุฝนถล่ม ลมแรง กทม.โดนด้วย ร้อนสุด 37 องศา
"ตม." งัดข้อมูลซัด "โรม" หน้าหงาย ระบบ Biometrics บันทึกข้อมูลทุกคน ระบบ PIBICS คุมคนต่างด้าว
สธ.แจงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ใน "ค้างคาว" ยังไม่แพร่ระบาดสู่คน
“อี้ แทนคุณ“ เปิดเส้นเงิน 3 ล้าน โยง “ฟิล์ม รัฐภูมิ” พร้อมเผยปมใหม่เอี่ยวหลอกขายเหรียญคริปโต
"กรวีร์" ส่งหนังสือเชิญ "ธนดล" พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ชี้แจง กมธ.ปกครอง ปมที่ดิน สปก.เขาใหญ่
"ทรัมป์" บี้หนัก ฮุบ แหล่งแร่หายาก "ยูเครน" ขู่ปิดเน็ต Starlink

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น