สธ. สั่งปิด “ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติด” วัดท่าพุราษฎร์บำรุง หลังไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์!

สธ. สั่งปิด "ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติด" วัดท่าพุราษฎร์บำรุง หลังไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์!

นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีมีผู้ร้องเรียน ศูนย์สงเคราะห์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด วัดท่าพุราษฎร์บำรุง อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี มีการทำร้ายร่างกายผู้เข้ารับการบำบัด เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 นั้น กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ กรมการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข (ปปส.) ลงพื้นที่ตรวจสอบ ร่วมกับ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา สำนักพุทธศาสนา และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ พบว่า ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอจัดตั้งสถานพยาบาลตามพระบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ประกอบกับ เจ้าอาวาสวัดท่าพุราษฎร์บำรุง ผู้ยื่นขอจัดตั้งสถานฟื้นฟูสมรรถภาพได้มรณภาพลง เพื่อเป็นการระงับเหตุและป้องกันความเสียหายอันจำเป็นอย่างเร่งด่วน กรมการแพทย์ จึงได้ทำหนังสือแจ้งไปทางวัดท่าพุราษฎร์บำรุง ให้หยุดดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพและหยุดรับผู้ป่วยเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทันที เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา

นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า ได้เน้นย้ำให้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ กวดขันติดตามกำกับคุณภาพสถานบำบัดและศูนย์ฟื้นฟูยาเสพติดในเขตพื้นที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และเตรียมความพร้อมในการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน การควบคุมเฝ้าระวังให้เป็นไปตามร่างประมวลกฎหมายใหม่ และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยกระดับมาตรฐานคุณภาพ และการควบคุมกำกับติดตาม ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างเป็นระบบทั่วประเทศ ลดขั้นตอนการทำงานเกิดความสะดวกต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังสามารถเฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ได้มีการเร่งรัดแผนขับเคลื่อนเพื่อรองรับร่างประมวลกฎหมายใหม่ ซึ่งมีประเด็นสำคัญ 5 เรื่อง คือ 1.ปรับโครงสร้างในกระทรวงสาธารณสุข และเพิ่มอัตรากำลังขยายหอผู้ป่วยในจิตเวชและยาเสพติดให้มีทุกจังหวัด 2.ยกระดับมาตรฐาน สถานบำบัด และศูนย์ฟื้นฟูฯ ของภาครัฐและเอกชนเพิ่มเติม โดยให้ดำเนินการเป็นเครือข่ายอย่างเป็นระบบ 3. เพิ่มกลไกประชารัฐเข้ามาทดแทนคือ การบำบัดโดยใช้ชุมชนมีส่วนร่วม (Community Based Treatment & Rehabilitation ) เพื่อให้ลดการตีตราและครอบคลุมผู้ป่วยยาเสพติด (stigma) ทุกพื้นที่ในประเทศ 4.แผนการใช้เทคโนโลยีและบูรณาการฐานข้อมูลเพื่อลดขั้นตอนการทำงานและติดตามผู้ป่วยให้ต่อเนื่องได้มากขึ้น และ 5.ใช้เทคโนโลยี ยา หรือเวชภัณฑ์ใหม่ ที่มีผลการรับรองทางการแพทย์เพื่อบำบัดยาเสพติดให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น

ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 พบว่า มีผู้ป่วยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดประมาณ 3.75 ล้านคน เป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่ควรได้รับการบำบัด 1.97 ล้านคน และผู้ป่วยยาเสพติดที่อาจพ้นโทษจากเรือนจำทั่วประเทศตามร่างประมวลกฎหมายใหม่ที่ต้องเตรียมการรองรับ โดยสถานพยาบาลบำบัดยาเสพติดของภาครัฐ ศูนย์ฟื้นฟูยาเสพติดในภาคีเครือข่ายของภาครัฐ สถานพยาบาลบำบัดหรือศูนย์ฟื้นฟูยาเสพติดของภาคเอกชน และมูลนิธิองค์กรการกุศลต่าง ๆ สามารถรองรับได้ 250,000 คน แบ่งเป็นระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น