สสส.สานพลังภาคี ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่ “สังคมกระฉับเฉง” ตั้งเป้าขยับกายเพิ่ม 85% ในปี 73

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย เปิดแถลงการณ์ “12 ปีการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อวิถีชีวิตสุขภาวะของคนไทย”

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า กลุ่มคนที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ที่น่าเป็นห่วงสุดคือเด็กและเยาวชน, ผู้สูงอายุ ดังนั้นการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติจึงมีความสำคัญ และจำเป็นต้องลดช่องว่าง 2 มิติ คือ 1.มาตรการที่นำมาใช้ยังมีความเหลื่อมล้ำ 2.สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อย ผู้ว่างงาน ผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงพื้นที่สุขภาวะได้

“ประเทศไทย มีประชากรในวัยทำงานประมาณ 30 กว่าล้านคน ที่ต้องใช้ชีวิต 8 ชั่วโมงอยู่ในสถานประกอบการ กลุ่มนี้มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการผลักดันให้มากขึ้น ส่วนเด็กและเยาวชน เวลาส่วนใหญ่ถูกดึงไปอยู่กับหน้าจอ และติดเก้าอี้จากการนั่งเรียนอยู่กับที่ ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลง โดยตลอดระยะเวลาของการทำงาน 12 ปี ร่วมกับภาคีพบระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทย ต่ำกว่า 70% แต่หลังจากผ่านพ้นสถาณการณ์ แพร่ระบาดโควิด-19 ตัวเลขขยับขึ้นแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ สสส.ได้ตั้งเป้าหมายภายในปี 2573 กิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยควรอยู่ที่ 85%”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นางสาวนิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สสส.) กล่าวเสริมว่า สสส.ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เร่งขับเคลื่อนกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางกายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉง เริ่มต้นด้วยยุทธศาสตร์ 2 เพิ่ม 1 ลด คือ เพิ่มให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายและเพิ่มพื้นที่สุขภาวะมากขึ้น เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

“มีการออกแบบพื้นที่สุขภาวะให้เข้าถึงคนทุกกลุ่ม เช่น Healthy City เมืองน่าอยู่ เมืองสุขภาพดี ,ลานสร้างสุขภาวะชุมชน , สวน 15 นาที สวนขนาดเล็กใกล้บ้าน ,Healthy Organization องค์กรสุขภาพดี, Healthy+Active Meeting การประชุมสุขภาพดี และต้นแบบ “โรงเรียนฉลาดเล่น ” นางสาวนิรมล กล่าวต่อว่า ผลจากการทำงาน 12 ปีการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ทำให้คนไทยรับรู้และความเข้าใจ กิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นถึง 60% นั่นหมายถึงกลุ่มคนเหล่านั้นสามารถออกแบบกิจกรรม เพื่อความกระฉับกระเฉงที่เหมาะสมกับตนเองได้

 

 

ด้าน นพ.วันฉัตร ชินสุวาเทย์ ผู้อำนวยการกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยถึงข้อมูลที่พบของคน 5 กลุ่มวัยว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ส่งผลให้เด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 22.5, กลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 5-17 ปี เป็นกลุ่มที่มีปัญหาที่สุดเพราะพ่อแม่ผลักดันให้เรียนเป็นหลักทำให้ค่าเฉลี่ย 12 ปี ของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่ำมากเพียงแค่ 23.1% ต่ำจากเป้าที่ตั้งไว้ 40% ,วัยผู้ใหญ่18-59 ปี ภาพรวมอยู่ที่ 70% มีช่องว่างห่างจากกลุ่มเด็กมาก

“ในกลุ่มผู้ใหญ่พบความเหลื่อมล้ำ ในการมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะผู้มีรายได้ต่ำกว่า 3,500 บาท/เดือน เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องทำมาหากิน ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่ามีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าวัยทำงานเล็กน้อยอยู่ที่ 64.8% ปัญหาของผู้สูงอายุถ้ากิจกรรมทางกายไม่เพียงพอจะทำให้กล้ามเนื้อบางลง มีผลกับการเดิน การหกล้ม อาการซึมเศร้าวิตกกังวลและภาวะสมองเสื่อม”

ทั้งนี้ รองศาตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล เผยว่า ผู้หญิงเคลื่อนไหวน้อยกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งต้องดูแลครอบครัว ทำให้ขาดกิจกรรมทางกายที่เพียงพอกว่า 16 ล้านคน ในขณะที่เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพียง 20% เท่ากับ 4 ใน 5 คนมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง 14 ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับการนั่งรถจากกรุงเทพฯไปยะลา ซึ่งถ้ายังนั่งแบบนี้ทุกวัน จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการตามวัยและสุขภาพในระยะยาว

 

 

หลังจากสถานการณ์โควิด-19 พบความเหลื่อมล้ำของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และตกงาน ซึ่งไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิมได้ รวมถึงกลุ่มอาชีพใหม่ที่ต้องเฝ้าระวังคือ กลุ่มคนที่ขายของออนไลน์และไรเดอร์ ในระยะยาวอาจทำให้แนวโน้มของผู้ป่วยในกลุ่ม “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” NCDs เพิ่มขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายในระบบบริการสุขภาพที่ตามด้วย”

“ทีแพค มีการวิเคราะห์เป้าหมายการเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ ร่วมกับนานาชาติกลุ่มประชากร 5.7 ล้านคนทั่วโลก พบข้อท้าทายใหม่ ประเทศเรารวมอยู่ในกลุ่มสีแดง ที่องค์การอนามัยโลกบอกว่าในช่วง 10 ปีถ้าไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่แต่ละประเทศวางไว้ จะมีประชากรโลกอีก 500 ล้านคนเป็นผู้ป่วย NCDs รายใหม่ ฉะนั้นต้องเชื่อมโยงนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติให้ได้ด้วยการผสานกำลังกันทุกภาคส่วนของภาคีเครือข่าย” ดร.ปิยวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วัดสุดทน ขึ้นป้าย "หมาแมวพอแล้ว" ดักคอญาติโยม ที่ชอบนำหมา แมวไปปล่อยวัด
"นายกฯ" กำชับทุกหน่วยติดตามพื้นที่เสี่ยงจาก "ฝนตกหนัก" 7 จังหวัดภาคใต้
"บิ๊กเต่า" ร่วมกับ ป.ป.ท. บุกจับ "นายก อบต.สำนักทอง" เรียกรับเงินผู้รับเหมาสร้างถนน 1 แสนบาท
นักท่องเที่ยวตายหมู่หลังดื่มเหล้าผสมเมทานอลในลาว
“วราวุธ” เผย ศรส.พิษณุโลก ช่วยเด็กหญิง 12 ปี ถูกแม่แท้ๆ พาไปขายบริการ หาเงินขัดหนี้รายวัน
"กัน จอมพลัง" พา 2 เยาวชนหญิงแจ้งความ หลังถูกแก๊งเพื่อน รุมทำร้าย ถ่ายคลิปอนาจาร ขู่แบล็คเมล์
“สมศักดิ์” ตั้ง คกก. 2 ฝ่าย เคาะเงื่อนไขให้เภสัชฯ จ่ายยา 32 กลุ่มอาการ โดยไม่ต้องไปรพ. ลดความแออัด
บิ๊กเต่า ร่วมกับ ป.ป.ท. จับกุม นายก อบต. สำนักทอง ระยอง เรียกรับเงินจากผู้รับเหมาสร้างถนน 1 แสนบาท นายกฯปฏิเสธ ลั่น ผมไม่ได้ทำจะให้รับสารภาพได้อย่างไร
“นายกฯ” เผยรบ.เร่งพัฒนาปท. "พักหนี้เกษตรกร-แจกเงินหมื่น" ปลื้มเป็น นายกฯหญิงอายุน้อยสุดในโลก
ตม.ชลบุรี บุกค้นแหล่งที่พักต่างด้าวซ่อนตัวทำผิดกฎหมาย และทำงานแย่งอาชีพคนไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น