“ผอ.ศปป.5 กอ.รมน.” เอาจริง ประสานความร่วมมือหลายภาคส่วน ลดปัญหาความรุนแรงใน 3 จ.ชายแดนใต้

"ผอ.ศปป.5 กอ.รมน." เอาจริง ประสานความร่วมมือหลายภาคส่วน ลดปัญหาความรุนแรงใน 3 จ.ชายแดนใต้

“ผอ.ศปป.5 กอ.รมน.” เอาจริง ประสานความร่วมมือหลายภาคส่วน ลดปัญหาความรุนแรงใน 3 จ.ชายแดนใต้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

วันที่ 15พ.ย.67 ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส (ศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรีจังหวัดนราธิวาส) พลโท สุรเทพ หนูแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ผอ.ศปป.5) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จัดกิจกรรมนำทัพสื่อมวลชนสัมพันธ์ เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ประจำปี 2567 หรือสื่อมวลชนส่วนกลาง ไปเยี่ยมชม “สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส” โดยมี “นางซารีนา เจ๊ะเลาะ” ประธานชมรมผู้นำมุสลีมะห์ นราธิวาส ให้การต้อนรับ

 

 

ทั้งนี้ นางซารีนา เจ๊ะเลาะ ในฐานะประธานชมรมผู้นำมุสลีมะห์ นราธิวาส ได้บรรยายความเป็นไปเป็นมาของ “สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส” ว่า เราจัดต้องศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรี ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงวันนี้ 2567 เราไม่เคยหยุดพัก และมีบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อน เข้ามาร้องเรียนตลอดทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความรุนแรงในครอบครัว “สามี” ไม่มีความรับผิดชอบ สามีตบตีทำร้ายร่างกายผู้หญิง สามีไม่ทำงานโดยให้ผู้หญิงทำงานแค่คนเดียว ทำให้บางคนต้องการฟ้องหย่า

ฉะนั้นเราจึงต้องการสนับสนุนส่งเสริมให้สตรี มีหลักและมีรายได้ของตนเอง อย่างน้อยที่สุด คือ ต้องสร้างมูลค่าให้กับตนเองได้

นอกจากนี้ เราต้องมีการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมในอาชีพต่างๆ เช่น ด้านอาหาร ให้กับกลุ่มสตรีที่มีความเปราะบาง และเรายังให้ความช่วยเหลือกับคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มสตรี ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง นางซารีนา ประธานชมรมผู้นำมุสลีมะห์ นราธิวาส กล่าว

ด้าน พลโท สุรเทพ กล่าวต่อว่า ตนได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์เสริมสร้างคุณภาพชีวิต 2567 โดยมีความชัดเจนว่า จะเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวภาคใต้ และ 4 อำเภอ จังหวัดสงขลา ซึ่งศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรีจังหวัดนราธิวาส มีผู้นำเป็นผู้หญิง เป็นภรรยา และเป็นแม่ การที่ “นางซารีนา” กล่าวมาสักครู่นั้น สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เราต้องการแก้ไขกันอยู่ นั่นคือ “พยายามยุติความรุนแรง” เนื่องจากความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่สะเทือนใจ ฉะนั้น เมื่อครอบครัวมีความรุนแรง ชุมชนก็จะมีความรุนแรง และส่งผลทำให้สังคมและจังหวัดนั้นมีความรุนแรงไปด้วย และภาคใต้จะไม่สามารถยุติความรุนแรงได้

พลโท สุรเทพ เผยอีกว่า สิ่งที่ตนมาในวันนี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เราต่างก็เป็นผู้นำและมีจุดประสงค์ คือ ต้องการยุติความรุนแรง และก้าวข้ามความขัดแย้งให้ได้ ปัจจุบัน ตนเป็นผู้รับผิดชอบ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเรื่องยุทธศาสตร์ จึงได้เชิญสื่อมวลชนลงมาในพื้นที่เพื่อให้รับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าความจริงนั้นคืออะไร อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อและมั่นใจว่า จะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ความสำเร็จของการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาตใต้ และเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ “เนื่องจากครอบครัวเป็นรากฐานความสำคัญของสังคม” และขอบคุณสตรีทุกคนที่กล้าขึ้นมาสู้ มาสร้างความสวยงามและสร้างสันติสุข รวมถึงสร้างความสุขให้กับครอบครัว ตนเชื่อว่า หากครอบครัวมีความสุข สังคมก็จะมีความสุข และจะส่งผลให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะมีความสุขเช่นเดียวกัน พลโท สุรเทพ กล่าว

“นอกจากนี้ มีสตรีคนหนึ่ง เผยความรู้สึกในใจ หลังจากเข้ามาร้องทุกข์ เพื่อขอความช่วยเหลือว่า ตนได้แต่งงานแล้ว และมีลูก 4 คน ตนนั้นเลี้ยงลูกทั้ง 4 เพียงตัวคนเดียว เนื่องจากสามีติดยาเสพติด ยอมรับว่าลำบากมาก หาเช้ากินค่ำ จึงได้มาขอพึ่งพาศูนย์ฯ และรับทำงานทุกอย่าง มีอะไรก็ทำทั้งหมด” และเมื่อเข้ามาในศูนย์แห่งนี้ ชีวิตตนก็ดีขึ้น

สุดท้ายนี้ นางซารีนา เจ๊ะเลาะ ในฐานะประธานชมรมผู้นำมุสลีมะห์ นราธิวาส กล่าวทิ้งท้ายว่า กว่า 20 ปี พบว่ายังมีความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันมีสตรีที่ประสบปัญหา ต้องช่วยเหลือกว่า 3,000 เคส แต่สตรีที่มีปัญหาเหล่านี้ จะไม่กล้าไปปรึกษากับผู้นำชุมชนหรือผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นผู้ชาย

ดังนั้น บทบาทในการให้คำปรึกษาในด้านนี้ จึงอยู่ที่ภรรยาของคณะกรรมการอิสลาม ซึ่งในปัจจุบัน ได้พยายามวางแนวทางแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น การสร้างเครือข่ายศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรีไปยังระดับชุมชนกว่า 22 ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส เพื่อช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และลดค่าใช้จ่ายให้สตรีที่ประสบปัญหา ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาที่ศูนย์หลัก รวมถึงจะต้องมีการจัดที่พักพิงให้สตรีที่ถูกทำร้ายได้หลบจากปัญหาดังกล่าว

 

ขณะเดียวกัน ทางภาครัฐก็มีการสนับสนุนด้านงบประมาณ แต่ต้องทำเรื่องเสนอเข้าไปในแต่ละโครงการจึงจะได้งบประมาณมา ซึ่งเป็นโครงการที่ทำวันเดียวแล้วจบ ไม่ใช่โครงการต่อเนื่องที่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาศักยภาพ ด้านการอาชีพให้กับกลุ่มสตรีที่เปราะบาง โดยการทำ “น้ำพริกบูดู” เนื่องจากเป็นเอกลักษณ์ภาคใต้ โดยได้รับการสนับสนุน จาก โครงการงานซะกาต จุฬาราชมนตรี โดยให้มาเป็นเงินทุนหมุนเวียน รวมทั้งจะมีการสนับสนุนให้กับชุมชน ทั้งเรื่องน้ำพริกและการอาชีพอื่น ๆ ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กองเชียร์ถึงกับงง “ช่อ พรรณิการ์” พลิ้ว อ้าง 112 ไม่ใช่นโยบายหลักของพรรคส้ม เจอชาวเน็ตขุดโพสต์สวนเดือด
"ทร." เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ "วันลอยกระทง" จัดกำลังพลดูแลตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
"กรมวังฯ" ติดตามความสำเร็จ โครงการ "กำลังใจ" ตรวจเยี่ยมเรือนจำ กาญจนบุรี "ผู้บริหารท็อปนิวส์" ร่วมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมที่ดีขึ้น
“โหรลักยิ้ม” จัดให้ตามคำขอ เปิดดวง “บิ๊กโจ๊ก” พูดชัดๆจะได้กลับตร.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ 3 สิ่งนี้
‘จิราพร’ ส่งทนายเอาผิด ‘กฤษอนงค์’ 2 ข้อหา อ้างชื่อตบทรัพย์ บอสดิไอคอน
อ่าวดงตาลสัตหีบ ติดป้ายความว่า “ ห้าม! ลอยกระทงลงทะเลเด็ดขาด” ไว้ตลอดแนวชายหาด
"ผบ.ตร." สั่งคุมเข้ม ป้องปรามและดูแลด้านความปลอดภัย ช่วงเทศกาลลอยกระทง
เริ่มแล้ว!!! การแข่งขันเรือพายพื้นบ้านฉะเชิงเทรา
ฝนกระหน่ำรับวันลอยกระทงท่วมกันทั่วบ่อวิน
จัดการแข่งขันเรือพายพื้นบ้าน จังหวัดฉะเชิงเทรา ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น