สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน

กดติดตาม TOP NEWS

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เขตตรวจราชการที่ 7) นำนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ. ร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมี นายอาดุลย์ พรมแสง ประธานเขตตรวจราชการที่ 7 กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้บริหารการศึกษาจาก 12 เขตพื้นที่ ได้แก่ ผอ.สพท. จำนวน 11 คน รอง ผอ.สพท. จำนวน 32 คน เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมรายา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 และผู้บริหารสถานศึกษา ใน 12 เขตพื้นที่ จำนวน 914 โรงเรียน เข้าร่วมรับฟังทางออนไลน์ผ่าน YouTube Channel สพป.ยะลา เขต 1
นางเกศทิพย์ ศุภวานิช กล่าวว่า การขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. ซึ่งนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. และนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย โดยว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นำการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อยกระดับการศึกษาในทุกมิติ สร้างเยาวชนที่มีคุณภาพในทุกพื้นที่ จึงต้องการให้ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่มาช่วยกันขับเคลื่อนลงสู่การปฏิบัติ

โอกาสนี้ ได้ติดตามการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ. ดังนี้
1) การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาตามแนวทางการประเมิน PISA โดยการพัฒนาการสร้างข้อสอบให้ครู ผู้บริหาร ผ่านระบบออนไลน์ และติดตามผลการนำชุดพัฒนาความฉลาดรู้ไปใช้ในห้องเรียน
2) การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ให้เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียน การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านแนวคิด “ฟัง คิด พูด” “อ่าน คิด เขียน” และการใช้แหล่งเรียนรู้เป็นห้องเรียนรวม และการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ให้นักเรียน
3) การส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (TGAT และ TPAT) โดยการสอนเสริมผ่านช่องทางออนไลน์ของ สพฐ.
4) การพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน และการส่งเสริมการอ่าน โดยจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนา/ซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนเป็นรายบุคคล
5) การพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการศึกษาปฐมวัย เช่น การใช้ชุดนิทาน “มาเล่นกันเถอะ” ไปยังทุก สพป. ทั้ง online และ onsite เพื่อเพิ่มความสามารถในการคิดของเด็กปฐมวัย
6) การพัฒนาพหุปัญญาตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน โดยพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนค้นพบตนเอง รู้ว่าความถนัดและความสนใจของตนเองคืออะไร
7) การส่งเสริมการเรียนรู้ภาษามลายูในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยสร้างเครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษามลายูกับหน่วยงานภายนอก รวมถึงการพัฒนาครูผู้สอนภาษามลายู ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษามลายูตามหลักสูตรแกนกลางฯ พ.ศ. 2551
การใช้ AI ในการลดภาระและเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบการเรียนรู้และการวัดประเมินผล โดยระยะที่ 1 อบรมครูแกนนำและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 140 คน และระยะที่ 2 ขยายผลสู่โรงเรียนใน สพท. 11 เขตพื้นที่ จำนวน 1,185 โรงเรียน และนิเทศ ติดตาม ให้คำปรึกษา

9) โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ โดยอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นพื้นฐานพัฒนาผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (LN) และวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น (LT) เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุ ลาออก เปลี่ยนสายงาน และขยายผลไปยังโรงเรียนในสังกัด อปท.
10) การจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อเพิ่มคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ช่วยให้ครูมีเวลาบันทึกหลังการสอน สามารถเติมเต็มให้นักเรียนเป็นรายบุคคลได้
11) การขับเคลื่อนการยกระดับ RT/NT/O-NET ใช้เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา และนำผลทดสอบมาเติมความเข้มแข็งทั้งระบบ
12) การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการอบรมออนไลน์ “สร้างความยั่งยืน ด้วยความรู้ด้านการเงิน” เพื่อให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดี และพร้อมในการสร้างห้องเรียนที่เต็มไปด้วย “เรียนดี มีความสุข” ตามนโยบายของ ศธ.
พร้อมกันนี้ ขอชื่นชมผู้บริหารการศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 7 ที่ได้ขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพผู้เรียน จนมีค่าพัฒนาที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการรายงานของประธานเขตตรวจฯ (ผอ.สพป.ยะลา เขต 1) พบว่าผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน RT เพิ่มขึ้น 2.48 , NT เพิ่มขึ้น 4.68 ,O-NET ป.6 เพิ่มขึ้น 1.53 และ I-NET เพิ่มขึ้น 1.71
“วันนี้ได้เห็นความตั้งใจและมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาของ ผอ.เขต และรอง ผอ.เขต ทุกท่านในเขตตรวจราชการที่ 7 ขอให้ทุกท่านใช้ประสบการณ์และโอกาสที่สำคัญในการเป็นครอบครัวของจังหวัดชายแดนใต้ เข้าใจวิถีการเข้าถึงเครือข่ายของชุมชน การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีประสบการณ์ที่ดีในการอยู่กับพื้นที่และมีความสุขในการปฏิบัติงาน เข้าถึงความจริงใจซึ่งกันและกันของเพื่อนร่วมงาน ส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างมีความสุข และยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างยั่งยืนต่อไป” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น