สีผังเมืองกรุงเทพ
1. สีน้ำตาล
ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก อยู่ในเขตบางกอกใหญ่, บางซื่อ, พญาไท, บางคอแหลม, ยานนาวา, วัฒนา, บางกอกใหญ่, ธนบุรี, สาทร, ดินแดง
2. สีน้ำตาลอ่อน
เขตอนุรักษ์วัฒนธรรม อยู่ในเขตพระนคร
3. สีส้ม
ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง อยู่ในเขตจตุจักร, ภาษีเจริญ, จอมทอง, ราษฎร์บูรณะ, บางพลัด, ห้วยขวาง, บางกะปิ, พระโขนง, บางนา, คันนายาว
4. สีเหลือง ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย อยู่ในเขตหนองแขม, ทุ่งครุ, ลาดพร้าว, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, สวนหลวง, ประเวศ, สะพานสูง, บางเขน, สายไหม, ดอนเมือง
5. สีแดง
พื้นที่พาณิชยกรรม ค้าขาย ท่องเที่ยว อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, สัมพันธวงศ์, บางรัก
6. สีม่วง
เขตอุตสาหกรรมโรงงาน อยู่ในเขตพื้นที่ลาดกระบัง
7. สีน้ำเงิน
สถานที่ราชการ อยู่ในเขตพื้นที่ปทุมวัน, คลองเตย, หลักสี่
8. สีเขียว
เขตเกษตรกรรม อยู่ในเขตพื้นที่ หนองจอก, บางบอน, บางขุนเทียน, ทวีวัฒนา
9. กรอบขาวและเส้นทะแยงสีเขียว
ที่ดินประเภออนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม อยู่ในเขตพื้นที่ มีนบุรี, คลองสามวา, บางแค
สีผังเมืองกรุงเทพ 2567
ผังเมืองรวมกรุงเทพ 2567 เป็นการใช้ผังเมืองฉบับที่มีการแก้ไขล่าสุดในปี 2566 โดยเป็นการปรับปรุงตามระดับความเจริญของแต่ละพื้นที่ เน้นวางผังเมืองเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้น รวมทั้งเปลี่ยนสีสื่อความหมายในแต่ละทำเล คือ
1. เปลี่ยนสีผังเมืองธนบุรี เป็นสีเหลือง
หลังจากพื้นที่โดยรอบมีการพัฒนาความเจริญแบบก้าวกระโดด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากศักยภาพทำเล ที่เด่นเรื่องการคมนาคมทั้ง เรือ ทางด่วน และอานิสงส์จากรถไฟฟ้าสายสีทอง สีม่วง
2. เพิ่มพื้นที่โซนอนุรักษ์ในกรุงเทพฯ
บริเวณพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน อาทิ ถนนราชดำเนิน บางลำพู ข้าวสาร หรือเยาวราช ที่มีการแบ่งโซนพื้นที่เชิงพาณิชย์เป็นสีน้ำเงิน พร้อมกำหนดความสูงในการก่อสร้างอาคารรอบเขตพระราชฐาน ไม่เกิน 12 เมตร 16 เมตร และ 20 เมตร
3. ลดพื้นที่จอดรถคอนโดใกล้รถไฟฟ้า
อาจจะมีการปรับพื้นที่จอดรถคอนโดจาก 120 ตร.ม. ต่อรถยนต์ 1 คัน เป็น 240 ตร.ม. ต่อรถยนต์ 1 คัน ช่วยลดภาระต้นทุนการก่อสร้างให้กับผู้พัฒนาโครงการ และส่งผลให้ราคาคอนโดถูกลง
4. ผังเมืองเอื้อให้เกิด FAR Bonus
หรือมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และนักธุรกิจภาคเอกชนพัฒนาเมืองให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และจะได้เพิ่มพื้นที่อาคารได้อีกร้อยละ 5-20 ตามเงื่อนไขที่ทาง กทม. กำหนด
แต่ทว่า ผังเมืองกรุงเทพ 2567 มีเสียงคัดค้านจากสภาผู้บริโภค จากปมผลกระทบ 9 ข้อ โดยเฉพาะการตัดถนนใหม่ กว่า 148 สาย และต้องเวนคืนในหลายพื้นที่ ซึ่งเรื่องนี้ กทม.อยู่ระหว่างพิจารณาปรับจำนวนถนนที่เป็นข้อขัดแย้งลง และคาดการณ์ว่า การบังคับใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร(ปรับปรุงครั้งที่4) อย่างเร็วปลายปี 2568 อย่างช้าต้นปี 2569 และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่มากไปกว่านี้ เพราะถือว่าร่างผังเมืองรวมฯฉบับนี้ถือว่าเปิดกว้างที่สุดแล้ว