อัยการสูงสุด ไม่รับดำเนินการ คดี ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างการปกครอง ส่งความเห็นไปยังศาลรธน.แล้ว

อัยการสูงสุดไม่รับดำเนินการ คดี ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างการปกครอง ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว พร้อมผลการสอบถ้อยคำ คู่ความ

อัยการสูงสุด ไม่รับดำเนินการ คดี ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างการปกครอง ส่งความเห็นไปยังศาลรธน.แล้ว

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่ นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ เป็น อสส.ได้ลงนามตอบถ้อยคำต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และ พรรคเพื่อไทย (ผู้ถกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ซึ่งเดิมนั้นมีรายงานว่า ที่อัยการสูงสุดส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญมีข้อมูลในการสอบถ้อยคำ ทั้งทางฝั่งผู้ร้องและผู้ถูกร้อง โดยในส่วนผู้ถูกร้องทราบว่าไม่ได้มีการสอบถ้อยคำนายทักษิณ ชินวัตร

 

 

อย่างไรก็ตาม มีรายงานเพิ่มเติมพบว่าในวันดังกล่าว (8 พ.ย.) นอกจากอัยการสูงสุดจะส่งบันทึกสอบถ้อยคำทั้งพยานฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้วยังมีความเห็นแจ้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เรื่องนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองจึง อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของคณะทำงานที่เสนอมายังอัยการสูงสุดก่อนหน้านี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 บัญญัติไว้ว่า บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้

ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้

ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดำเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้

การดำเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการตามวรรคหนึ่ง

เท่ากับว่าแม้อัยการสูงสุดจะมีมติไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะยังมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น