“กรมที่ดิน” ยันทำตามคำสั่งศาลปกครอง ปมรังวัดเขากระโดง
ข่าวที่น่าสนใจ
วันนี้ (19 พ.ย.67) กรมที่ดิน ได้เผยแพร่เอกสารชี้แจงว่า ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคําพิพากษา ตามคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ให้อธิบดีกรมที่ดิน มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทาง หรือวิธีการดําเนินการให้เป็นไปตามคําพิพากษา โดยให้การรถไฟ ผู้ฟ้องคดี ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวน ทําการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟ
อธิบดีกรมที่ดินได้มีคําสั่งที่ 1195-2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นการปฏิบัติตามคําพิพากษาศาลปกครองกลาง และได้รายงานสรุปผลการรังวัด นําชี้แนวเขตของคณะทํางานร่วมระหว่าง สํานักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการรังวัดตรวจสอบตําแหน่งขอบเขตโดยรอบ และจัดทําแผนที่ทางกายภาพเพื่อประกอบการพิจารณาแผนที่ ซึ่งได้จากการรังวัดของคณะทํางานร่วม ระหว่างสํานักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ และการรถไฟ เป็นการรังวัดตามการนําชี้ของผู้แทนการรถไฟ โดยไม่มีเอกสารหลักฐานทางกฎหมายอ้างสิทธิใดๆ ที่ระบุได้ว่าเป็นแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากําหนดเขต สร้างทางรถไฟ พ.ศ.2462 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดิน เพื่อสร้างทางรถไฟ พ.ศ.2464 เพื่อประกอบการนําชี้ ในขณะทําการรังวัดได้มีราษฎรในพื้นที่และส่วนราชการคัดค้านไม่ยอมรับการนำชี้ของผู้แทนการรถไฟ เนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐานที่การรถไฟ อ้างสิทธิตามกฎหมาย เมื่อคณะทํางานร่วม ดําเนินการจัดทําแผนที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการส่งข้อมูลการรังวัดพร้อมหลักฐานการคัดค้านของราษฎร และส่วนราชการต่างๆ ที่คัดค้านให้คณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 61 ใช้ประกอบในการพิจารณา และได้รายงานกรมที่ดินทราบ
กรมที่ดิน ขอยืนยันว่า ในการดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความใน มาตรา 61 ได้ดําเนินการครบถ้วนถูกต้องตามคําพิพากษาศาลปกครอง และทําการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟ ตามกฎหมายและคําพิพากษาศาลปกครองกลางทุกขั้นตอนแล้ว โดยอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 มีดังนี้
1.ดําเนินการสอบสวนพยานหลักฐานให้ได้ความว่าได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ รับรองการทําประโยชน์ไปโดยคลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร
2.มีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง มาพิจารณา กรณีไม่อาจเรียกเอกสารให้บันทึกเหตุผลไว้ กรณีได้รับเอกสารให้ออกใบรับ (ท.ด.53) ไว้เป็นหลักฐาน
3.แจ้งผู้มีส่วนได้เสียทราบ เพื่อให้โอกาสคัดค้านการเพิกถอนหรือแก้ไข
4.รายงานผลการสอบสวนต่ออธิบดีกรมที่ดิน หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในกําหนด ระยะเวลา
5.ขอขยายระยะเวลาการสอบสวน กรณีคณะกรรมการสอบสวน ไม่สามารถดําเนินการ สอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา โดยจะสั่งให้ขยายระยะเวลาการสอบสวนได้ตามความจําเป็น
6.ขอเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสอบสวน กรณีมีเหตุจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกรรมการ สอบสวน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น