“ดร.สามารถ” แจงย้ำ “ทางด่วนศรีรัช” ทำไมราคาถูกลงได้ ไม่ต้องขยายสัมปทาน

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แจงย้ำ"ทางด่วนศรีรัช"ทำไมราคาถูกลงได้ ไม่ต้องขยายสัมปทาน

“ดร.สามารถ” แจงย้ำ “ทางด่วนศรีรัช” ทำไมราคาถูกลงได้ ไม่ต้องขยายสัมปทาน – Top News รายงาน

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte โดยระบุว่า.. หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า ค่าผ่านทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) จะถูกลง เพราะรัฐเตรียมที่จะขยายสัมปทานครั้งที่ 2 ให้เอกชนออกไปอีก 22 ปี 5 เดือน แต่ข้อเท็จจริงก็คือแม้ไม่ขยายสัมปทาน ค่าผ่านทางก็ถูกลงได้ !
กระทรวงคมนาคมต้องการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ลดค่าผ่านทางด่วนศรีรัชช่วงงามวงศ์วาน-พระราม 9 ซึ่งเวลานี้มีค่าผ่านทางสูงสุดสำหรับรถ 4 ล้อ 90 บาท เหลือสูงสุดไม่เกิน 50 บาท เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน   การลดค่าผ่านทางดังกล่าวจะทำให้รายได้ค่าผ่านทางลดลงประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อปี จากเดิมที่มีรายได้ประมาณ 13,000 ล้านบาทต่อปี ลดลงเหลือประมาณ 11,500 ล้านบาทต่อปี

ข่าวที่น่าสนใจ

รายได้เดิมประมาณ 13,000 ล้านบาทต่อปี แบ่งเป็นของ กทพ. และเอกชนผู้รับสัมปทานตามสัดส่วนดังนี้ดังนี้
(1) รายได้จากทางด่วนเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) และทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ส่วน A (ถนนรัชดาภิเษก-ทางแยกต่างระดับพญาไท-ถนนพระราม 9) และส่วน B (ทางแยกต่างระดับพญาไท-บางโคล่) เป็นของ กทพ. 60% และของเอกชน 40%
(2) รายได้จากทางด่วนศรีรัช ส่วน C (ถนนรัชดาภิเษก-ถนนแจ้งวัฒนะ) และส่วน D (ถนนพระราม 9-ถนนศรีนครินทร์) รวมทั้งทางด่วนอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) เป็นของเอกชนทั้งหมด 100%
การแบ่งรายได้เดิมตามสัดส่วนดังกล่าว ทำให้ กทพ.ได้รับรายได้ประมาณ 6,300 ล้านบาทต่อปี และเอกชนได้รับประมาณ 6,700 ล้านบาทต่อปี
หากลดค่าผ่านทางลงจะทำให้รายได้ลดลงเหลือประมาณ 11,500 ล้านบาทต่อปี โจทย์สำคัญก็คือจะทำอย่างไรให้เอกชนได้รับรายได้เท่าเดิม ? เพื่อที่ กทพ.ไม่ต้องชดเชยให้เอกชน เช่น ด้วยการขยายสัมปทาน เป็นต้น
กทพ.จึงเสนอให้ปรับเปลี่ยนสัดส่วนการแบ่งรายได้จากทางด่วนเฉลิมมหานคร และทางด่วนศรีรัช (ส่วน A และ B) ด้วยการยอม “เฉือนเนื้อตนเอง” จากเดิม กทพ.ได้รับ 60% เอกชนได้รับ 40% เป็น กทพ.ได้ 50% เอกชนได้ 50% ส่วนสัดส่วนการแบ่งรายได้จากทางด่วนศรีรัช (ส่วน C และ D) รวมทั้งทางด่วนอุดรรัถยายังคงเหมือนเดิม กล่าวคือเอกชนได้รับทั้งหมด 100%
การปรับเปลี่ยนสัดส่วนการแบ่งรายได้ดังกล่าว ทำให้ กทพ.ได้รับรายได้น้อยลงเหลือประมาณ 4,800 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่เอกชนยังคงได้รับรายได้เท่าเดิม นั่นคือประมาณ 6,700 ล้านบาทต่อปี เป็นผลให้ กทพ.ไม่ต้องชดเชยให้เอกชนด้วยการขยายสัมปทาน
ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า กทพ.ไม่จำเป็นจะต้องขยายสัมปทานให้เอกชน ก็สามารถทำให้ค่าทางด่วนถูกลงได้ !
หมายเหตุ: ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
ดร.สามารถ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สถาบันเหล็กฯ ออกแถลงการณ์ โต้ทนาย "ซินเคอหยวน" ยันเครื่องทดสอบเหล็กแม่นยำ ถูกต้องตามมาตรฐานทุกอย่าง
Watt-D แจ้งเตือน ระวัง "มิจฉาชีพ" แอบอ้างเป็นพนักงาน PEA หลอก Add LINE
ทั่วโลกร่วมไว้อาลัยโป๊ปฟรานซิส
“หมอปลาย” ทักแรง! ภาคอีสานระวัง “ภูเขาไฟ” ดับไปแล้ว กำลังจะตื่นอีก
“นาซา” เผยข้อมูลช็อก! แผ่นดินพม่าเคลื่อนตัว 6 เมตร จ่อปรับผังเมืองเนปิดอว์
ผวาชักศึกเข้าไทย! “พม่า KNU” เหิมหนัก โบกธงฉลองในแผ่นดินไทย
ปภ.จับมือ "3 ค่ายมือถือ" ทดสอบส่งข้อความเตือนภัย พ.ค.นี้
"นายกฯ" นำเปิดโครงการ "SML ส่งตรงโอกาสถึงชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน" เน้นผลสำเร็จเริ่มจากยุคไทยรักไทย
เซเว่น อีเลฟเว่น ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยนแปลงโลก ในวัน Earth Day 2025 ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดการใช้พลังงาน ในธีม“พลังของเรา โลกของเรา”เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ซีพีจับมือทุกภาคส่วน ปักหมุด ‘เกาะสุกร’ จ.ตรัง ลงนาม MOU สร้างโมเดลต้นแบบจัดการขยะยั่งยืน มุ่งต่อยอดสู่เครือข่ายสิ่งแวดล้อมภาคใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น