ได้เวลาจัดการ “บ่อร้าง” จริงจังแล้ว

ได้เวลาจัดการ "บ่อร้าง" จริงจังแล้ว

เมื่อวันก่อนมีการลงนาม MOU ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหา เพื่อขจัดภัยจากการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำระยะเร่งด่วน ระหว่าง กรมประมง การยางแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมวิชาการเกษตร ในการร่วมดำเนินงานแบบบูรณาการ ทั้งในด้านการบริหารจัดการ ด้านวิชาการ และการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำปลาหมอคางดำที่จับออกจากธรรมชาติ โดยนำไปกำจัดด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ตลอดจนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อรองรับและสนับสนุนภารกิจต่างๆ ที่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์การปฏิบัติของทุกหน่วยงาน เรียกว่าเป็น Big Cleaning ที่มุ่งขจัดปลาหมอคางดำ 3 ล้านกิโลกรัม ภายใต้งบประมาณ 60 ล้านบาท เพื่อให้ปลาหมอคางดำหมดไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร

ข่าวที่น่าสนใจ

งบประมาณ 60 ล้านบาทจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญให้กรมประมงและทุกภาคส่วนบูรณาการความร่วมมือกำจัดปลาหมอคางดำได้ถึง 3 ล้านกิโลกรัมตามเป้าประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงมือจัดการกับ “บ่อร้าง” ทั้งบ่อกุ้งบ่อปลา ที่เกษตรกรปล่อยทิ้ง ไม่ได้เลี้ยงสัตว์น้ำใดๆ จนมีปลาหมอคางดำมาอาศัยน้ำนิ่งในบ่อร้างเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และเจริญเติบโต

บ่อร้าง จึงเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้มาตรการกำจัดปลาหมอคางดำล้มเหลว ซึ่งกลายเป็นหัวข้อที่เกษตรกรในหลายจังหวัดเอ่ยถึง และฝากความหวังให้กรมประมงเร่งดำเนินการจัดการเสียให้สิ้น ซึ่งต้องรอดูวิธีการปฏิบัติอีกทีว่ารัฐจะจัดการออกมาในรูปแบบใด

อาจใช้วิธีป้องปรามก่อน โดยเจ้าของบ่อร้างต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ประมงที่เข้าทำการตรวจสอบ หรืออาจแจ้งโดยตรงที่ประมงอำเภอ/จังหวัดถึงจำนวนบ่อร้างที่ตนมี เพื่อให้รัฐเข้าดำเนินการจับปลาออกโดยเร็ว จากนั้นรัฐจะเข้าทำการจับปลาและนำปลาไปใช้ประโยชน์ เช่น ส่งกรมพัฒนาที่ดินทำปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือส่งมอบให้กรมราชทัณฑ์ กรณีที่ส่งผู้ต้องขังลงมือจับปลา เนื่องจากเจ้าของบ่อไม่ใช่เจ้าของปลาหมอคางดำและจำเป็นต้องกำจัดออกจากบ่อของตนโดยเร็วที่สุด วิธีการนี้จึงเป็นไปในรูปแบบ Win-Win เจ้าของบ่อจะได้ประโยชน์ตรงที่ไม่ต้องจ้างแรงงานมาจับปลา ขณะที่ผู้จับซึ่งก็คือรัฐสามารถนำปลาไปใช้ประโยชน์ตามมาตรการที่วางไว้ได้เลย ขณะเดียวกันรัฐควรให้ความรู้ในการเตรียมบ่อ รวมถึงแจกจ่าย “กากชา” เพื่อให้เจ้าของบ่อร้างใช้ในการกำจัดปลาหมอคางดำให้หมดก่อนทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นกำหนดขอบเขตระยะเวลาให้เจ้าของบ่อร้างได้แจ้งเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ถึงคราวต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นมิให้มีปลาหมอคางดำหลงเหลือในบ่อร้าง เพื่อลดความเสี่ยงที่ปลาจะหลุดสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้อีก โดยรัฐควรกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบ ความถี่ในการติดตาม ตลอดจนบทลงโทษที่เด็ดขาดชัดเจน

เป้าหมายในการกำจัดปลาหมอคางดำให้เป็นศูนย์อาจเป็นไปไม่ได้ แต่การจำกัดจำนวนประชากรของมันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพนั้น เป็นไปได้แน่นอน ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง จริงใจและต่อเนื่อง ภายใต้ “แรงจูงใจ” ทั้งในรูปแบบงบประมาณ ผลประโยชน์ และตัวบทกฎหมาย

โดย ปิยะ นทีสุดา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นฤมล"นำถก 3 ฝ่ายลุยแก้ปัญหายางพารา สั่งรับมือภาษีสหรัฐฯลดผลกระทบเกษตรกร
“อินโดนีเซีย” ระทึก! แผ่นดินไหวหมู่เกาะ Talaud รุนแรง 6.2 ลึก 128 กม.
"คปท." นำยื่นหนังสือแพทยสภา ขอเร่งสรุปผลสอบชั้น 14 อยากรู้ "ทักษิณ" ป่วยวิกฤตจริงหรือไม่
โปรสตรี จัดประชุมใหญ่ นายกฯเผยรายละเอียดแมทช์เวียดนาม
ไทยแลนด์ พีจีเอทัวร์ 2025 เติมแมตซ์เพลย์ใน 23 รายการ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 35 ล้านบาท ตั้งเป้าสร้างแมตซ์ พัฒนาโปร ต่อยอดอาชีพ
"ทหารพราน" สกัดรถกระบะขนยา แหกด่าน ยึดของกลาง ยาบ้า 2.5 ล้านเม็ด
"สนธิญา" ร้องป.ป.ช.สอบ "พีระพันธุ์" ขัดรธน.อ้างถึงองคมนตรี - ถือหุ้นบริษัทเอกชน
ตร.เร่งสอบพยานกว่า 100 ปาก "คดีตึก สตง.ถล่ม" หาผู้กระทำผิด ยันทำงานเต็มที่
สรุปไทม์ไลน์ไฟไหม้ "โรงแรมดาราเทวี" เชียงใหม่ จุดต้นเพลิงเรือนไม้หน้าสปา จนท.เร่งสอบสาเหตุแท้จริง
"อ.วิชา" ชี้คดี "บอส อยู่วิทยา" ยังไม่จบ ศาลยกฟ้อง 6 จำเลยใช่ว่าพ้นมลทิน 100 %

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น