“อี้ แทนคุณ-เคนโด้” พา “กลุ่มผู้เสียหาย” ร้องปคบ.ตรวจสอบ “บริษัท K4” ชวนลงทุนซิม-ตู้เติมเงิน เสียหายกว่า 2 พันล้าน

“อี้ แทนคุณ – เคนโด้” พากลุ่มผู้เสียหาย ร้องตร.ปคบ. เพื่อให้ตรวจสอบบริษัท K4 (เค-โฟร์) คอมมูนิเคชั่น จก. ชักชวนลงทุนซิมและตู้เติมเงิน อ้างได้รับอนุญาตจาก กสทช. ถูกแต่กลับพบมีการดำเนินการในรูปแบบแชร์ลูกโซ่ มีการชักชวนคนดังในวงการบันเทิงมาร่วมทำการตลาด โดยหนึ่งในจำนวนนั้น มี ‘ ฟิล์ม รัฐภูมิ’ ร่วมด้วย พบผู้เสียหาย 5,000 ราย มูลค่าความเสียหาย 2,000 ล้านบาท

“อี้ แทนคุณ-เคนโด้” พา “กลุ่มผู้เสียหาย” ร้องปคบ.ตรวจสอบ “บริษัท K4” ชวนลงทุนซิม-ตู้เติมเงิน เสียหายกว่า 2 พันล้าน – Top News รายงาน

อี้ แทนคุณ-เคนโด้

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา12.00 น. ที่ด้านหน้าศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง อี้ แทนคุณ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม และ เคนโด้ เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร ผู้ประกาศพิธีกรชื่อดัง พาตัวแทนผู้เสียหาย 8 คน เข้าร้องทุกข์กับตำรวจบก.ปคบ. หลังถูกบริษัทแห่งหนึ่ง ชักชวนหลอกลงทุนซิมและตู้เติมเงิน อ้างสิทธิ์ กสทช. พร้อมเปิดข้อมูลมีคนดังเอี่ยวทำการตลาด มีผู้เสียหาย 5,000 ราย มูลค่าความเสียหาย 2,000 ล้านบาท

 

นายแทนคุณ กล่าวว่า ตนได้นำภาพผู้บริหารหญิง ของบริษัท K4 ที่ได้มรการถ่ายไว้ ร่วมกับฟิล์ม รัฐภูมิ และ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ซึ่งผู้บริหารหญิงคนนี้ถือเป็นมาดามท่านหนึ่งของบริษัทดังกล่าว โดยวันนี้มีผู้เสียหาย นำพยานหลักฐานเชื่อมโยงพฤติกรรมของฟิล์ม มามอบให้เจ้าหน้าที่ เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบว่า จะเกี่ยวข้องอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ติดตามดู แต่เท่าที่ทราบมีบทบาทสำคัญพอสมควร ไม่ใช่แค่เซ็นเตอร์เพียงอย่างเดียว มีคลิปเชิญชวนต่างๆ ด้วยหรือไม่ และเป็นส่วนหนึ่งที่จูงใจให้ผู้เสียหายสมัครใจร่วมลงทุนด้วยหรือไม่ โดยตนได้นำหลักฐานพร้อมผู้เสียหายเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อติดตามการกระทำของดารานักแสดง

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายแทนคุณ กล่าวว่า จากการตรวจสอบ พบว่าบริษัทดังกล่าว มีปัญหาตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้มีการเบิก-ถอนได้ ลักษณะคือการจำหน่ายซิมและเครื่องเติมเงิน ที่ได้รับการรับรองจาก กสทช. ด้วยใบอนุญาตประเภทที่ 1 ซึ่งมีการใช้ใบอนุญาตนี้ ขยายผลเชิญชวนกล่าวอ้างในที่ต่างๆ เสมือนเป็นใบอนุญาตในการลงทุนและขาย ซึ่งการขายซิมตู้เติมเงินไม่ผิด แต่ประเด็นที่ต้องการตรวจสอบคือ เป็นการทำในลักษณะแชร์ลูกโซ่หรือไม่ คือมีการเชิญชวนให้มีการลงทุนในอัตราส่วนเริ่มต้นที่ไม่มากคือลงทุน 5,000 บาท และได้คืนมา 3 เท่า คือ 15,000 บาท ภายในระยะเวลา 500 วัน จะได้เงินคืนตามสัดส่วนที่ได้มีการลงทุนไป โดยกสทช.ได้อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวทำตรงนี้แม้จะเคยมีหนังสือเตือนไปที่บริษัทว่าห้ามนำเรื่องของการอนุญาตในครั้งนี้ไปทำเป็นแชร์ลูกโซ่ แต่บริษัทดังกล่าวไม่เชื่อ และมีการชักชวนให้กลุ่มผู้เสียหายลเข้าร่วมลงทุน จนกระทั่งในที่สุดก็เกิดความเสียหาย ไม่สามารถคืนเงินมาได้ 2 เดือนแล้ว โดยมีการอ้างว่าปรับปรุงระบบ

 

นายแทนคุณ กล่าวว่า บริษัทดังกล่าวได้มีการข่มขู่ผู้เสียหายผ่าน Open Chat ว่าจะแจ้งความกลับ และจะไปร้องสคบ. ว่าผู้เสียหายที่มาดำเนินการต่างๆ ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ตั้งข้อสังเกต 3 ส่วนคือ 1. ความเกี่ยวโยงของกสทช. ที่มีต่อบริษัทนี้ ว่ามีส่วนร่วมและรู้เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร 2. บริษัทดังกล่าวที่มีปัญหาในลักษณะนี้จะเข้าข่ายผิดกฎหมายในข้อหาใดบ้าง ซึ่งจะต้องให้พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำผู้เสียหายก่อนว่า จะเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่หรือไม่ 3.ศิลปินมีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกับเรื่องนี้ด้วยหรือไม่

 

ด้านเคนโด้ เกรียงไกรมาศ กล่าวว่า ได้ตั้งคำถามไปถึง กสทช. ว่าใน กสทช.มีเทวดาด้วยหรือไม่ เพราะมีการออกใบอนุญาตให้กับบริษัทนี้ ก่อนบริษัทจะนำไประดมทุนกับประชาชนจนได้รับความเสียหาย และทางพล.ต.ต. จรูญเกียรติ ปานแก้ว หรือบิ๊กเต่า รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ออกมาเปิดเผย หลังการตรวจสอบเส้นเงินของนายสามารถพบว่ามีเส้นเงินโยงเข้ามาเกี่ยวข้องกับบริษัท และบริษัทดังกล่าวนำรถประจำตำแหน่งไปให้นายสามารถใช้ นอกจากนี้ยังปรากฏภาพศิลปิน ดารา คนดัง นักการเมืองอยู่ด้วยจำนวนมาก จะมีความเกี่ยวข้องอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า มีผู้ใหญ่ในกสทช. 3 คนเซ็นรับรองว่า บริษัทดังกล่าวเป็นธุรกิจที่ถูกต้อง และใช้แผนของการขายตรงมาระยะยาวมากๆ

นายแทนคุณ กล่าวอีกว่า การแอบอ้างหรือการใช้กสทช.ในการกระทำความผิดแบบนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าทางกสทช. ควรจะร่วมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ในฐานะหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลเรื่องนี้และเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้เสียหาย และจะต้องตรวจสอบกรณีที่นายเกรียงไกรมาศได้ตั้งคำถามว่าจะมีเทวดาอีกหรือไม่ เพราะหน่วยงานที่กำกับดูแลและออกใบอนุญาตต่างๆ จะถูกตั้งข้อสังเกตเหมือนกัน เมื่อดูแผนธุรกิจแล้วพอจะเข้าใจว่าเป็นการชักชวนร่วมลงทุน

 

ตัวแทนผู้เสียหาย เปิดเผยว่า มีแม่ทีมของบริษัทได้มาชักชวนโดยสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการให้เข้าไปร่วมประชุม ซึ่งมีดารานักแสดงมาโชว์ก่อน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ จากนั้นจะให้โค้ชเข้ามาบรรยาย โดยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 บริษัทดังกล่าวได้มีการเปิดตัวที่กสทช. โดยมีผู้ใหญ่ในกสทช.มาร่วมแสดงความยินดีด้วย ทั้งนี้ก่อนเข้าร่วมลงทุนตัวเองได้ตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ พบว่า มีซิมใช้งานได้จริง มีใบอนุญาตรับรอง แต่เมื่อเข้ามาได้เพียงหนึ่งเดือนกว่าก็ไม่สามารถทำธุรกรรมเบิกถอนได้

 

ขณะที่นายบรรพต ผู้เสียหายอีกราย ซึ่งเป็นนายกสมาคมแพทย์แผนไทยส่งเสริมสุขภาพ เปิดเผยว่า ตัวเองถูกชักชวนให้ร่วมลงทุน จนสูญเงินไป 40,000 บาท ทั้งนี้เตือนไปถึงผู้สูงอายุที่อยู่ในต่างจังหวัด เพราะหากเห็นเพียงใบรับรองจากกสทช.อาจหลงเชื่อได้ทำให้ต้องเสียทรัพย์สินมากมายเหมือนตัวเอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จับแล้ว "จ่าเอ็ม" อดีตทหารเรือ มือสังหาร "อดีต สส.กัมพูชา" เสียชีวิต
“มิน พีชญา” เปิดใจครั้งแรก หลังได้รับอิสรภาพ ลั่นขอเวลาพักฟื้นดูแลตัวเอง
"พ่อ-แม่" ใจสลาย "ลูกสาว" วัย 3 ขวบดับสลด หลังติดเชื้อไวรัส ทำกล้ามเนื้อหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
ด่วน ศาลสั่งปล่อยตัว "บอสแซม-บอสมิน" ปมดิไอคอน หลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง
ตร.บุกรวบ "หนุ่มวัย 24 ปี" เปิดเพจหลอกขายสินค้าทิพย์ ลวงเหยื่อเสียหายเกือบล้าน
ซีพี-ซีพีเอฟ หนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อสวัสดิการกำลังพลกองทัพเรือและครอบครัวต่อเนื่อง
สุดทึ่ง! สนามฟุตบอลลอยฟ้าจีนเหนือหุบเขาในเจ้อเจียง
ไอคอนสยาม ประกาศความสำเร็จ ส่งประเทศไทยเป็นเคานต์ดาวน์เดสติเนชั่นระดับโลก ทุบสถิติยอดผู้ร่วมงานพุ่งกว่า 1,000,000 คน ยอดผู้ชมทั่วโลกกว่า 100 ล้านวิว
เดินหน้ารับสมัครทุนซีพีปีที่ 46 : พลิกฟื้นการศึกษา “สร้างคนดี พัฒนาคนเก่ง” สู่สังคมแห่งความเสมอภาค
ชาวอเมริกันหนีตายไฟป่าลอสแอนเจลิส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น