นายกฯรับรายงาน “ประเสริฐ” ลงพื้นที่น้ำท่วมใต้ ย้ำทุกหน่วยงานเร่งคลี่คลายสถานการณ์โดยเร็วที่สุด

นายกฯรับรายงาน "ประเสริฐ" ลงพื้นที่น้ำท่วมใต้ ย้ำทุกหน่วยงานเร่งคลี่คลายสถานการณ์โดยเร็วที่สุด

Top news รายงาน วันนี้ (6 ธ.ค. 67) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีในฐานะโฆษกศปช.เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงานจากนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และนางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ได้เดินทางไปที่จังหวัดยะลา พร้อมด้วย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายอำพล พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในที่ประชุม ครม.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยเฉพาะขอให้กำหนดแผนฟื้นฟูเยียวยาในเฟสสองหลังน้ำลดเพื่อนำไปเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้ ครม.ได้ อนุมัติหลักการให้การช่วยเหลือเดือนละ 9000 บาทไปก่อนหน้านี้แล้ว

 

 

 

โดยนายประเสริฐรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัย และแผนการแก้ไขปัญหา พร้อมกล่าวมอบนโยบาย ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมืองยะลา พร้อมกำชับให้เร่งส่งผลสรุปแนวทางการฟื้นฟูเยียวยาเพื่อจะได้นำไปพิจารณาในที่ประชุมครม. จากนั้นเดินทางต่อไปยังอาคารศรีนิบง ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา เพื่อพบปะประชาชนและมอบถุงยังชีพให้ผู้แทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นลงพื้นที่ หมู่ 2 บ้านยือโม๊ะ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายประเสริฐ กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคใต้ และในสัปดาห์นี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนผ่านอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้จะมีความเสี่ยงฝนตกหนักและฝนตกหนักมากบางแห่ง ทั้งนี้รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร มีความเป็นห่วงประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก จึงได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือดูแลประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับความเดือดร้อน เพื่อคลี่คลายโดยเร็วที่สุด ซึ่งในวันนี้ได้เน้นย้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยมอบจังหวัด ศอ.บต. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย และจัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ ให้พร้อมต่อสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น และมอบ สทนช. ประสานกรมชลประทาน จังหวัด ปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย เพื่อแก้ไขสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

 

 

 

 

 

 

นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้ สทนช. จังหวัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ต้องประสานการทำงานอย่างใกล้ชิดตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2567 และป้องกันสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนบางลาง และการจัดการน้ำในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบาง และเมื่อมีผลกระทบกับประชาชน ต้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำกับ สทนช. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กรมประชาสัมพันธ์ และจังหวัด ประชาสัมพันธ์สถานการณ์อุทกภัยและแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ พร้อมมอบหมายศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ประสานและบูรณาการการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลให้ความสำคัญต่อสถานการณ์น้ำ ทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก และจะดูแลให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังเพื่อทุกครัวเรือนผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว

 

 

ด้าน เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ รวม 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 7 อำเภอ จังหวัดพัทลุง 5 อำเภอ จังหวัดสงขลา 4 อำเภอ จังหวัดปัตตานี 4 อำเภอ จังหวัดนราธิวาส 3 อำเภอ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่เพื่อบรรเทาผลกระทบให้ประชาชน โดยเฉพาะในระยะนี้ที่ปริมาณฝนจะลดลง รวมทั้งได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ในช่วงหลังจากนี้ตามที่รองนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. คาดการณ์ว่าจะกลับมามีฝนตกหนักถึงหนักมากอีกครั้งในช่วงวันที่ 13 – 16 ธ.ค. 67 บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จากนั้นแนวโน้มฝนจะลดลงตามลำดับ

 

 

 

 

 

สำหรับเขื่อนบางลางจะยังคงอัตราการระบายน้ำที่ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) ต่อวัน ซึ่งจะต้องมีการติดตามประเมินสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับแผนการระบายให้เหมาะสม โดยจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับระดับน้ำทะเลด้วย โดยขณะนี้การระบายน้ำของเขื่อนบางลางยังไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำบริเวณหน้าเขื่อนปัตตานี โดยเขื่อนปัตตานีได้มีการหน่วงน้ำไว้ตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค. 67 ส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนลดลงตามลำดับ โดยเฉพะเขตตัวเมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าตลิ่งแล้ว และในการบริหารจัดการน้ำ ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยของเขื่อนทุกแห่ง ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ส่วนหน้าจะบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ประกอบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่และระดมสรรพกำลังเพื่อเร่งคลี่คลายสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้โดยเร็วที่สุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฮามาสและนานาชาติประณามทรัมป์หวังฮุบกาซา
สภาผู้แทนฯ ลงมติผ่านร่างพ.ร.บ.คุ้มครอง ส่งเสริมกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งวุฒิสภาพิจารณา
"สรรเพชญ" เร่งรัฐบาล โอนเงินเยียวยาน้ำท่วมภาคใต้ พร้อมเสนอครม.สัญจร แก้ปัญหา "ห้าแยกน้ำกระจาย" จริงจัง
“พิพัฒน์” รุกมาตรการความปลอดภัย จับมือ 18 สถานประกอบกิจการ ขับเคลื่อนแคมเปญ “Safety Culture Together”
ทุบแตก "ฐานทัพพม่า" ในรัฐคะฉิ่น กลุ่มติดอาวุธ คึก หวังยึดฐานใหญ่อีกแห่ง
อั้นไว้ก่อน ค่อยเติม! เช็กราคาน้ำมัน พรุ่งนี้เบนซิน แก๊สโซฮอล์ ลด 40-50 สต./ลิตร
"ภูมิธรรม" ลงพื้นที่ดูชายแดนแม่สอด 6 ก.พ.นี้ ตรวจ 4 จุดตัดไฟฟ้า "แก๊งคอลเซ็นเตอร์"
เกาะ‘ฮอกไกโด’ของญี่ปุ่นเจอหิมะตกหนักเป็นประวัติการณ์
"บิ๊กต่าย" เตรียมประสาน "ตร.สากล" ช่วยเหลือหญิงไทยถูกหลอกรีดไข่สืบพันธุ์
นับถอยหลังเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2025 จีนที่ฮาร์บิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น