กลุ่มบุคลากร รพ.อุดรฯ วอน “อนุทิน” ดูแลขั้นเงินเดือนโควิดให้ทั่วถึง

กลุ่มบุคลากร รพ.อุดรฯ วอน “อนุทิน” ดูแลขั้นเงินเดือนโควิดให้ทั่วถึง เราต้องการคำตอบที่ชัดเจนว่า ทำไม 1 เปอร์เซ็นต์ ถึงได้แค่ 1ใน 4 ของโรงพยาบาล ทั้งที่ทุกคนปฎิบัติราชการทำงานภายใต้การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงขอถามแค่นี้จริงๆ ทั้งหมด 3,400 คน ได้แค่ 600 คน โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการแล้ว คุณสมบัติตรงตามที่หลวงกำหนด ถ้าขาดคุณสมบัติข้อใด น่าจะมีคำชี้แจงที่โปร่งใส ชัดเจนกว่านี้

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 28 กันยายน 2564  กลุ่มตัวแทนบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 5 คน ได้มายื่นหนังสือร้องทุกข์เรื่องการปฏิบัติและไม่ปฏิบัติของผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธานี ถึงนายสยาม ศิริมงคล ผวจ.อุดรธานี ผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอุดรธานี ก่อนที่จะไปยื่นหนังสือร้องทุกข์กับสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดอุดรธานี ถึงนายแพทย์ สสจ.อุดรฯ โดยรายละเอียดในหนังสือร้องทุกข์ มีใจความว่า ได้มีคำสั่งด้วยวาจา เรื่องเลื่อนขั้นเงินเดือน แบบร้อยละ ให้มีการประเมินเลื่อนระดับโดยกำหนดไม่เกิน ร้อยละ 4 ช่วงตามนโยบายในการจัดสรรโควตาพิเศษ ความดีความชอบพิเศษ สำหรับบุคลากรทางสาธารณสุข เห็นชอบให้ บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้มีระบบการเลื่อนเงินเดือนแบบร้อยละ ให้ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนเงินเดือนปกติอีกร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณต่อรอบการประเมิน

ทั้งนี้เมื่อรวมการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติ กับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานการคำนวณ แต่ในระหว่างเดือนมีนาคม 2563 ถึงกันยายน 2563 ที่ผ่านมา พบว่ามีการจัดสรรโควตา ให้บุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลอุดรธานี ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนเงินเดือนปกติอีกร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณต่อรอบการประเมินเพียง 1 ใน 4 ของบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้น โดยอ้างได้จัดสรรการเลื่อนเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนเงินเดือนปกติอีกร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณต่อรอบการประเมินร้อยละ 100 โดยยึดหลักการเดียวกันคือ ทุกคนที่เป็นบุคลากรสาธารณสุข ได้ปฏิบัติงานอย่างหนักในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จากเหตุการณ์นี้ ซึ่งทำให้บุคลากรสาธารณสุขมีความคับข้องใจ ต่อการเลือกปฏิบัติในครั้งนี้

กลุ่มบุคลากรผู้ร้องทุกข์ ได้ทำหนังสือถึงผู้บริหารโรงพยาบาล เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่กลับได้รับการปฏิบัติให้ดำเนินการสอบสวนผู้ร้องทุกข์ และให้ดำเนินการทางวินัยจนถึงที่สุด พร้อมกับการข่มขู่ด้วยวาจาในที่ประชุมกรรมการบริหารว่าจะแจ้งความเอาผิดผู้ร้องทุกข์และจะส่งรายชื่อผู้ร้องทุกข์ทั้งหมดให้ตำรวจดำเนินคดี จึงอยากให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับบุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตั้งแต่เดือน มีนาคม –ตุลาคม 2563 ตามนโยบายในการจัดสรรโควตาพิเศษความดี ความชอบ พิเศษสำหรับบุคลากรสาธารณสุข

โดยเห็นชอบให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้มีระบบการเลื่อนเงินเดือนแบบร้อยละ ให้ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนเงินเดือนปกติอีกร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณต่อรอบการประเมิน ทั้งนี้เมื่อรวมการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติกับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานการคำนวณ ของโรงพยาบาลอุดรธานี เปรียบเทียบกับโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานคล้ายคลึงกัน แต่ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ทุกคน และกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขตามรายชื่อเอกสารหมายเลข 1 ขอรับการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนกลุ่ม เปิดเผยว่า เป็นตัวแทนพยาบาลในส่วนที่ไม่ได้รับผลประโยชน์แต่ปฎิบัติงานร่วมตลอด แต่ไม่ได้เลื่อนเงินขั้นพิเศษร้อยละ 1 ตามที่หลวงซึ่งมีเกณฑ์กำหนดให้ เราจึงมายื่นขอความเป็นธรรม ขออุทธรณ์และขอให้ทบทวน การให้เงินเพิ่ม ในช่วงสถานการณ์การระบาดเชื้อโควิด 1 เปอร์เซ็นต์ที่หลวงให้มา และมายื่นให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า ทำไมโรงพยาบาลอื่นหลายโรงพยาบาลเขาจึงออกให้อัตโนมัติ ให้เจ้าหน้าที่เขาได้ทุกคน แต่ทำไมโรงพยาบาลอุดรธานีให้ได้แค่ 1ส่วน 4 ซึ่งคัดเลือกจากอะไรที่ควรจะได้ คิดว่าไม่ชัดเจน เพราะน้องอีกหลายคนทำโรงพยาบาลสนาม แต่ยังไม่ได้ 1 เปอร์เซ็นต์ ในความคิดเข้าใจว่า 1 เปอร์เซ็นต์ที่หลวงอยากจะให้เพราะว่าในบุคลากรสาธารณสุขเหนื่อยกันทุกคน แต่เมื่อเราไม่ได้จึงอยากมาทวงถามสิทธิ์แค่นั้น

“เงินเลื่อนขั้นเพิ่มพิเศษการทำงานในสถานการณ์โควิด ตามมติของ ครม. ในวันที่ 15 เมษายน 2563 ให้ทุกคนทุกระดับ เมื่อลองสอบถามเพื่อนๆ ที่อยู่ รพ.ใกล้เคียงกัน ขนาดกัน หลายโรง บอกว่าได้แบบอัตโนมัติทุกคนได้ เราจึงมีคำถามว่า เราทำงานแต่ทำไมถึงไม่ได้ ทั้งที่สถานการณ์คล้ายกัน ทำงานคล้ายกัน จึงอยากฝากถึงรองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่า อยากให้ดูแลอย่างทั่วถึง ถ้าเหตุการณ์ยังเป็นแบบนี้ มันเสียขวัญและกำลังใจของคนทำงาน ซึ่งมีความหมายกับเราทุกอย่าง น่าจะชัดเจนกว่านี้ การถูกเลือกปฎิบัติและไม่อยู่ในครอบข่าย เราต้องการคำตอบที่ชัดเจนว่า ทำไม 1 เปอร์เซ็นต์ ถึงได้แค่ 1ใน 4 ของโรงพยาบาล ทั้งที่ทุกคนปฎิบัติราชการทำงานภายใต้การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงขอถามแค่นี้จริงๆ ทั้งหมด 3,400 คน ได้แค่ 600 คน โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการแล้ว คุณสมบัติตรงตามที่หลวงกำหนด ถ้าขาดคุณสมบัติข้อใด น่าจะมีคำชี้แจงที่โปร่งใส ชัดเจน ตอบคำถามชัดเจนมากกว่านี้”

ภาพ/ข่าว กฤษดา จันทร์ดวง ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.อุดรธานี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ยิ่งใหญ่ตระการตา นางรำกว่า 800 ชีวิต รำบวงสรวง "เจ้าพ่อหมื่นขุนวัง" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง อ.บัวเชด พร้อมชมการแข่งขันตำส้มตำลีลา ที่สนุกสุดมันส์ฮา
เปิดใจพี่สาว ลุงผูกคอประชดลูกหนี้ หน้าเทศบาล ตัดพ้อคิดซะว่าเป็นกรรมของน้อง
ต้นสังกัด ประกาศปลด "เฟื่อง" นักร้องนำวง versus หลังถูกรวบคดีเอี่ยวเว็บพนันฯ
อำเภอพระนครศรีอยุธยา-บางไทร คว้ารางวัลชนะเลิศนักร้องเสียงทองเพลงลูกทุ่ง ในการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท.งาน “ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก”
"พิชัย" เดินหน้าเต็มสูบ ถกหอการค้า-อุตสาหกรรมญี่ปุ่น นักลงทุนยักษ์ใหญ่ ชวนขยายลงทุนไทย ยันพณ.พร้อมอำนวยความสะดวกเต็มที่
เช็กด่วน อย.เร่งเรียกคืน ยาด็อกซีไซคลิน 7 รุ่นการผลิต ผิดมาตรฐาน
"รมว.ยธ." แจงขั้นตอนย้าย “โกทร” มาเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
โครงหลังคาโกดังสูง 10 เมตรถล่ม คนงานร่วง-เหล็กทับร่างซ้ำ เจ็บสาหัสเพียบ
"ไทยสมายล์บัส" ตั้งเป้าปี 68 พัฒนาระบบเทคโนโลยี ดันเป้าผู้โดยสารโตต่อเนื่อง จ่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
"หน.กู้ภัย" มือโพสต์แจกรองเท้าฟรี เข้าพบตร. เผยยอมเยียวยาคุณป้าเจ้าของ หากตนผิดจริง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น