เปิดคำสั่ง “ศาลรธน.” ยกคำร้อง “วัฒนา” ขอวินิจฉัยคำพิพากษาศาลฎีกาฯ คดีทุจริตคลองด่าน

เปิดคำสั่ง "ศาลรธน." ยกคำร้อง "วัฒนา" ขอวินิจฉัยคำพิพากษาศาลฎีกาฯ คดีทุจริตคลองด่าน

เปิดคำสั่ง “ศาลรธน.” ยกคำร้อง “วัฒนา” ขอวินิจฉัยคำพิพากษาศาลฎีกาฯ คดีทุจริตคลองด่าน

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

17 ธ.ค.2567 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ ๗๐/๒๕๖๗ เรื่อง นายวัฒนา อัศวเหม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓

ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องสรุปได้ว่า นายวัฒนา อัศวเหม (ผู้ร้อง) กล่าวอ้างว่า กรมควบคุมมลพิษฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อศาลแขวงดุสิต ฐานร่วมกันฉ้อโกงรวบรวมที่ดิน และยื่นหลักฐานขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๕๐๒๔ ๑๓๑๕๐ ๑๕๕๖๕ ๑๓๘๑๗ และ๑๕๕๒๘ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยทุจริตมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ มาตรา ๙๐ มาตรา ๙๑ และมาตรา ๘๓ ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ๒๕๔/๒๕๔๗ ระหว่างการพิจารณาคดี อัยการสูงสุดนำข้อเท็จจริงเดียวกันมาฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ มาตรา ๘๔ มาตรา ๑๔๘ และมาตรา ๑๕๗

ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าผู้ร้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘ ลงโทษจำคุก ๑๐ ปี และศาลแขวงดุสิตมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๓๕๐๑/๒๕๕๒ ว่าผู้ร้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ประกอบมาตรา ๘๓ ลงโทษจำคุก ๓ ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ และศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ ๘๐๖๔/๒๕๖๐ กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

ผู้ร้องเห็นว่า การกระทำของผู้ร้องตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวกับกรณีคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของกรมควบคุมมลพิษย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๔) เมื่อมีการลงโทษบทหนักแก่ผู้ร้องตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ย่อมมีเหตุตามกฎหมายที่ผู้ร้องไม่ต้องรับโทษอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘๕ วรรคหนึ่ง การที่ศาลแขวงดุสิตและศาลฎีกามีคำพิพากษาลงโทษแก่ผู้ร้องอีก ขัดหรือแย้งต่อรัฐธธรรมนูญ มาตรา ๒๘ วรรคสาม และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐

ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดินเจ้งให้ผู้ร้องทราบว่า เรื่องร้องเรียนอยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง เมื่อได้รับข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้วจะนำมาประกอบการพิจารณาต่อไป แต่เนื่องจากผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในระยะเวลาหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธธธธธรมนูญได้

ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ดังนี้

๑. การกระทำขององค์คณะผู้พิพากษาศาลแขวงดุสิตในการพิจารณาและพิพากษาคดีอาญาคดีหมายเลขดำที่ ๒๕๕๔/๒๕๔๗ คดีหมายเลขแดงที่ ๓๕๐๑/๒๕๕๒ และการกระทำของค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาในการพิจารณาและพิพากษาคดีอาญาตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๖๔/๒๕๖๐ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ มาตรา ๒๘ วรรรคสาม และมาตรา ๑๘๘ ประมวลกฎหมายอาญาญามาตรา ๙๐ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๔) และมาตรา ๑๘๕ วรรคหนึ่งหรือไม่

๒. ให้คำพิพากษาของศาลแขวงดุสิตและศาลฎีกาไม่มีผลใช้บังคับ

ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า คำร้องของผู้ร้องต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัย หรือไม่

รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ บัญญัติว่า “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธธธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ”

 

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยคดีตามมาตรา ๗ (๑๑) ได้ โดยจะต้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเสียก่อน ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพดังกล่าว เว้นแต่การละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น ยังคงมีอยู่ก็ให้ยื่นคำร้องได้ตราบที่การละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้นยังคงมีอยู่ และให้นำความในมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือวันที่พ้นกำหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง”

มาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๔๗ ผู้ใดถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ถ้าผู้นั้นเห็นว่าการละเมิดนั้นเป็นผลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลพร้อมด้วยความเห็นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้องจากผู้ร้อง โดยให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบภายในสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว”

และวรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง หรือไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ผู้ถูกละเมิดมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลได้”

พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าองค์คณะผู้พิพากษาศาลแขวงดุสิตและองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาพิจารณาและพิพากษาคดีอาญาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ มาตรา ๒๘ วรรคสาม และมาตรา ๑๘๘ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๔)และมาตรา ๑๘๕ วรรคหนึ่ง ซึ่งการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘

แม้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธธรรมนูญภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธธรรมนูญก็ตาม แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๖ วรคหนึ่ง บัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธธรรมนูญ

เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องปรากฏว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธธรรมนูญเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พันกำหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๔๘ วรรคสอง ดังนั้นผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว คำขออื่นย่อมเป็นอันตกไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายกฯอิ๊งค์ เดิน-นั่งเรือลุยน้ำแจกถุงยังชีพช่วยชาวปักษ์ใต้  อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช
ตม.สระแก้ว ดักรวบหนุ่มฉ้อโกงออนไลน์หนีหมายจับเกือบ 2 ปี คาด่าน ตม.อรัญประเทศ
ปฏิบัติการ ! ทลายแหล่งเว็บพนันรายใหญ่ฟอกเงินผ่านระบบ เกตเวย์เถื่อน พบมีเงินหมุนเวียนกว่า 500 ล้านบาทต่อเดือน
"สจ.จอย" เตรียมลงชิงนายกอบจ.ปราจีนบุรี ในนามพรรคเพื่อไทย สานฝันสามี ครอบครัวเก็บร่าง "สจ.โต้ง" รอความยุติธรรม
”นายกฯ อิ๊งค์“ นั่งเรือลุยน้ำท่วม แจกถุงยังชีพชาวนครศรีฯ ปชช.แห่ถ่ายรูปต้อนรับอบอุ่น
‘มูลนิธิยังมีเรา-ท็อปนิวส์’ เปิดครัวสนามช่วยน้ำท่วมเมืองคอน ชาวบ้านขอบคุณน้ำใจไม่ทิ้งกัน
ผู้ว่าโคราชพบสื่อ บอกเล่าเรื่องราวการทำงานของส่วนราชการในพัฒนาคุณภาพชีวิต ปชช.ตามโครงการสื่อสารสร้างการรับรู้สู่สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์
ถกเดือด ไม่พลิก "สว." เห็นชอบร่างกม.ประชามติ ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น
มูลนิธิพระราหู นำคณะแสวงบุญ 15 วัน อุปสมบทหมู่รุ่น 6 สู่ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย-เนปาล
เปิดคำสั่ง "ศาลรธน." ยกคำร้อง "วัฒนา" ขอวินิจฉัยคำพิพากษาศาลฎีกาฯ คดีทุจริตคลองด่าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น