“ศุลกากร” บุกจับ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ลักลอบนำเข้าไทยกว่า 256 ตัน คาท่าเรือแหลมฉบัง

"ศุลกากร" บุกจับ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ลักลอบนำเข้าไทยกว่า 256 ตัน คาท่าเรือแหลมฉบัง

 

เมื่อเวลา 10.30 น. (15 ม.ค.68) มีรายงานว่า นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร พร้อม นายจักกฤช อุเทนสุต รองอธิบดีกรมศุลกากร แถลงข่าวการจับกุม “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” นำเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 10 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักรวมกว่า 256 ตัน โดย นายพันธ์ทอง เปิดเผยว่า หลังจาก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชน นายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร จึงกำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและปราบปรามสินค้าประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ลักลอบนำเข้าราชอาณาจักรไทย

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นจึงไปพบว่ามีการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 3 ม.ค. และวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา กองสืบสวนและปราบปรามร่วมกับสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จึงเข้าตรวจสอบตู้สินค้าต้องสงสัยจำนวน 10 ตู้คอนเทนเนอร์ พบว่ามีการแสดงข้อมูลในใบขนสินค้าเป็น “เศษโลหะและโลหะเก่าใช้แล้ว” เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ จึงทำการอายัดตู้สินค้าดังกล่าวเพื่อตรวจสอบโดยละเอียด

 

 

 

ผลการตรวจสอบพบว่า สินค้ามีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 9 ตู้ และจากฮ่องกง 1 ตู้ ภายในพบ “เศษชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไม่ได้ ซึ่งกลายสภาพเป็นเศษขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปริมาณกว่า 256,320 กิโลกรัม” สินค้าดังกล่าวถือเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และการนำเข้าสินค้าดังกล่าวต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซล ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน

กรณีนี้จึงเป็นการกระทำความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เนื่องจากลักลอบนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือเศษชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไม่ได้ และการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดนโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยหลังจากนี้เจ้าหน้าที่จะเรียกผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวมาสอบปากคำ ก่อนดำเนินคดีไปตามกฎหมายต่อไป พร้อมเฝ้าระวังการลักลอบนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าไทยอย่างเข้มข้นในทุกมิติ

 

 

สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะมีสารโลหะหนักอันตรายปะปนอยู่ ประกอบด้วย ตะกั่ว, ปรอท, แคดเมียม และโครเมียม ซึ่งสลายตัวยาก หากได้รับการจัดการที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อม และอาจเกิดการสะสมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่ได้รับสารโลหะหนักซึ่งอาจมีอันตรายจนถึงชีวิต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวเมืองน่าน เข้าพบ "นิพนธ์" อดีตรมช.มหาดไทย ผลักดันพิสูจน์สิทธิ ออกโฉนดที่ดินสำเร็จ หลังรอคอยนานกว่า 30 ปี
"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”
"กนก" โพสต์แฟนข่าว "ท็อปนิวส์" เต็มอิ่ม สนุกสุดทัวร์ย้อนประวัติศาสตร์ "ลั่วหยาง-ซีอาน"
อุตุฯ เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" 45 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง กทม.โดนด้วย
ก่อนคิดถึง "กาสิโน" บังคับใช้กม.ให้ได้ก่อน 2 ปีคดีฟอกเงิน "นอท" ไม่คืบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น