“ชัยวุฒิ”เผย 7 เดือนปราบข่าวปลอม-โซเชียลผิดกม. ยื่นศาลปิดกั้น1,014 ยูอาร์แอลแจ้งความมือโพสต์ 47 คดี

“ชัยวุฒิ” รมว.ดิจิทัลฯ โชว์ผลงานดีอีเอสปราบข่าวปลอม-โซเชียลผิดกฎหมาย 7 เดือน ยื่นขอศาลปิดกั้นแล้ว 1,014 ยูอาร์แอล ร้องทุกข์กล่าวโทษผู้กระทำผิด 594 บัญชีรายชื่อ แจ้งความดำเนินคดีมือโพสต์ข่าวปลอม 47 คดี ประกาศขยายขอบเขตงานช่วยเหลือประชาชนจากภัยต้มตุ๋น และฉัอโกงผ่านออนไลน์

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา (มี.ค. -ก.ย. 64) ว่า ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประสานงานการตรวจสอบข่าวปลอม และเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานในด้านข่าวปลอม ที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสร้างสังคมการใช้โซเชียลสีขาวให้เกิดขึ้นได้ในประเทศไทย

ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลฯ ดำเนินการปิดกั้นและดำเนินการต่อผู้นำเข้าข้อมูลผิดกฎหมาย โดยยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อขอให้มีคำสั่งปิดกั้น จำนวน 56 คำร้อง รวม 1,014 ยูอาร์แอล และมีคำสั่งศาลให้ปิดกั้นแล้ว จำนวน 46 คำสั่ง รวม 787 ยูอาร์แอล ขณะที่ อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาลอาญา จำนวน 10 คำสั่ง รวม 221 ยูอาร์แอล

สำหรับการร้องทุกข์กล่าวโทษผู้กระทำความผิดนำเข้าข้อมูลฯ ดำเนินการไปแล้ว 594 ยูอาร์แอล/บัญชีรายชื่อ แบ่งเป็น ผู้กระทำความผิดผ่านเฟซบุ๊ก 309 ยูอาร์แอล/บัญชีรายชื่อ ผ่านทวิตเตอร์ 169 ยูอาร์แอล/บัญชีรายชื่อ ผ่านยูทูบ 99 ยูอาร์แอล/บัญชีรายชื่อ และผ่านเว็บอื่นๆ 17 ยูอาร์แอล/บัญชีรายชื่อ

ทางด้านการดำเนินงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศตปค.ตร.) และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) รับข้อมูลข่าวปลอมและบิดเบือนจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม มาดำเนินการในช่วงเดือน พ.ค. – ก.ย. 64 จำนวน 419 เรื่อง ประสานให้หน่วยงานผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีแล้ว 47 คดี และมีการตักเตือนให้ ลบหรือแก้ไขข่าว จำนวน 34 ราย และอยู่ระหว่างสืบสวน 73 เรื่อง

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลฯ จะดำเนินการให้มีความเข้มข้นมากขึ้นสำหรับในปีต่อไป โดยนอกเหนือจากการปราบปรามและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมแล้ว เตรียมขยายผลให้ครอบคลุมภารกิจให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรือความเสียหาย อันเกิดจากการฉ้อโกงหรือการกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ รวมทั้งจะมีการส่งเสริมให้ความรู้กับประชาชน รณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขข่าวปลอมมากขึ้นด้วย

“ในเรื่องการขยายขอบเขตงาน กระทรวง จะเร่งดำเนินการให้ ครอบคลุมการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ มากขึ้น ทั้งในเรื่องการทำธุรกิจหลอกลอง ต้มตุ๋นประชาชน ฉัอโกงประชาชน และอื่นๆ” นายชัยวุฒิกล่าว

ทั้งนี้ ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ตลอดจนแจ้งเบาะแสการฉ้อโกงหรือหลอกลวงทางโซเชียล โดยแจ้งเข้ามาได้ที่ ไลน์ทางการของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม @antifakenewscenter หรือสายด่วนรับเรื่องร้องเรียน โทร. 1212 เพื่อจะประสานต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ในหลวง-พระราชินี" เสด็จฯพระราชพิธีสมมงคล 14 ม.ค. วัดพระเชตุพน จัดพิธีสืบพระชะตาหลวง
"ทวี" แจงกรณีเยียวยา "บอสแซม-บอสมิน" หลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง ชี้ขอให้รอคดีถึงที่สุด
"หมอล็อต" จัดทีม "Wildlife Rescue" ช่วยเหลือสัตว์ป่า เหตุไฟไหม้ "ป่าดงพญาเย็น"
แจกสุขรับวันเด็ก "แพทย์พยาบาล" รพ.จอมทอง แต่งชุดแฟนซีสร้างรอยยิ้ม มอบของขวัญให้ผู้ป่วยเด็ก
ช็อก พนง.เรือหลุดจากร่มพาราเซลลิ่ง ร่างตกน้ำทะเล เสียชีวิต จนท.เร่งสอบสาเหตุ
"ประธานกกต." แจงคืบหน้า สองคำร้องยุบเพื่อไทย ยันจะทำเร็วที่สุด
"แม่ทัพภาคที่ 2" ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ "ไฟป่าดงพญาเย็น"
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ต้อนรับศักราชใหม่ จัดพิธีทำบุญตักบาตรและเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 104 ปี ของบริษัทในกลุ่มเจียไต๋และบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
เครือซีพีประกาศแต่งตั้งผู้นำธุรกิจระดับโลกจากนอร์เวย์ “ซิกเว่ เบรกเก้” ดำรงตำแหน่ง “ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมและดิจิทัล เครือเจริญโภคภัณฑ์” มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2568
"ตร.ไซเบอร์" ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์อินเดียข้ามชาติ ใช้ไทยเป็นฐานลวงเหยื่อ รวบตัวการสำคัญคาสนามบิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น