“อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ” จับตาใกล้ชิดผลกระทบไทย “ทรัมป์” ปรับเปลี่ยนนโยบายลดโลกร้อน

"อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ" รับสหรัฐฯ ถอนตัวจากความตกลงปารีสฯ มีผลกระทบต่อเงินกองทุนภูมิอากาศสีเขียว จับตา มลรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐฯ และภาคเอกชนรายใหญ่อย่าง Google Microsoft จะเห็นด้วยหรือไม่ รวมถึงมาตรการดีดกันทางการค้าของอียูจะดำเนินการกับสินค้าของสหรัฐฯอย่างไร

เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 68 นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ท็อบนิวส์ถึงกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement) ว่า ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ถอนตัวจากความเป็นภาคีของข้อตกลงปารีส ซึ่งจะมีผลหลังจากนั้นอีก 1 ปี

“ผมมองว่ามันมีผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้เงินกองทุนภูมิอากาศสีเขียว 30 % ดังนั้นถ้าสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีส จะทำให้เงินหายไปประมาณ 3 พันกว่าล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และเงินที่สหรัฐฯ เคยให้กองทุนภาคีอื่น ที่ร่วมกับรัฐบาลอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน UN ก็คงไม่ให้เหมือนกัน เพราะว่านโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ มองว่าความตกลงปารีสไม่เป็นธรรมกับสหรัฐอเมริกา การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ก็อาจจะยากลำบากมากขึ้นในสหรัฐ ยกเว้นว่าการเดินหน้าในเรื่องนั้นทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโต และเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับสหรัฐ ส่วนตัวเชื่อว่าสหรัฐฯ จะผลักดันการทำโครงการเกี่ยวกับโซลาร์สูงสุด เพราะประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทำไว้เมื่อตอนเป็นประธานาธิบดีสมัยแรก และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงทรัมป์ 1 ไม่ได้กระโดดจากค่าที่เคยปล่อยอยู่มาก จนทำให้เราเห็นได้ชัด แต่ยังอยู่ในเทรนด์เดิมๆ โดยยังอยู่ในเทรนด์ที่ลดลง จากการปล่อยสูงสุดในปี 2005” นายพิรุณ กล่าว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายพิรุณ กล่าวว่า ประเด็นที่น่าจับตามอง คือการคานอำนาจกันของกฎหมาย ระหว่างรัฐบาลกลาง กับกฎหมายของมลรัฐ ซึ่งตอนนี้มี 20 มลรัฐที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และกฎหมายเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำกับเรื่องการลงทุนต่าง ๆ ต้องมาดูว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้หรือไม่ เพราะกฎหมายรัฐ สามารถออกได้เข้มข้นกว่ากฎหมายกลาง และปัจจุบันสหรัฐฯ ส่งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก ปี 2065 ให้กับทางยูเอ็นแล้ว โดยจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 66-67 % ถ้าเทียบกับปี 2005 ซึ่งหากสหรัฐฯ ไม่ทำคงต้องรอดูว่าจะดำเนินการอย่างไร

 

นายพิรุณ กล่าวว่า เรื่องที่สองต้องจับตาดู กลไกลทางการค้าของยุโรป กับประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย รวมถึงออสเตรเลียนั้น ไม่ได้ลดความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลง สหรัฐฯ มีสินค้าที่ต้องส่งขายให้กับอียู จะโดนมาตรการกีดกันทางการค้าเช่นเดียวกับที่ประเทศไทยโดนหรือไม่ เพราะทุกประเทศต้องได้รับการปฏิบัติ หรือถูกบังคับจากอียูด้วยมาตรฐานเดียวกัน ส่วนเรื่องที่สาม เมืองต่าง ๆ ในสหรัฐฯ กลุ่มคนที่สนับสนุนเรื่องลดโลกร้อน โดยเฉพาะภาคเอกชนรายใหญ่ อย่าง Google Microsoft ยังมีเป้าหมายลดโลกร้อนเป็นศูนย์โดยกำหนดระยะเวลาไว้ โดยเฉพาะในปี 2030-2035 ดังนั้นตนมองว่าหลายเรื่องยังเป็นปัจจัยที่ต้องจับตามอง การถอนตัวจากข้อตกลงปารีสนั้น จะทำให้การเดินหน้าของสหรัฐฯ หยุดชะงักลงจริงหรือไม่

สำหรับประเทศไทยนั้นจำเป็นต้องเดินไปข้างหน้า และต้องมีความพร้อม นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อรองรับแรงกดดันการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่จะเข้มงวดมากขึ้นในเรื่องของการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯร่วมพิธีลงนาม FTA ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาล สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน
กรมโยธาธิการและผังเมือง เน้นย้ำ “มาตรการป้องกันฝุ่น” ก่อสร้างอาคาร ร่วมเดินหน้าเร่งแก้ไข PM 2.5
“เต้” เล่านิทานคืนสยองขวัญ “คนบนฝั่ง” อำนาจล้น-สั่งปิดปากคดี “แตงโม”
ผู้นำสิงคโปร์เตือนสงครามโลกหากถูกบังคับเลือกข้าง
ทหารเกาหลีเหนือพุ่งโขกเสาหนีโดนจับ
ผู้นำสหรัฐฯจี้ปูตินจบสงครามไร้สาระหรือเจอแซงชั่น
สหรัฐฯขึ้นบัญชีฮูตีองค์กรก่อการร้ายต่างชาติ
DSI เข้าเรือนจำ แจ้งข้อหาเพิ่ม ‘บอสพอล-สามารถ’ สมคบร่วมฟอกเงิน
“นายกฯ” ไลน์ข้ามประเทศคุย “อนุทิน” สั่งแก้ฝุ่น PM2.5
เหยียบกันตายขณะแย่งรับอั่งเปาที่กัมพูชา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น