ครม.ไฟเขียว “พ.ร.ก.ปราบคอลเซ็นเตอร์” ให้ “แบงก์-ค่ายมือถือ” ร่วมรับผิดชอบความเสียหาย คาดบังคับใช้ก.พ.นี้

ครม.ไฟเขียวพ.ร.ก.ปราบคอลเซ็นเตอร์ แบงก์-ค่ายมือถือต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น คาดบังคับใช้ก.พ.นี้

ครม.ไฟเขียว “พ.ร.ก.ปราบคอลเซ็นเตอร์” ให้ “แบงก์-ค่ายมือถือ” ร่วมรับผิดชอบความเสียหาย คาดบังคับใช้ก.พ.นี้ – Top News รายงาน

ครม.

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการผประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เสนอแก้ไขพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยพระราชกำหนดฉบับนี้มีสาระสำคัญ ดังนี้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1. เพิ่มอำนาจการดำเนินการกับแพลตฟอร์มออนไลน์ P2P หรือ Peer-to-Peer Lending ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
2.เพิ่มหน้าที่ให้สำนักงาน กสทช. หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ มีหน้าที่สั่งระงับการให้บริการเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์มือถือเป็นการชั่วคราว เมื่อพบเหตุอันควรสงสัย
3. เพิ่มหน้าที่การส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีม้าของธนาคารต่างๆ ไปยัง ปปง. เพื่อตรวจสอบและคืนเงินให้กับผู้เสียหายได้รวดเร็วมากขึ้น
4. เพิ่มบทลงโทษแพลตฟอร์ม P2P รวมถึงธนาคารที่ไม่ปฏิเสธการเปิดบัญชีของคนร้าย
5. เพิ่มบทลงโทษผู้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
6. เพิ่มบทลงโทษให้สถาบันทางการเงิน เครือข่ายมือถือ สื่อสังคมออนไลน์ มีส่วนรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

ส่วนเหตุผลความเร่งด่วนตามการชี้แจง ในที่ประชุม ครม. มีดังนี้
1.รัฐบาลพบว่าประชาชนยังได้รับความเสียหายเฉลี่ยต่อวัน 60 – 70 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการดำเนินการแก้ปัญหานี้
2.พระราชกำหนดฉบับเดิม พ.ศ. 2566 ยังขาดอำนาจหน้าที่และการกำหนดโทษ หลาย ๆ ประเด็น โดยเฉพาะอำนาจการดำเนินการกับบัญชีม้าบนแพลตฟอร์ม P2P, อำนาจการคืนเงินให้กับประชาชน, และการรับผิดร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด

นายจิรายุ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงการประกาศใช้เป็นพระราชกำหนดว่า จะสามารถจัดการกระบวนการหลอกลวงที่เป็นปัญหาสังคมอยู่ในขณะนี้ได้อย่างไร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้มีความเห็นอย่างไร โดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า หาก ครม.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ย่อมสามารถพิจารณาอนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ขณะที่ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรงดีอี รายงานในที่ประชุมว่ากฎหมายฉบับนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และจะสามารถป้องกันและปราบปรามได้มากยิ่งขึ้น

จากนั้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงดิจิทัลฯ เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ไปพิจารณาปรับรูปแบบ โดยให้รับความเห็นหน่วยงานไปประกอบการพิจารณา ซึ่งเลขาธิการกฤษฎีกา ระบุจะใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน คาดว่าประกาศบังคับใช้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ศูนย์เรียนรู้หญ้าทะเล รร.วัดฉางหลาง จ.ตรัง ชวนฟื้นฟูทะเลไทยไปด้วยกัน
"จักรภพ" ชี้ "ทรัมป์" ไม่ฉลาดสร้างศัตรู ขึ้นภาษีตอบโต้การค้า เชื่อไทยมีโอกาสเจรจาแก้ปัญหา
กรมลดโลกร้อน จับมือ GISTDA และ 4 หน่วยงานภาคการเกษตร ใช้ข้อมูลดาวเทียมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
"ชัชชาติ" แถลงขอโทษ ทุ่มสุดกำลัง ไม่มีปาฏิหาริย์เจอผู้รอดชีวิต ปรับแผนใช้เครื่องจักรกลหนักรื้อซากตึก
ไม่ใช่ 10 เม.ย.แล้ว! "แพทยสภา" แจงเหตุเลื่อนเปิดผลสอบ ชั้น 14
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนยกระดับการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ก้าวสู่ยุคอัจฉริยะ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ยาต้านมะเร็งชนิดใหม่ของจีนได้รับความสนใจจากทั่วโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 'นางแบบโฮโลแกรม' ร่วมโชว์ชุดสวยบนรันเวย์จีน
ดวงถึงฆาต! "หนุ่มยืนบนรางรถไฟ" พขร.เบรกไม่ทัน-ถูกชนเสียชีวิต
"หมอวรงค์" คาใจ "นายกฯ" บอกไม่รีบ แต่เพื่อไทยเร่งสุด "ร่างกม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์" ยกอดีตไทยเปิดบ่อนเตือนสติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น