เปิดภาพ “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” เดินทางออกจากเรือนจำ หลังศาลให้ประกันตัว

เปิดภาพ "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" เดินทางออกจากเรือนจำ หลังศาลให้ประกันตัว

Top news รายงาน นางสาวกรกนก หรือแม่ตั๊ก เดินทางออกจากทัณฑสถานหญิงกลาง และ นายกานต์พล หรือป๋าเบียร์ เดินทางออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังจากที่ศาลอาญา มีคำสั่งพิจารณาประกันตัว พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามแม่ตั๊ก และป๋าเบียร์ นำข้อมูลเกี่ยวกับคดีนี้ออกสื่อสังคมออนไลน์ และทุกช่องทางการสื่อสาร ห้ามมิให้กระทำการใดๆ ที่จะเป็นอุปสรรค หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่การดำเนินคดีในศาล และเพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งคู่หลบหนี จึงให้ใส่อุปกรณ์กำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ติดตามตัว หากผิดเงื่อนไขศาลจะพิจารณาเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว พร้อมทั้งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ โดยให้นำหนังสือเดินทางประเทศที่ยังไม่หมดอายุมาวางที่ศาล โดยให้แจ้งคำสั่งกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบโดยเร็ว

 

ก่อนหน้านี้ทนายความของทั้ง 2 คน ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวชั้นพิจารณา โดยศาลอาญา มีคำสั่งว่าพิเคราะห์แล้วข้อหาที่ถูกฟ้องมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ระหว่างสอบสวนทั้ง 2 คน ถูกขังมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทั้งนำเงินมาวางศาลเพื่อบรรเทาความเสียหายเต็มตามฟ้อง ให้กับผู้เสียหายทั้ง 36 คน พฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เมื่อปรากฏว่าทั้งแม่ตั๊ก และป๋าเบียร์ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 2 ล้านบาท อีกทั้งยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด หากได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเชื่อว่าจะไม่หลบหนี จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณา

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านนายรัฐวิชญ์ อริยพัชญ์พล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงหลักการที่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งประกันว่า โดยหลักแล้วสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณา เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรคสอง รับรองสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาไว้ว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้”

 

 

 

 

 

ซึ่งหลักการนี้ก็ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 107 ที่บัญญัติรับรองไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้ต้องหา หรือจำเลยทุกคน พึงได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เว้นแต่กรณีใดที่มีข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องที่อาจกระทบต่อความปลอดภัยของสังคม หรือความต่อเนื่องของการดำเนินคดี กฎหมายจึงจะเปิดช่องให้มีการคุมขังระหว่างพิจารณาไว้อย่างจำกัด นอกจากนี้ การสั่งปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาของศาลยุติธรรมในปัจจุบันยังให้ความสำคัญกับการนำมาตรการทางเลือกมาใช้แทนการนำเงินสด หรือหลักประกันมาวางศาล เช่น มาตรการตั้งผู้กำกับดูแล หรือการนำกำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว “EM” (Electronic Monitoring) มาใช้

เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน ให้สามารถเข้าถึงสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาอย่างเท่าเทียมกัน อันเป็นมาตรการตามนโยบายของประธานศาลฎีกาที่มุ่งสร้างสมดุล และอำนวยความยุติธรรม เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และความมั่นคงปลอดภัยของสังคมไปพร้อมกัน

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" สักการะพญาศรีสัตตนาคราช-จุดเรือไฟบก ดันประเพณีไหลเรือไฟโลก อัปเดตอาการป่วยบอกดีขึ้นแล้ว
กลิ่นเหม็นเน่า "จีนเทา" เช่าโกดังเก็บไส้หมูเถื่อน ส่งขายทั่วไทย จนท.ยึดของกลางมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
รัสเซียประกาศหยุดยิง 3 วัน
"นิพนธ์" ชี้บทเรียนใหญ่ ปชป.พ่ายยับเลือกตั้งนครศรีฯ แนะกก.บห.ต้องเร่งทบทวนฟื้นพรรคเป็นที่พึ่งปชช.จริงๆ
"อดีตผกก.โคกเคียน" ร้องนายกฯ สั่งย้าย "ผบช.ภ.9-ผู้การนราธิวาส" เดือดปมบุกรุกพังประตูบ้าน
ชมสีสันงานแข่งวิ่งเทรลบน 'กำแพงเมืองจีน' ในเหอเป่ย
“ภูมิธรรม” ย้ำชัดไม่มีโพลเอาใจนาย ชี้นำกม.เอนเตอร์เทนเมนต์ฯ ลั่นทุกอย่างมีไทม์ไลน์ ทำอย่างรอบคอบ
เกาหลีใต้สั่งอพยพประชาชนหนีตายไฟป่า
สหรัฐถล่มศูนย์กักกันชาวแอฟริกาที่เยเมนดับเกือบ 70 ราย
สภาองค์กรของผู้บริโภค ร้อง "ผู้ว่าฯกทม." เร่งตรวจสอบความปลอดภัยอาคารสูง 50 เขต ภายใน 30 วัน หลัง 11 ชุมชน แจ้งเบาะแส พบบางแห่ง ทำผิดกม.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น