โดย โฆษกประธานาธิบดี มาห์มูด อับบาส และรัฐบาลปาเลสไตน์ ที่ เวสต์แบงค์ ออกแถลงการณ์ต่อต้านอย่างหนักหน่วง / ประกาศ ปฏิเสธข้อเสนอนี้ มันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง / ยืนกราน สิทธิของปาเลสไตน์ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถต่อรองได้ / ขณะที่ ชาวปาเลสไตน์ในกาซา ก็พร้อมใจกันประณามลั่น “กาซา” เป็นบ้านของพวกเขา ไม่ใช่กองขยะ ….
ด้าน ซาอุดิอาระเบีย เจ้าชาย “โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน” มกุฎราชกุมาร ประกาศทันที จะไม่สถาปนาความสัมพันธ์กับอิสราเอล ตามที่เคยรับปากกับสหรัฐไว้ก่อนหน้านี้ จนกว่าจะมีการสถาปนารัฐปาเลสไตน์ ปฏิเสธทุกข้อเสนอที่จะให้ชาวปาเลสไตน์ พลัดถิ่น และย้ำว่า จุดยืนนี้ชัดแจ้งกระจ่าง ไร้ช่องว่างสำหรับข้อสงสัยใด และไม่มีพื้นที่สำหรับเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น
ส่วน กษัตริย์จอร์แดน ก็ยืนกรานเช่นกัน ไม่เห็นด้วยกับการผนวกดินแดน และการขับไล่ชาวปาเลสไตน์
ขณะที่ อับเดล ลาติฟ อับ-คานู โฆษกฮามาส ออกแถลงการณ์ (5กพ.) ตราหน้าไอเดียของทรัมป์ ที่จะยึดฉนวนกาซามาเป็นของสหรัฐว่า เป็นความคิดที่เหยียดเชื้อชาติ รุกราน และซ้ำเติมสถานการณ์ บวกกับแนวคิดขวาสุดโต่งของอิสราเอล ที่หวังผลักดันชาวปาเลสไตน์ ออกจากมาตุภูมิ ….
เช่นเดียวกับ อิยิปต์ , กาตาร์ และตุรกี ที่ประกาศ ไม่ยอมรับข้อเสนอของทรัมป์ ที่บังคับย้ายถิ่นชาวปาเลสไตน์ / ด้าน “หลิน เจี้ยน” โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ก็แถลงข่าวคัดค้านเช่นกัน ยืนยันจุดยืนเดิมของจีน ว่า ปาเลสไตน์ จะต้องปกครองโดยปาเลสไตน์ หลังสงครามกาซาสิ้นสุด และไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องการบังคับโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ ออกจากกาซา … / ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน เอง ก็โจมตีแนวคิดของทรัมป์เช่กัน ว่า เป็น”วิสัยทัศน์ที่กล้าหาญ หรือเป็นหายนะทางภูมิรัฐศาสตร์กันแน่?”
หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นชุด ๆ จากบรรดารัฐอาหรับและผู้นำโลก … มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ก็ออกมาบอกว่า การย้ายชาวกาซา ใด ๆ นั้น จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น / ขณะที่ ทำเนียบขาว ยืนยันว่า ยังไม่มีการรับปาก จะส่งทหารอเมริกัน เข้าไปยังฉนวนแห่งนี้
รูบิโอ ชี้แจงว่า ความคิดดังกล่าว ไม่ได้มีเจตนาเป็นปรปักษ์ ให้คำจำกัดความว่า มันเป็นความเคลื่อนไหวใจกว้าง เสนอมอบการฟื้นฟู และรับหน้าที่ของการฟื้นฟู
ต่อมา คาโรไลน์ เลวิตต์ โฆษกทำเนียบขาว แถลงว่า วอชิงตัน จะไม่ออกทุนฟื้นฟูกาซา ดินแดนที่ต้องเผชิญกับสงคราม ระหว่าง อิสราเอล พันธมิตรของสหรัฐ และกลุ่มนักรบปาเลสไตน์ ฮามาส ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน / ความเกี่ยวข้องของอเมริกา ไม่ได้หมายถึง การส่งกองกำลังไปยังภาคพื้น หรือ ใช้เงินผู้เสียภาษีสหรัฐ เป็นทุนสำหรับความพยายามดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ ทรัมป์ บ่งชี้ด้วยว่า เขาอาจเดินทางเยือนกาซา ที่ดูเหมือนจะสื่อเป็นนัยว่า การฟื้นฟูพื้นที่แห่งนี้ จะไม่ใช่สำหรับชาวปาเลสไตน์ / แต่ เลวิตต์ แก้ต่างว่า “ประธานาธิบดี มีความชัดเจนมาก ๆ ต่อกรณีคาดหมายว่า บรรดาพันธมิตรของเราในภูมิภาค โดยเฉพาะ อียิปต์และจอร์แดน จะอ้าแขนรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ เป็นการชั่วคราว …. เพื่อเราจะสามารถบูรณะฟื้นฟูบ้านของพวกเขา”
คำชี้แจงของทำเนียบขาว มีขึ้นหลังจาก อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่า เป็นสิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง “รูปแบบของการล้างเผ่าพันธุ์ใด ๆ” ส่วน สเตฟาน ดูจาร์ริช โฆษกฯ อธิบายเพิ่มเติม ว่า “การบีบบังคับผู้คนโยกย้ายถิ่นฐาน เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์”