‘วิศวกรรมสถานฯ’แถลงวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ อุทกภัยปี 2564

'วิศวกรรมสถานฯ'แถลงวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ อุทุกภัยปี 2564

ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือ วสท. พร้อมด้วย นายชวลิต จันทรรัตน์ นายกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย รศ.สมิตร ส่งพิริยะกิจ ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. และนายเกษม ปิ่นทอง ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วสท. ร่วมแถลงวิเคราะห์ความเสี่ยงสถานการณ์อุทกภัยปี 2564

โดยนายธเนศ กล่าวว่า ภาพรวมสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ แม้ว่าพายุจะซาลงแล้ว แต่น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ และเขื่อนก็ยังมีมาก ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ เพราะหากปล่อยให้เกินพิกัดอาจเกิดอันตรายได้

นายชวลิต กล่าวว่า พายุเตี้ยนหมู่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่ จังหวัดอุบลราชธานี และตามแนวที่พายุวิ่งผ่านไปจนถึง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ไม่ค่อยมีฝนตก แต่พายุเตี้ยนหมู่ทำให้ จังหวัดชัยภูมิ มีฝนตกถึง 200 มิลลิเมตร ในวันเดียว และพายุดังกล่าวเคลื่อนที่เร็ว แต่หากว่าดูปริมาณน้ำแล้ว จะไหลไปไม่ถึง จังหวัดขอนแก่น

นายชวลิต กล่าวอีกว่า อยากให้เข้าใจว่าน้ำที่มานั้นมาไม่ถึงครึ่ง ถ้าเทียบกับปี 2554 ทั้งนี้ อัตราการไหลของน้ำสูงสุดในปี 2554 อยู่ที่ 4,720 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที แต่ในเชิงปริมาณ ปี 2554 มีปริมาณมากกว่า 3.5 เท่าของปีนี้ เพราะฉะนั้นอย่าไปตกใจ หากเห็นน้ำวิ่งไหลแรง ไหลเร็ว เนื่องจากตัวเนื้อน้ำจริงๆ ประมาณไม่ถึง 1 ใน 3 หรือหากดูในเชิงพื้นที่ก็ยังถือว่าน้อย ไม่ถึงครึ่งของปี 2554 ดังนั้นในทุกๆ มิติของปี 2554 ยังมากกว่าปีนี้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปีนี้น้ำจะมาน้อย แต่ก็มีพื้นที่เสี่ยงที่ต้องเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ ได้แก่ 1.จ.ชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ ตำบลโพนางดำออก และ อำเภอสรรพยา 2.จ.สิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเสือข้าม วัดสิงห์ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี 3.จ.อ่างทอง คลองโผงเผง และแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดไชโย อำเภอไชโย และ อำเภอป่าโมก 4.จ.ลพบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณ อำเภอพัฒนานิคม 5.จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล และริมแม่น้ำน้อย บริเวณ ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ และริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ และ อำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จรดแม่น้ำเจ้าพระยา 6.จ.สระบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ 7.จ.ปทุมธานี และจ.นนทบุรี พื้นที่บริเวณที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และ 8.กรุงเทพมหานคร แนวคันกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ด้าน รศ.สมิตร กล่าวว่า บริเวณที่น่าห่วงคือบริเวณน้ำท่วมซ้ำซาก ภายใต้เครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากได้ และเพียงแค่การบริหารจัดการอย่างเดียว ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือใหม่ๆ เครื่องมือดังกล่าว คือ ฟลัดเวย์ หรือการสร้างคลองรับน้ำใหม่ๆ ทำอ่างเก็บน้ำเล็กๆ เพื่อรองรับน้ำ และระบายได้เร็ว ซึ่งจะสามารถรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้มากที่สุด จึงอยากกระตุ้นให้รัฐบาลได้รับรู้ถึงเรื่องเหล่านี้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บึ้มสนั่นกลางดึก ชาร์จรถ 3 ล้อไฟฟ้า เกิดไฟฟ้าลัดวงจรลามไหม้ร้านของชำ หวิดวอดทั้งหลัง
กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย เตือนภาคใต้มีฝนตกบางแห่ง
"กรมโยธาฯ" จับมือ "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" ลงนาม MOU ช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการบริจาคโลหิต
“ไทด์” แฉลึก! ยศใหญ่โทรปิดเกม สั่งย้าย “แตงโม” เข้านิติเวช รพ.ตำรวจ
เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น