1. ยากลุ่มสแตติน (Statins) ยากลุ่มสแตตินหรือที่รู้จักกันในนาม “ยาลดคอเลสเตอรอล” จะไปยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยในการสังเคราะห์คอเรสเตอรอลในร่างกาย เมื่อคอเลสเตอรอลลดลง จะส่งผลให้ระดับไขมันที่ไม่ดีกับร่างกาย และระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลงตามไปด้วย ตัวอย่างยาที่อยู่ในกลุ่มสแตติน เช่น ยาซิมวาสแตติน , ยาโรซูวาสแตติน , ยาอะทอร์วาสแตติน , ยาพิทาวาสแตติน , ยาพราวาสแตติน และยาฟลูวาสแตติน จากการสำรวจพบว่ำหรับยาอะทอวาสแตติน ซึ่งเป็นยาที่ราคาแพงที่สุดในร้าน จะมีราคาขายส่ง กล่องละ 2,160 บาท หากนำไปขายในร้านปลีก อาจทำให้ราคานั้นปรับสูงขึ้นไปอีก 10-20%
2. ยากลุ่มเรซิน (Resins) หรือ ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (Bile acid sequestrants) ออกฤทธิ์ลดไขมันโดยการจับกับน้ำดีในทางเดินอาหาร ป้องกันการดูดซึมกลับของน้ำดีเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลกระตุ้นให้ตับดึงคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ตับมากขึ้น ระดับคอเลสเตอรอลและในกระเเสเลือดจึงลดลงได้ ตัวอย่างยาในกลุ่มเรซิน ได้แก่ ยาคอเลสไทรามีน และ ยาคอเลสติพอล
3. ยากลุ่มอิเซททิไมบ์ (Ezetimibe) ยาอิเซททิไมบ์ ออกฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ในเลือด โดยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลที่ลำไส้ ยาลดไขมันนี้ มักจะใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสแตติน ตัวอย่างยาที่มีส่วนประกอบของยาอิเซททิไมบ์
4. ยากลุ่มไนอะซิน (Niacin) หรือ กรดไนอะซิน เป็นอนุพันธุ์ของวิตามินบี 3 ในขนาดสูง ออกฤทธิ์ลดไขมันโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ตับและเนื้อเยื่อไขมัน มีผลช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ดีในเลือด
ทั้ง 4 ประเภทที่พบในร้านขายยา โดยเภสัชกร ทั้งขายส่งและปีก ต่างมีอะไหล่ยี่ห้อแตกต่างกันไปเป็นจำนวนมากมาย ราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพัน ขึ้นอยู่กับว่าเภสัชกรจะแนะนำว่า ผู้ป่วยควรกินยาประเภทใดบ้าง และผู้ป่วยต้องการยาประเภทใด
![](https://images.topnews.co.th/2025/02/messageImage_1739607546645.jpg?x-image-process=style/webp)
ทีมข่าวได้ติดต่อไปยัง นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอความรู้ในด้านการเลือกจ่ายยาให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเส้นเลือดสูงอย่างไร รวมไปถึงประเภทของยาที่ใช้จัดยาการรักษาให้กับผู้ป่วยทั้งในสิทธิ์ของบัตรทอง ราชการ และเอกชน
โดย นพ.สุรโชค เผยว่า การคัดเลือกตัวยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเส้นเลือดสูง ที่มีความเสี่ยงต่อหัวใจและสมอง รวมไปถึงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน จะใช้วิธีเจาะเลือดไปตรวจเพื่อหาค่าไขมันในเลือด และนำมาพิจารณาในการคัดเลือกยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
ส่วนตัวยาที่แพทย์ใช้ จะดูจากประเภทไขมัน คือ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ หรือ ไขมันชนิดไม่ดี โดยผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นคอเลสเตอรอล แพทย์ก็จะให้ยาประเภทรับประทานในกลุ่มยาสแตตินที่เป็นยาตัวหลักมักใช้ประเภทนี้ และหากไขมันยังไม่ลด ทางแพทย์ก็จะจ่ายยากลุ่มอิเซททิไมบ์ (Ezetimibe) มารักษาควบคู่กับยาสแตติน สุดท้ายหากมีปัญหาหลายโรคแทรกแซงเข้ามาไขมันไม่ลดมีความเสี่ยงไปถึงสมองและหัวใจ ก็จะเป็นยาชนิดฉีดซึ่งมีราคาที่แพง
ปัจจุบันสิทธิ์การรักษาของผู้ป่วยมีผลต่อการจ่ายยา หากเป็นสิทธิ์การรักษา อย่างเช่น บัตรทอง ประกันสังคม ทางแพทย์ก็จะจ่ายยาให้อยู่ในตามวงเงินการรักษา แต่ถ้าเป็นสิทธิ์การเบิกจ่ายของราชการ และเอกชนที่มีวงเงินที่สูงขึ้นไป ทางแพทย์ก็จะจ่ายยาได้หลายประเภทขึ้น ส่วนมากทางโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับรัฐ จะเป็นยาประเภทเดียวกันหรือไม่ก็ใกล้เคียง เพื่อความสะดวกของผู้ที่เข้ารับการรักษาจะได้กินถูกประเภทและรักษาได้ตรงจุด
![](https://images.topnews.co.th/2025/02/759227.jpg?x-image-process=style/webp)