“อธิบดีกรมที่ดิน” โต้แทน “มท.1” แจงที่มาสนามกอล์ฟ ปากช่อง ซื้อขายถูกต้อง แนะถ้าส.ป.ก.สงสัย ควรถามพม.ต้นเรื่อง

"อธิบดีกรมที่ดิน" โต้แทน "มท.1" แจงที่มาสนามกอล์ฟ ปากช่อง ซื้อขายถูกต้อง แนะถ้าส.ป.ก.สงสัย ควรถามพม.ต้นเรื่อง

“อธิบดีกรมที่ดิน” โต้แทน “มท.1” แจงที่มาสนามกอล์ฟ ปากช่อง ซื้อขายถูกต้อง แนะถ้าส.ป.ก.สงสัย ควรถามพม.ต้นเรื่อง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวภายหลังนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะหารือกับอธิบดีกรมที่ดินในช่วงเย็นวันที่ 14 ก.พ. ถึงกรณีปัญหาที่ดินสนามกอล์ฟ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ว่าได้มีการชี้แจงว่าที่ดินนั้นได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ได้ซื้อมือแรก เป็นการซื้อต่อชาวบ้านที่นำมาขายต่อ ซึ่งเป็นตามข้อมูลปกติ พร้อมยืนยันว่านายอนุทินไม่ได้กังวลถึงกรณีดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นเพียงการพูดคุยว่าความเข้าใจของนายอนุทินนั้นถูกต้องหรือไม่เท่านั้น

 

 

 

 

ขณะเดียวกัน อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นนิคมกว่า 1,000 แปลง ที่ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. เป็นผู้จัดสรรที่ดินให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นนิคมสร้างตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ซึ่งตามขั้นตอนแล้ว เมื่อเข้าทำประโยชน์แล้ว 5 ปี สามารถเปลี่ยนเป็นที่ นค.3 ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน สามารถเปลี่ยนเป็นที่โฉนดได้ ตามระเบียบปกติ และเมื่อชาวบ้านได้ครอบครองโฉนดตามหลักเกณฑ์คือห้ามขาย 5 ปี และเมื่อพ้นกำหนดก็สามารถทำการซื้อขายได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ดินดังกล่าวทับซ้อนกับพื้นที่ ส.ป.ก.หรือไม่ นายพรพจน์เผยว่า โฉนดทั้งหมดออกจาก พม. ดังนั้น ส.ป.ก.ต้องไปถาม พม. ไม่ใช่มาถามกรมที่ดิน เพราะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะว่าการออกโฉนดเป็นการออกจากหลักฐานของนิคมสร้างตนเองของ พม. หรือกรมประชาสงเคราะห์เก่า ส่วนจะซ้ำซ้อนหรือไม่ ส.ป.ก.ต้องไปเคลียร์กับทาง พม.เอง ไม่ใช่กรมที่ดิน

ส่วนกรณีที่ทางคณะทำงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเชิญกรมที่ดินลงพื้นที่ไปดูที่จริงด้วยนั้น นายพรพจน์กล่าวว่า ลงไปก็ไม่มีประโยชน์ มุมมองของตนต้องไปเอา พม.มาลงว่าทำไมถึงไปสร้างนิคมในพื้นที่นั้น เพราะกรมที่ดินเป็นเพียงปลายทาง และมีระเบียบกฎหมายชัดเจนว่าต้องทำอะไรอย่างไร

ขณะเดียวกัน อธิบดีกรมที่ดินยังอธิบายว่า ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ว่าจะมีการประกาศเขตพื้นที่ที่ใด หากชาวบ้านครอบครองอยู่ มีหลักฐานว่าเข้าครอบครองทำประโยชน์ เช่น สค.1 หรือไม่กระทั่งใบจอง ส.ป.ก. ก็ไม่สามารถไปห้ามการออกโฉนดได้ หากประชาชนอยู่ก่อนที่จะประกาศเขตออกเป็น พ.ร.ฎ.แนบท้ายแผนที่ปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม แต่ในทางกลับกัน พื้นที่ ส.ป.ก. หากมีชาวบ้านจำนวนมากร้องขอให้ไปสำรวจออกโฉนดที่ดิน ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งในลักษณะดังกล่าวนี้มีปัญหาอยู่ประมาณ 122 อำเภอ ที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เช็กค่าฝุ่นพิษเช้านี้ "กทม." ส่วนใหญ่สีส้ม "บางนา" หนักสุด อีก 18 จังหวัด ทั่วไทยยังน่าห่วง
“สภาองค์การนายจ้างฯ“ หารือร่วมคณะผู้บริหารระดับสูง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มุ่ง ยกระดับนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานของไทย-แรงงานข้ามชาติ สู่ มาตรฐานสากล
"ตร.ไซเบอร์" ปูพรม 4 จุด ล่าเจ้าของเว็บพนันออนไลน์ “Hydra 888” ยึดทรัพย์กว่า 35 ล้าน
"คณะผู้แทน บ.จีนฯ" หารือ "นายกฯ" ยืนยันความพร้อมขยายลุงทุนในไทย ดผลักดัน AI-เซมิคอนดักเตอร์ พลังงานทางเลือก
รวบยกแก๊ง "ตร.สอบสวนกลาง" จับพวกลักไฟหลวงขุดคริปโตฯ ทำรัฐเสียหายกว่า 50 ล้านบาท
"สสส." ร่วม we!park เตรียมจัดงาน "Active City Forum" มุ่งผลักดันกรุงเทพฯ สู่เมืองสุขภาวะ
3 นิ้วงัดมุกเดิม "ขนุน" ผู้ต้องหาคดี 112 ประกาศอดอาหารในเรือนจำ กดตัวขอประกันตัว
จีนซ้อมรบด้วยกระสุนจริงนอกชายฝั่งออสเตรเลีย
เดินหน้าสู่สากล! "ศุภชัย" เปิดเวทีสัมมนานานาชาติ "นวัตกรรมท้องถิ่น 2568" มุ่งยกระดับการบริหารจัดการเขตเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น ผลักดันการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นสู่ระดับสากล
ศาลสั่งขัง 2 เดือน แก๊งซิ่งรถประลองความเร็ว บนมอเตอร์เวย์ ชนวินาศ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น