“เซเลนสกี” ตกเป็น “แพะบูชายัญ” – เร้า “ยุโรป” ตั้งกองทัพไม่ง้อ “ทรัมป์”

"เซเลสกี" รับสภาพ "รอดยาก" หาก"สหรัฐ"ไม่หนุน เร้า"ยุโรป" ตั้ง "กองทัพ" งัดข้อ"รัสเซีย" ด้าน "นักวิเคราะห์" เชื่อ "ยุโรป" ซวย อาจหวนคุกเข่า "ปูติน" เหตุ พลังงานราคาพุ่งปรี๊ด ส่วน "จักรภพ" ฟันธง "ยูเครน" ไร้อำนาจต่อรอง - เสียดินแดน แถมยังตกเป็น "แพะบูชายัญ"

“เซเลนสกี” ตกเป็น “แพะบูชายัญ” – เร้า “ยุโรป” ตั้งกองทัพไม่ง้อ “ทรัมป์” – Top News รายงาน 

 

 

หลังจากที่ ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัล โทรัมป์ สร้างความขุ่นเคืองให้กับ ประธานาธิบดีเซเลนสกี สืบเนื่องจากที่ ทรัมป์ โทรศัพท์หา ประธานาธิบดีปูติน ก่อน โดยใช้เวลา ชั่วโมงครึ่ง แต่ตัวเขาคุยกับทรัมป์เพียง 1 ชม.เท่านั้น  เซเลนสกี วิจารณ์ว่า รัฐบาลทรัมป์ กำลังยอมอ่อนข้อแก่ ปูติน โดยที่ ยูเครน ต้องเป็นผู้ชดใช้ ก่อนการเจรจาใด ๆ เริ่มต้นขึ้น

ประธานาธิบดี เซเลนสกี แห่งยูเครน ที่ได้ให้สัมภาษณ์ รายการ มีท เดอะ เพรซ (Meet The Press) ของ NBC News เกี่ยวกับประเด็นที่ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ของสหรัฐ ต่อสายคุยกับ ประธานาธิบดี ปูติน แห่งรัสเซีย เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า … มันเป็นเรื่องยากมาก ๆ กับการอยู่รอด แต่ก็แน่นอนว่า สถานการณ์ที่ยากลำบากเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสอยู่ แต่เราจะมีโอกาสน้อยมาก ที่จะอยู่รอดได้  หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ

เซเลนสกี กล่าวต่อว่า ปูติน ต้องการเข้าร่วมโต๊ะเจรจา ไม่ใช่เพื่อยุติสงคราม  แต่ต้องการบรรลุข้อตกลงหยุดยิง เพื่อให้ยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซียในระดับโลก และให้กองทัพรัสเซีย สามารถรวมตัวกันอีกครั้ง .. นี่คือสิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ  เขาต้องการหยุดพัก เตรียมตัว ฝึกซ้อม และทำให้เกิดการยกเลิกการคว่ำบาตรบางส่วน เนื่องจากหยุดยิง  ทั้งนี้ บทสัมภาษณ์ดังกล่าว จะออกอากาศในวันที่ 16 ก.พ.  แต่เนื้อหาบางส่วน ได้รับการเปิดเผยออกมาแล้ว

อย่างไรก็ดี วานนี้ (15ก.พ.) เซเลนสกี กล่าวระหว่างขึ้นพูดในที่ประชุมความมั่นคงมิวนิค ประเทศเยอรมนี โดยได้เรียกร้องพันธมิตรยุโรป ให้จัดตั้งกองกำลังของตัวเอง หรือ “กองทัพยุโรป” เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากกองทัพรัสเซีย โดยเตือนว่า นับแต่นี้ต่อไป หากมีภัยมาถึงยุโรป  สหรัฐ ไม่น่าจะส่งความช่วยเหลือมายังยุโรปอีกแล้ว  เซเลนสกี เชื่อว่า เวลานั้นมาถึงแล้ว …

ผู้นำยูเครน ชี้ว่า เมื่อวันศุกร์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ เจดี แวนซ์ พูดชัดแล้วว่า ยุโรปจำเป็นต้องยกระดับมาตรการป้องกันภัยของตัวเอง และว่า มิตรภาพอันเก่าแก่ ระหว่างสหรัฐและยุโรป กำลังจะจบลงแล้ว  นับแต่นี้ต่อไปความสัมพันธ์ จะไม่เหมือนเดิ มและยุโรปจะต้องปรับตัวให้ได้

ก่อนหน้านี้ ผู้นำชาติยุโรปหลายคน รวมทั้งประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส ก็เคยเสนอเรื่องการจัดตั้ง “กองกำลังยุโรป” เพื่อลดการพึ่งพาสหรัฐลง

เซเลนสกี กล่าวต่อว่า เมื่อไม่กี่วันที่แล้ว ทรัมป์ บอกกับเขา เรื่องที่คุยกับ ปูติน ทางโทรศัพท์ เรื่องแผนการเจรจาสันติภาพ โดยบอกว่า จะไปเจรจากันที่ซาอุดิอาระเบีย แต่ไม่มีการพูดถึงยุโรปแม้แต่คำเดียว  ซึ่ง เซเลนสกี ประกาศลั่นว่า จะไม่มีวันยอมรับผลการเจรจาที่ไม่มียูเครนและยุโรป เข้าร่วมด้วยอย่างเด็ดขาด

ด้าน นายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์ ผู้นำเยอรมนี ยืนยันจะไม่สนับสนุนการเจรจาดังกล่าวเช่นกัน ขณะที่ นายกรัฐมนตรี โดนัลด์ ทัสก์ ของ โปแลนด์ แนะว่า ยุโรป ควรจะร่างแผนสันติภาพยูเครนกันเอง เพื่อไม่ให้ชาติอื่นมากำหนดอนาคตของยุโรป

ทั้งนี้ เซเลนสกี กล่าวหา ปูติน ว่า กำลังเล่นเกมโดดเดี่ยว สหรัฐถึงได้ต้องการเจรจาแบบสองต่อสองกับสหรัฐ และการที่ปูตินเชิญทรัมป์ไปมอสโกก็เพื่อใช้ ทรัมป์ เป็นหุ่นเชิดเท่านั้น

 

เซเลนสกี

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน “จาคส์ ซาเปียร์” นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และผู้อำนวยการวิจัย โรงเรียนสังคมศาสตร์ชั้นสูง ในกรุงปารีส แสดงความเห็นกับ สำนักข่าวทาสของรัสเซียว่า … ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสหรัฐ กำลังเปลี่ยนแปลงไป ยุโรปก็ต้องยอมรับความจริงอันเจ็บปวด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยูเครน และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ โดนัลด์ ทรัมป์  ยุโรปอาจพบว่า ตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ ซึ่งอาจทำให้ต้องหันไปขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย

ซาเปียร์ ขยายความในเรื่องนี้ว่า หลังจากตระหนักว่า การสนับสนุนยูเครนต่อไปนั้น ไร้ประโยชน์ ประเทศใหญ่ ๆ ในยุโรป เช่น เยอรมนี อิตาลี และ ฝรั่งเศส จะพบว่า ตนเองอยู่ระหว่างนโยบายการค้าของทรัมป์ กับราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น พวกเขาจะไม่สามารถต้านทานนโยบายของสหรัฐได้ หากไม่กลับไปซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซียอีก ไม่เช่นนั้น บริษัทใหญ่ๆจะออกจากยุโรป เพราะพลังงานมีราคาแพงมาก แล้วจะย้ายไปที่สหรัฐแทน

ซาเปียร์ แนะว่า ทางเลือกจะเป็น ระหว่างยอมรับภาษีของทรัมป์ และเพิกเฉยต่อภาษีเหล่านั้น … ในไม่ช้า ก็จะส่งผลให้ สหภาพยุโรป ต้องเลิกใช้แรงงานภาคอุตสาหกรรม และลดราคาพลังงานอย่างมีนัยสำคัญ แล้วพวกเขา ก็ต้องหันไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับรัสเซีย และซ่อมท่อส่งก๊าซ  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทางเลือกนี้ ถือว่า”ง่ายมาก” แต่มันจะค่อนข้างยากสำหรับจิตใจที่มองไม่เห็นถึงอุดมการณ์อีกต่อไป

 

ขณะเดียวกัน นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง สถานการณ์สงครามยูเครน ที่อาจใกล้ถึงจุดสิ้นสุด ว่า ไม่มีใครน่าเห็นใจไปกว่าประธานาธิบดี เซเลนสกี

นายจักรภพ มองว่า ยูเครน ไม่มีอำนาจต่อรองอีกต่อไป เนื่องจาก ดินแดนที่รัสเซียยึดครอง เช่น แคว้นโดเนตสก์ ลูฮันสก์ และคาบสมุทรไครเมีย (ที่ถูกยึดมาตั้งแต่ปี 2557) นั้น ไม่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนคืนได้   ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรป ซึ่งเคยสนับสนุนยูเครน ภายใต้กรอบนาโต ก็เริ่มแสดงสัญญาณหมดแรง โดยเฉพาะ เยอรมนี ที่ออกมาระบุว่า หากต้องช่วยยูเครนต่อไป อาจต้องตั้งโรงงานผลิตอาวุธเอง เนื่องจาก สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ไม่สามารถนำงบประมาณมาสนับสนุนสงครามที่ไร้หนทางชนะได้อีกต่อไป แม้แต่ โปแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของยูเครน ก็เริ่มลดระดับความเข้มแข็งในการเผชิญหน้ากับรัสเซีย

นาย จักรภพ ยังได้วิเคราะห์ถึงท่าทีของทรัมป์ ด้วยว่า หลังการประกาศนโยบาย “America First” ซึ่งหมายถึง การลดการสนับสนุนทางทหาร และการเงินแก่พันธมิตรทุกประเทศ เว้นแต่ จะเป็นผลประโยชน์โดยตรงของสหรัฐ นั้นหมายความว่า ยูเครน จะไม่ได้รับความช่วยเหลือมหาศาล จากวอชิงตันเหมือนในยุคของ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อีกต่อไป

และว่า ยูเครน แทบไม่เหลือใครให้พึ่งพา สหประชาชาติ ก็ทำหน้าที่เพียงเป็น “เสือกระดาษ” ขณะที่ นาโต ก็ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือต่อไปได้อีก ทำให้ยูเครน ต้องเริ่มพิจารณาฉากจบของตนเอง …. ซึ่งอาจหมายถึง การสูญเสียดินแดนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อรักษาส่วนที่เหลืออยู่ของประเทศ หากสงครามยุติลง ด้วยข้อตกลงที่รวมถึงการสูญเสียดินแดน  ประชาชนยูเครน อาจไม่สามารถยอมรับได้ และเซเลนสกี อาจต้องกลายเป็น “แพะบูชายัญ” ที่ต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจดังกล่าว

เมื่อสงครามยูเครนใกล้ถึงบทสรุป โลกกำลังเรียนรู้บทเรียนสำคัญ  มหาอำนาจ..เริ่มตระหนักว่าการแทรกแซงในประเทศอื่น ๆ อาจไม่คุ้มค่าหากต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงเกินไป  นายจักรภพ ได้ยกคำกล่าวของ นักวิชาการ อย่าง ศาสตราจารย์พอล เคนเนดี ที่เคยเตือนถึง “Over reach” หรือการขยายอำนาจเกินขอบเขต นั้น อาจนำไปสู่ความล่มสลายในที่สุด ….. สงครามยูเครน จึงกลายเป็นตัวอย่างของผลกระทบ จากการพึ่งพามหาอำนาจ และการแสวงหาผลประโยชน์จากความขัดแย้ง  บทเรียนจากเหตุการณ์นี้ อาจทำให้ประเทศต่าง ๆ หันกลับมามองหาความร่วมมือในระดับภูมิภาคมากขึ้น แทนที่จะพึ่งพาความช่วยเหลือจากภายนอก  และท้ายที่สุด ยูเครน อาจต้องยอมรับชะตากรรม และหาทางเดินหน้าต่อไปภายใต้เงื่อนไขที่อาจไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการตั้งแต่แรก แต่เป็นทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่เพื่อรักษาประเทศของตน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ศาลสั่งขัง 2 เดือน แก๊งซิ่งรถประลองความเร็ว บนมอเตอร์เวย์ ชนวินาศ
การเคหะแห่งชาติฉลองครบรอบ 52 ปี จัดกิจกรรมวิชาการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย พร้อมดึงสองรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ PEA และ EGAT เสริมความแข็งแกร่งด้านการบริหารจัดการพลังงานและพลังงานทดแทน
"เลขาฯรมว.มหาดไทย" รับข้อเสนอสภาการพยาบาล ร่วมมือใช้กลไก ลดการใช้ความรุนแรง-ดูแลความปลอดภัยในรพ.
‘สนธิญา’ ร้องปปง. ยึดทรัพย์‘หม่อง ชิตตู’ หวั่นมีขบวนการฟอกเงินในไทย
“วราวุธ” ประณามคนขายบุหรี่ไฟฟ้าให้เด็กเยาวชน ย้ำ พม.พร้อมทำงานกับทุกฝ่ายสร้างครอบครัวเข้มแข็ง
"อี้ แทนคุณ" ยันมีหลักฐานเด็ด เอาผิดนักร้องดังตบทรัพย์ 14 ล้านบาท
"สหพัฒน์ให้น้อง" และ "ซื่อสัตย์เพื่อชาติ" มอบรางวัลชนะเลิศ ประกวดร้องเพลงความซื่อสัตย์ ให้กับโรงเรียนวัดบางฝ้าย
รวมเรื่องที่ต้องรู้ เกี่ยวกับ Utility Green Tariff (UGT)
ปภ.ช.เตือน 23-25 ก.พ.นี้ อากาศแปรปรวนหนัก "ภาคใต้" รับมือฝนฟ้าคะนอง
เปิดเอกสาร DSI แจ้งกกต. ชี้ชัดเลือก สว.มีฮั้ว 1,200 คน ร่วมขบวนการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น