“ทอ.” ฮึ่มพม่า! ส่งบินรบปั่นประสาทชายแดน ลั่น F16 ลุยเดือดได้ใน 5 นาที
ข่าวที่น่าสนใจ
สถานการณ์ชายแดนไทยเมียนมาตอนนี้เรียกว่าต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเลยทีเดียว เพราะนอกจากก่อนหน้านี้จะมีเรื่องกองกำลังว้าแดง ที่ไม่ยอมถอนฐานทหารออกจากพื้นที่ที่มีการรุกล้ำ ไหนตอนนี้ยังจะมีเรื่องที่ถูกไทยตัดไฟ กระทั่งมีการออกมาก่อม็อบ เนื่องจากไม่พอใจ อ้างว่าได้รับความเดือดร้อน ขณะที่ราคาน้ำมันก็พุ่งพรวด เพราะทุกที่ต้องหันมาใช้เครื่องปั่นไฟเป็นหลัก ต่อมาพบว่ามีการลักลอบขนน้ำมันใส่แกลลอนจากฝั่งไทยไปด้วย ซึ่งทางทหารฝั่งบ้านเราก็ต้องนำกำลังพลออกมา ขึงพืดบริเวณชายแดน เฝ้าระวังกันแบบละสายตาไม่ได้เลยทีเดียว
ล่าสุด พลอากาศเอกพันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ หรือ ผบ.ทอ.ให้สัมภาษณ์กรณีการดูแลพื้นที่ตามแนวชายแดน หลังรัฐบาลมีโยบายการปราบปรามยาเสพติดว่า กองทัพอากาศปฏิบัติตามกฏหมายอยู่แล้ว เราแจ้งเตือนให้หน่วยบินสกัดกั้น หากเห็นว่ามีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย มีทิศทางเขามาในประเทศเรา ก็จะสั่งเครื่องบินขึ้นสกัดกั้น ตอนนี้ฝั่งตะวันตก จะใช้เครื่องบินจากกองบิน 4 ฝูงบิน 403 เครื่องบิน เอฟ-16 สามารถบินขึ้นภายใน 5 นาที ซึ่งมีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจ ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งอย่างที่ผ่านมา มีข่าวให้เห็นว่า มีการบินเข้ามาในทิศทางประเทศเราประมาณ 5 ไมล์ จึงได้สั่งให้บินสกัดกั้น และบินลาดตระเวนต่อ เพราะมองว่าอธิปไตยเหนือน่านฟ้าเป็นของเรา จึงต้องแจ้งเตือนและป้องปราม
เมื่อถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิด มาจากผลกระทบที่มีคำสั่งตัดไฟฟ้า ในพื้นที่เมียนมาหรือไม่ ผบ.ทอ. กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนจะตัดไฟฟ้าในประเทศเมียนมา อย่างไรก็ตาม ได้พูดคุยกับผู้บัญชาการทหารอากาศของเมียนมา ในเรื่องของชายแดนกันอยู่ตลอดเวลา แต่สุดท้ายเราก็คงต้องมองในเรื่องอธิปไตยของเรา คือเราคงไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวอะไรมากนัก แต่ถ้ามีอะไรที่รุกล้ำเข้ามา เราคงต้องมีการปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ของเรา
เมื่อถามถึงการลาดตระเวนในพื้นที่ของกองบิน 3 ผบ.ทอ. กล่าวว่า เรามีอุปกรณ์ยูเอวี แอร์โรสตาร์ และเพิ่งมีระบบ เอ็มโซล่าเอ็กซ์ ที่ผลิตขึ้นเอง เข้าประจำการ ก็นำขึ้นไปลาดตระเวน ถ่ายภาพ และส่งกลับมาให้กองกำลังภาคพื้น ซึ่งเราไม่ได้ปฎิบัติภารกิจเป็นครั้งแรก ที่ผ่านมาก็ประสานงานปฎิบัติภารกิจกับกองกำลังบูรพา เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเครื่องบิน Yak-130 ที่กองทัพเมียนมาส่งมาบินโฉบชายแดนไทย เป็นเครื่องบินแบบปีกกวาด และปีกข้างแบบคลาสสิก ผลิตจากโลหะผสมน้ำหนักเบา พร้อมพื้นผิวควบคุม ที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ มีเกราะป้องกันเคฟลาร์ ติดตั้งไว้ที่เครื่องยนต์ ห้องนักบิน และช่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเครื่องบิน
ปีกที่มีความสูง และกวาดในระดับปานกลาง และส่วนหางที่ติดตั้งต่ำ และเคลื่อนไหวได้ทั้งหมด ทำให้ผู้บังคับเครื่องบินสามารถเลือกมุมโจมตีที่สูงได้ สำหรับประสิทธิภาพการทำงานในสนามบินระยะสั้น เครื่องบินจึงติดตั้งแผ่นปิดขอบด้านหน้า และแฟลปแบบฟาวเลอร์ ที่ปรับได้สามตำแหน่ง
เครื่องบิน Yak 130 สามารถใช้งานได้จากรันเวย์ที่ไม่ลาดยาง และสนามบินขนาดเล็กที่ไม่ได้เตรียมไว้ เนื่องจากระบบลงจอดของเครื่องบิน ได้รับการออกแบบมาให้สามารถบินขึ้นได้สูง มีระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ ระบบความปลอดภัยในการบินเชิงรุก เสถียรภาพในการฝึก และคุณลักษณะการควบคุม
เครื่องบินฝึกรบ Yak 130 สามารถจำลองยุทธวิธีของเครื่องบินรบต่างๆ ได้ มีจุดยึดลำตัวเครื่องบิน ที่แนวแกนกลางลำหนึ่งจุด และจุดยึดปีกจำนวนหนึ่ง สำหรับระบบกันสะเทือนของน้ำหนักบรรทุกอาวุธ ได้รับการเพิ่มเป็นแปดจุด โดยมีจุดใต้ปีกหกจุด และจุดปลายปีกสองจุด ทำให้น้ำหนักบรรทุกสำหรับการรบ เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 กิโลกรัม
เครื่องบินสามารถบรรทุกอาวุธ ถังเชื้อเพลิงที่แขวนอยู่ ฝักลาดตระเวน ฝักสงครามอิเล็กทรอนิกส์หลายประเภท รวมถึงเครื่องรบกวนเรดาร์ และระบบตอบโต้อินฟราเรด
ชุดอุปกรณ์อะวิโอนิกส์ แบบสถาปัตยกรรมเปิด ที่ติดตั้งบน Yak 130 ช่วยให้สามารถผสานรวมระบบอาวุธ และขีปนาวุธนำวิถีแบบตะวันตกได้หลากหลาย
โดยอาวุธที่นำมาประกอบได้แก่ ขีปนาวุธนำวิถีด้วยเลเซอร์ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยอินฟราเรด R 73 และขีปนาวุธนำวิถีด้วยเลเซอร์อากาศสู่พื้น Kh 25 ML มีการติดตั้งแท่นนำทางไฟฟ้าออปติก ใต้ลำตัวเครื่องบิน เพื่อติดตั้งระเบิดนำวิถี
เครื่องบินลำนี้ติดตั้งปืนใหญ่ GSh 301 ขนาด 30 มม. หรือปืนใหญ่ GSh 23 แบบมีกระเปาะไว้ใต้ลำตัวเครื่องบิน นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งจรวด B 8M และ B 18 ที่ไม่มีระบบนำวิถี ระเบิดขนาด 250 กิโลกรัม และ 50 กิโลกรัม และระเบิดลูกปรายได้อีกด้วย
สำหรับเรดาร์ Yak 130 สามารถติดตามเป้าหมายที่อยู่บนอากาศได้พร้อมกัน 8 เป้าหมาย โจมตีเป้าหมายได้พร้อมกัน 4 เป้าหมายในทุกมุม และติดตามเป้าหมายภาคพื้นดินได้ 2 เป้าหมายพร้อมกัน ระยะตรวจจับเป้าหมายที่มีหน้าตัด 5 ตารางเมตร คือ 40 กิโลเมตร ในทิศทางด้านหลัง และ 85 กิโลเมตร ในทิศทางด้านหน้า ระยะการล็อกเป้าหมาย สำหรับการทำงานในโหมดติดตามอัตโนมัติ คือ 65 กิโลเมตร
ขณะนี้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เป้าหมายที่แท้จริงในการส่งเครื่องบินรบมาลาดตระเวนบริเวณชายแดน เมียนมามีวัตถุประสงค์อะไรกันแน่ แต่บอกเลยว่ากองทัพอากาศไทยก็พร้อมปล่อย F16 ไปประจัญหน้าบนน่านฟ้าเช่นเดียวกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น