เช็กค่าฝุ่น PM 2.5 เช้านี้ 10 จังหวัดพุ่งสูงสุด กทม. 12 เขต อ่วม หายใจลำบาก
ข่าวที่น่าสนใจ
17 ก.พ.2568 เว็บไซต์ GISTDA รายงานค่าฝุ่น PM 2.5 แต่ละจังหวัดของประเทศไทย ณ เวลา 06.00 น. ของวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า 10 จังหวัดที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงสุด ประกอบด้วย 1.พะเยา 78.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร / 2.แพร่ 76.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร / 3.ลำปาง 74.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร / 4.สุโขทัย 72.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร / 5.น่าน 72.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร / 6.อุตรดิตถ์ 65.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร / 7.กำแพงเพชร 63.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร / 8.พิษณุโลก 61.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร / 9.ลำพูน 60.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 10.ตาก 53.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ขณะที่ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 07:00 น. โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ 34.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
ขณะที่ 12 อันดับ ของค่าฝุ่น PM 2.5 เขตสูงสุดในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
1 เขตบางนา 48.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2 เขตหนองจอก 45.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
3 เขตบางกอกน้อย 45.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
4 เขตบึงกุ่ม 42.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
5 เขตบางพลัด 41.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
6 เขตบางซื่อ 41.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
7 เขตพญาไท 41.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
8 เขตสาทร 41 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
9 เขตบางขุนเทียน 40.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
10 เขตภาษีเจริญ 39.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
11 เขตคลองสามวา 38.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
12 เขตลาดกระบัง 38.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ส่วนภาพรวม กรุงเทพเหนือ 32.6 – 41.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
กรุงเทพตะวันออก 29.1 – 45.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
กรุงเทพกลาง 29.6 – 41.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
กรุงเทพใต้ 29 – 48.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
กรุงธนเหนือ 31.3 – 45.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนใต้ 31 – 40.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
นอกจากนี้ ยังเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สีส้ม ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น