“สภาพัฒน์” สรุปศก.ไทยปี 67 ขยายตัว 2.5% ปี 68 คงประมาณการ 2.3-3.3%

"สภาพัฒน์" สรุปศก.ไทยปี 67 ขยายตัว 2.5% ปี 68 คงประมาณการ 2.3-3.3%

“สภาพัฒน์” สรุปศก.ไทยปี 67 ขยายตัว 2.5% ปี 68 คงประมาณการ 2.3-3.3%

 

ข่าวที่น่าสนใจ

17 ก.พ.2568 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. หรือสภาพัฒน์ แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ทั้งปี 2567 และแนวโน้มปี 2568 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2566 ขยายตัว 3.2% เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ที่ 0.4%

โดยเศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2% ในปี 2566 ปัจจัยหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและการอุปโภคภาครัฐบาลขยายตัว 4.4% และ 2.5% ,การลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.8% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง 1.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 5.8% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.3% ของ GDP

 

 

 

ทั้งนี้ สภาพัฒน์ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.3-3.3 โดยค่ากลาง 2.8% คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.3% และ 3.2% ส่วนมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 3.5% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.5-1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของ GDP โดยมีปัจจัยสนับหนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชนและการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง การขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า

สำหรับรายละเอียดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 ได้แก่
1.การเตรียมการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้า โดยการเจรจาและเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ,การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม ,การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ และการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

2.การเร่งรัดการลงทุนภาคเอกชนให้กลับมาขยายตัว โดยการเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ,การเร่งรัดนักลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2565 – 2567 ให้เกิดการลงทุนจริงโดยเร็ว , การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ,การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง

3.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่ให้ต่ำกว่า 75% ของกรอบงบลงทุนรวม

4.การสร้างการรับรู้มาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพื่อให้ลูกหนีโดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ได้รับความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้และสามารถช่าระหนี้ได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ

5. การขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดแก้ไขปัญหา PM2.5)ควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐานความปลอดภัยและการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยว อาทิ สนามบิน/เที่ยวบิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" โชว์ผลตอบแทนลงทุน "ประกันสังคม" ปี 67 พุ่ง 5.34 % ฝากอนุฯกองทุนสปส.ต้องเลิกความคิดเก่าๆ
"พายุฝน" ถล่มไทรโยค น้ำป่าไหลหลากกลางดึก ท่วมบ้านเรือน 75 หลัง สะพานขาด 2 แห่ง
เพื่อนสนิท "แตงโม" ทำบุญครบรอบ 3 ปี "แป๊ะซะ" ร่ำไห้หนัก เสียเพื่อนรักที่สุดในชีวิต ไม่เคยเชื่อนั่งฉี่ท้ายเรือ
ซึงอู จบ 9 อันเดอร์คว้าแชมป์ เคพีจีเอ วินเธอร์ ที่ฟีนิกซ์ แบงค็อก
จับรายวัน "ตชด.235" จับกุม ผู้ต้องหา 2 ราย พร้อมยาบ้า 3.5 แสนเม็ด ขณะขนย้าย
 ฮอนด้า แอลพีจีเอ ไทยแลนด์ 2025 สุดคึกคัก แฟนกอล์ฟแน่นสนาม 2 วัน 19,754 คน นักกอล์ฟไทยได้ลุ้นแชมป์
"รัฐบาล" เผยข่าวดี ยูเนสโกประกาศ "ภูพระบาท" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย
"ตร.สอบสวนกลาง" รวบหนุ่มโหด แทงคอเพื่อนบ้านเจ็บสาหัส หนีกบดานชลบุรีนาน 3 ปี
เช็กค่าฝุ่นพิษเช้านี้ "กทม." ส่วนใหญ่สีส้ม "บางนา" หนักสุด อีก 18 จังหวัด ทั่วไทยยังน่าห่วง
“สภาองค์การนายจ้างฯ“ หารือร่วมคณะผู้บริหารระดับสูง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มุ่ง ยกระดับนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานของไทย-แรงงานข้ามชาติ สู่ มาตรฐานสากล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น