ผอ.รพ.แจงแล้ว ปมผู้ป่วยบัตรทอง รอคิวใส่ฟันเทียมนาน 8 ปี ชี้เข้าใจคลาดเคลื่อน สสจ.นนทบุรี เตรียมส่งตัวเข้ารักษา

ผอ.รพ.แจงแล้ว ปมผู้ป่วยบัตรทอง รอคิวใส่ฟันเทียมนาน 8 ปี ชี้เข้าใจคลาดเคลื่อน สสจ.นนทบุรี เตรียมส่งตัวเข้ารักษา

ผอ.รพ.แจงแล้ว ปมผู้ป่วยบัตรทอง รอคิวใส่ฟันเทียมนาน 8 ปี ชี้เข้าใจคลาดเคลื่อน สสจ.นนทบุรี เตรียมส่งตัวเข้ารักษา

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากกรณีผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากนายภาคิน หรือคราม อายุ 44 ปี นักแสดง ตัวประกอบชื่อดัง ว่าได้พาคุณป้าน้อง อายุ 62 ปี ไปหาหมอ แผนกทันตกรรมชั้น 2 ที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำนวนเกือบ 10 ครั้ง แต่ไม่เคยได้รับการรักษา โดยคุณป้าน้องใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค ซึ่งมีพยาบาลบอกให้รอคิวนานถึง 8 ปี

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วานนี้ (18 ก.พ. 68) ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อสอบถามความคืบหน้ากรณีดังกล่าว โดยมี ผศ.นพ.สุรสิทธิ์ ตั้งสกุลวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน และ ทันตแพทย์หญิงอารยา หรรษา หัวหน้างานทันตกรรม ฯ ได้ชี้แจงข้อมูลข้อเท็จจริงกับเรื่องที่เกิดขึ้น

ผศ.นพ.สุรสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน เผยว่า จากที่มีข่าวว่ามีผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลร้องเรียนถึงการเข้ามารับบริการ ขอชี้แจงว่า น่าจะเป็นการรับข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง โดยเฉพาะแผนกทันตกรรม ทางศูนย์ฯ มีระบบคิวให้ทุกวัน สำหรับผู้ป่วย Walk in จำนวน 12 คิว และผู้ป่วยนัดหมาย จำนวน 38 คิว ที่เหลือจะเป็นด้านเฉพาะทางของกลุ่มโรค กรณีที่มีภาวะฉุกเฉิน ผู้เข้ามารับบริการสามารถแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้ และจะมีการตรวจประเมินเบื้องต้น โดยไม่ต้องใช้ระบบคิว ถ้าจำเป็นต้องมีการรักษาต่อเนื่อง จะมีการจัดเข้าระบบคิวเหมือนคนไข้นัดหมายทั่วไป

กรณีที่บอกว่าเข้ามาจองคิวตั้งแต่ตี 2 ตนเองคิดว่า น่าจะเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะระบบคิวของโรงพยาบาลจะเปิดรับตอน 6 โมงเช้า จนกระทั่งคิวหมดและจะปิดระบบรับคิว ไม่แน่ใจว่าได้รับข้อมูลจากที่ไหน และขอชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีทำฟันปลอมแบบถอดได้ จะมีคิวรอประมาณ 2 ปีเศษ ไม่ใช่ 8 ปี ตามที่เป็นข่าว

ทางโรงพยาบาลมีหมอเฉพาะทางในด้านการทำฟันปลอมแบบถอดได้ จำนวน 2 คน ซึ่งจะสามารถทำฟันปลอมได้ประมาณ 8 คน ต่อสัปดาห์ และกว่าจะทำฟันปลอมเสร็จ คนไข้ต้องเข้ามารับการปรับแต่งและเคลียร์ช่องปากก่อน ซึ่งต้องใช้เวลารักษาอย่างต่อเนื่อง และมีนัดหมายประมาณ 5-6 ครั้ง จนกว่าจะทำฟันปลอมเสร็จ ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วจบ ทำให้บริการทำฟันปลอมจึงต้องรอคิวนาน

ตอนนี้เบื้องต้นทางโรงพยาบาลได้ประสานไปยังผู้รับบริการทั้ง 2 คน ให้เข้ามารับบริการและมีนัดหมายคิววันศุกร์ที่ 21 ก.พ. นี้ สามารถเข้ามาติดต่อกับทางโรงพยาบาลได้ ทางศูนย์ฯ จะตรวจเบื้องต้น กรณีมีภาวะฉุกเฉินก็จะทำการเคลียร์ช่องปากให้ก่อน จากนั้นจะเข้าระบบนัดหมายของโรงพยาบาล

โดยสรุป คือ ผู้รับบริการทั้ง 2 คน ยังไม่เคยได้เข้ารับบริการตามระบบของโรงพยาบาล อาจจะเข้ามาดูและไม่มีคิวจึงกลับไป แต่หากมีการแจ้งกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะมีการตรวจเบื้องต้นให้ก่อน ถ้าจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง ก็จะเข้าระบบนัดทำฟันปลอม ทุกคนที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาล มีสิทธิขั้นพื้นฐานการบริการ โดยไม่ได้แยกสิทธิ ส่วนกรณีที่ใช้สิทธิ 30 บาท และต้องรอคิวทำฟันนานถึง 8 ปี น่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

 

ด้านทันตแพทย์หญิงอารยา หัวหน้างานทันตกรรมฯ  เผยว่า จากที่คนไข้ให้สัมภาษณ์ว่ามารอคิวตั้งแต่ตี 2 ถึงเที่ยงวัน อยากแนะนำว่าระหว่างที่รอถ้าไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรแล้วจะได้คิว หรือหากเข้ามาหลายครั้งและไม่ได้คิว ขอให้เข้ามาติดต่อที่แผนกทันตกรรมโดยตรงได้เลย ไม่ต้องไปแค่ที่จุดรับคิว เพราะแผนกทันตกรรมจะได้แนะนำขั้นตอน ทางศูนย์ฯ มีทางออกอื่นอีกหลายด้าน ทั้งคลินิกนอกเวลา เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับทุกเคส ไม่ใช่เฉพาะเคสนี้ หรือเข้าระบบนัดหมาย ไม่ต้อง Walk in หรือจับบัตรคิวตลอด
ต่อมา นางวิมลรัตน์ เชาวินัย พยาบาลชำนาญการพิเศษ หัวหน้าหน่วยบริหารความเสี่ยง ฯ ได้พาผู้สื่อข่าวเดินสำรวจบริเวณแผนกทันตกรรม มีจุดรับคิวบริการ ที่ชั้น 1 โดยมีป้ายติดประกาศเปิดรับคิวเวลา 06.00 น. และปิดให้บริการเวลา 15.00 น. จำนวน 12 คิวต่อวัน ซึ่งมีจุดให้บริการแผนกทันตกรรมที่ชั้น 2 มีป้ายระบุไว้ชัดเจนถึงขั้นตอนการให้บริการต่างๆ
ซึ่งเมื่อนอกเวลาทำการแผนกทันตกรรมจะทำการปิดระบบและไม่มีเจ้าหน้าที่ให้บริการในช่วงเวลา ตี 2 ตามที่เป็นข่าว เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าทางผู้เข้ามารับบริการได้มีการสื่อสารกับใครว่าต้องรอคิวทำฟันปลอมนานถึง 8 ปี และในช่วงเวลาดังกล่าวทางแผนกทันตกรรมไม่มีพยาบาลให้บริการ

 

 

 

 

 


ขณะที่ทางด้านทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวกรณีผู้ป่วยทันตกรรม สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) เข้ารับบริการทำฟันที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.นนทบุรี และได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าต้องรอคิวบริการนานถึง 8 ปีนั้น เรื่องนี้น่าจะเกิดจากข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการบริหารจัดการคิวบริการของโรงพยาบาลดังกล่าว แต่ในส่วนของระบบบัตรทองนั้น สปสช. ยืนยันในสิทธิประโยชน์บริการทันตกรรมที่ครอบคลุมเพื่อมอบให้กับประชาชนคนไทยผู้มีสิทธิทุกคน

อย่างไรก็ดีหลังจากทราบข้อมูล ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี ได้พูดคุยกับผู้ป่วยแล้ว และได้มีประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนนทบุรี (สสจ.) โดยแนวทางเบื้องต้นจะนำผู้ป่วยเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลปากเกร็ด เนื่องจากสภาวะในช่องปากจำเป็นต้องได้รับการใส่ฟัน ขณะนี้ทาง สสจ.นนทบุรี ได้มีการประสานคิวบริการกับทาง รพ.ปากเกร็ด แล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ทพ.อรรถพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ธรรมชาติของการให้บริการทันตกรรม เป็นการรักษาที่ต้องทำหัตถการแทบทุกราย แต่ละเคสต้องใช้เวลามากน้อยขึ้นอยู่กับความยากง่าย จึงมีข้อจำกัดในการให้บริการประชาชนจำนวนมากในแต่ละวัน คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) จึงหาทางเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการรักษา โดยการเชิญชวนคลินิกทันตกรรมเอกชนมาช่วยให้บริการทันตกรรมพื้นฐาน ได้แก่ อุดฟัน ถอนฟัน ขุดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นบริการที่มีความต้องการมาก เพื่อแบ่งเบาภาระของหน่วยบริการภาครัฐ ทำให้ทันตแพทย์เฉพาะทางได้มีเวลาให้การรักษาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

ปัจจุบันมีคลินิกทันตกรรมเอกชนที่ขึ้นทะเบียนในระบบแล้วจำนวน 1,427 แห่ง ร่วมให้บริการ 30 บาทรักษาทุกที่ ที่ครอบคลุมบริการทันตกรรม 5 รายการ ดังนี้ 1. ขูดหินปูน 2. อุดฟัน 3. ถอนฟัน 4. เคลือบหลุมร่องฟัน และ 5. เคลือบฟลูออไรด์ โดยประชาชนสามารถเข้ารับบริการได้ปีละ 3 ครั้ง

ส่วนกรณีการทำฟันเทียมและรากฟันเทียมนั้น ประชาชนสามารถติดต่อรับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทองได้ที่ รพ.รัฐประจำอำเภอและ รพ.รัฐประจำจังหวัด (รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ทุกแห่ง

“หน่วยบริการนวัตกรรมคลินิกทันตกรรมนั้น ที่ผ่านมามี รพ.หลายแห่ง ได้ดึงคลินิกทันตกรรมเหล่านี้ ร่วมเป็นเครือข่ายบริการ เช่นที่ รพ.แพร่ มีคลินิกทันตกรรมเป็นเครือข่ายบริการ โดยร่วมให้บริการทันตกรรม 5 รายการข้างต้นนี้ ซึ่งทำให้ทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลสามารถใช้เวลาในการรักษาผู้ป่วยทันตกรรมที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ทั้งการใส่ฟันเทียมและรากฟันเทียม ซึ่งเป็นต้นแบบของการจัดบริการทันตกรรมเพื่อลดคิวผู้ป่วยได้” ทพ.อรรถพร กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ผจก.สาวร้านประดับยนต์" อัดคลิปจุดจบ "พ่อบ้าน" ซ่อนเงินนับหมื่นไว้ในรถ จนกลายเป็นไวรัล
ศาลฎีกาเพิกถอน "สุวรรณา" ส.ส.ภท. 10 ปี หลังโดนใบแดง สั่งเลือกตั้งใหม่ สส.บึงกาฬ เขต 2
ทรัมป์คาดผู้นำจีนจะเยือนสหรัฐโดยไม่ระบุวันเวลา
“ภูมิธรรม-หลิว จงอี้” ถึงสนามบินแม่สอดแล้ว ดูการส่งตัวคนจีนกลับ ด้านจนท.ตรวจเข้มก่อนขึ้นเครื่อง
ตร.ไซเบอร์เชิญ "เปิ้ล นาคร" นำร่องเตือนภัยออนไลน์ประชาชน
"นิพนธ์" ปลุกคนรุ่นใหม่ ใช้สิทธิ์เลือกตั้งอบจ. ย้ำสำคัญพัฒนาท้องถิ่น อย่าปล่อยทุนอิทธิพลผูกขาด
"นารา เครปกะเทย" โพสต์เศร้าถูกใส่กุญแจมือ หลังศาลตัดสินจำคุก 28 ปี 7 เดือน คดีฉ้อโกงกล่องสุ่มทอง รับสารภาพเหลือ 14 ปี
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) นักเรียนประถมจีนแปลงโฉมตามตัวละคร 'นาจา 2'
“ภูมิธรรม” แจงอีกครั้ง “ฮุน มาเนต” ไม่ได้พูดขอโทษไทย ปมปราสาทตาเมือนธม ย้ำสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ยังดีทุกระดับ
"นายกฯ" นำลุยแก้ปัญหาราคาข้าว สินค้าเกษตร "พิชัย-นฤมล" ประสานเสียงมั่นใจ มาตรการ 2 กระทรวงได้ผลแน่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น