“สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ” เตือน ASF ยังระบาดทั้งภูมิภาค ดันต้นทุนป้องกันโรคพุ่ง

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เตือนภาวะโรค ASF (African Swine Fever) ยังคงระบาดเรื้อรังในภูมิภาคเอเซียและประเทศเพื่อนบ้าน ดันต้นทุนการป้องกันโรคสูงขึ้นต่อเนื่อง ผู้เลี้ยงหมูไทยเดินหน้าป้องกันเข้มแข็งตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากลเพื่อคุณภาพเนื้อสัตว์ที่ดี ยืนยันคนไทยมีเนื้อหมูปลอดภัยบริโภคอย่างเพียงพอในราคายุติธรรม

นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า โรค ASF เป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรทั่วโลกเพราะเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในฟาร์ม ทำให้สุกรเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ยังคงแพร่ระบาดในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน เวียดนามและฟิลิปปินส์ ทั้งยังเป็นปัจจัยลบที่มีผลให้การผลิตสุกรในภูมิภาคผันผวน มีผลต่อต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยทางชีวภาพปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีการผลิตสุกรจำนวนมาก ผู้เลี้ยงสุกรจึงต้องรับภาระต้นทุนป้องกันโรคสูงขึ้นต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดได้

ทั้งนี้ ต้นทุนการป้องกันโรค ASF ที่สูงขึ้น มาจากความจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดทั้งในเรื่องของการตรวจสอบสุขภาพสุกร การกำจัดสุกรที่ติดเชื้อ การใช้วัคซีนป้องกันโรค และการเสริมสร้างความเข้มแข็งในฟาร์ม หากพบการติดเชื้อ ฟาร์มต้องมีการทำลายสุกรที่ติดเชื้อทันที และดำเนินการฆ่าเชื้อสถานที่และอุปกรณ์ทั้งหมด ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสุกรสูงขึ้น ซึ่งในบางกรณีอาจทำให้ฟาร์มบางแห่งไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และเป็นสาเหตุให้ผลผลิตขาดแคลนในบางครั้ง ทำให้ราคามีการปรับขึ้น-ลงตามกลไกตลาด (Demand-Supply) นับเป็นความท้าทายที่ผู้เลี้ยงสุกรในไทยต้องเผชิญในการผลิตเนื้อหมูอย่างยั่งยืน

Breeders pink pigs on a farm in countryside, Farm pig concept

ข่าวที่น่าสนใจ

“โรค ASF เป็นบทเรียนสำคัญของผู้เลี้ยงหมูไทย และเราไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แม้จำเป็นต้องลงทุนกับการป้องกันโรคสัตว์สูงขึ้นมากก็ตาม อีกทั้งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แม้จะปรับลงบ้างแต่ยังมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจโลก ซึ่งขณะนี้ต้นทุนการผลิตของไทยปรับขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 75-77 บาทต่อกิโลกรัม และไม่ใช่ไทยเพียงประเทศเดียวแต่ทั่วทั้งภูมิภาคต้องเผชิญกับต้นทุนป้องกันโรคไม่ต่างกัน เพื่อรับผิดชอบต่อผู้บริโภค” นายสิทธิพันธ์ กล่าว

นายสิทธิพันธ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทย ควรเร่งดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัคซีนป้องกันโรค ASF ที่มีความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้จริง ซึ่งต้องเป็นวัคซีนที่ได้การรับรองจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในอนาคตและเพิ่มความมั่นคงในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศ ช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ซึ่งหากประเทศไทยสามารถพัฒนาและนำวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมาใช้ได้ จะส่งผลดีต่อการแข่งขันของไทยในตลาดโลก สร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมสุกรทั้งในด้านการผลิตและการส่งออก

 

อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงสุกรในประเทศไทยมีมาตรการป้องกันโรค ASF ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการตรวจสอบและควบคุมการผลิตอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์สุกร การควบคุมความสะอาดในฟาร์ม ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพเนื้อหมูก่อนการจำหน่าย และยังมีระบบการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐที่เชื่อถือได้ เช่น สำนักงานปศุสัตว์ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งให้การรับรองว่าเนื้อหมูที่ผลิตในประเทศมีคุณภาพ เพื่อสร้างหลักประกันให้คนไทยมั่นใจว่าจะยังคงได้รับเนื้อหมูที่ปลอดภัยในราคายุติธรรม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“รองโฆษกรัฐบาล” ยืนยันค่าไฟไม่ได้เพิ่ม แต่ลดลงเหลือ 3.99 บ.ต่อหน่วย
โค้งสุดท้าย "พิพัฒน์" นำทีมภูมิใจไทย เคาะประตูบ้าน ชาวเมืองคอน ขอเสียงหนุน "ไสว" เป็นสส.เขต 8
ชาวเมืองน่าน เข้าพบ "นิพนธ์" อดีตรมช.มหาดไทย ผลักดันพิสูจน์สิทธิ ออกโฉนดที่ดินสำเร็จ หลังรอคอยนานกว่า 30 ปี
"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”
"กนก" โพสต์แฟนข่าว "ท็อปนิวส์" เต็มอิ่ม สนุกสุดทัวร์ย้อนประวัติศาสตร์ "ลั่วหยาง-ซีอาน"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น