“อังกฤษ”ฉุนกึก “เจดีแวนซ์”หยาม จะเอาไรกับ”ทหาร2หมื่น”ที่ไม่เคยรบมา30-40ปี

"อังกฤษ"ฉุนกึก "เจดีแวนซ์"หยาม จะเอาไรกับ"ทหาร2หมื่น"ที่ไม่เคยรบมา30-40ปี

นักการเมืองอังกฤษหลายคน ออกมากล่าวหา รองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ ของสหรัฐ ว่า พูดจา ดูแคลนทหารอังกฤษ หลังจากที่เขาให้สัมภาษณ์ ฟอกซ์นิวส์ ว่า หลักประกันความมั่นคงดีที่สุดของยูเครน คือการให้สหรัฐ เข้าไปมีส่วนได้เสียกับเศรษฐกิจของยูเครน  และนั่นเป็นหลักประกันความมั่นคงที่ดี ยิ่งกว่าทหาร 2 หมื่นนาย จากประเทศสุ่มสี่สุ่มห้า ( random country) ที่ไม่เคยทำสงครามมา 30 หรือ 40 ปีแล้ว

แต่หลังจากโดนกระแสตีกลับ แวนซ์ อ้างว่า เขาไม่ได้เอ่ยชื่ออังกฤษ หรือฝรั่งเศส และว่าทั้ง 2 ประเทศ ต่างก็เคยรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับสหรัฐมาตลอด 20 ปี และก่อนหน้านั้นอีก และพยายามอธิบายว่า มีหลายประเทศที่ให้การสนับสนุนยูแครนแบบส่วนตัวและเปิดเผย และไม่มีประสบการณ์รบ หรือสรรพอาวุธมากพอจะทำอะไรอย่างมีความหมายได้  แต่ แวนซ์ ก็ไม่ได้ระบุว่า ประเทศที่ว่า สุ่มสี่สุ่มห้านั้น หมายถึงประเทศใด / และจนถึงขณะนี้ มีเพียง 2 ประเทศ คืออังกฤษกับฝรั่งเศส เท่านั้น ที่ประกาศอย่างเปิดเผยว่า พร้อมส่งทหารเข้าไปดูแลข้อตกลงสันติภาพในยูเครนในอนาคต

ความเห็นของ แวนซ์ มีขึ้นขณะที่สหรัฐ ระงับความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนชั่วคราว หลังโต้เถียงกันดุเดือดที่ทำเนียบขาว จนทำให้การลงนามแบ่งผลประโยชน์แร่ธาตุระหว่างสหรัฐกับยูเครนยังไม่เกิดขึ้น

ส.ส. เจมส์ คาร์ทลิดจ์ รัฐมนตรีกลาโหมเงา จากพรรคอนุรักษ์นิยม กล่าวว่า อังกฤษและฝรั่งเศส ส่งทหารไปร่วมรบกับสหรัฐ ในอัฟกานิสถาน การเพิกเฉยความเสียสละของพวกเขาเหล่านั้น ถือว่าไม่เคารพกันอย่างยิ่ง / ด้าน เฮเลน แมคไกวร์ โฆษกด้านกลาโหม พรรคลิเบอรัล เดโมแครต และเคยไปร่วมภารกิจในอิรัก เรียกร้องให้ ปีเตอร์ แมนเดลสัน ทูตอังกฤษประจำสหรัฐ เรียกร้องแวนซ์ ให้ออกมาขอโทษ / โดยเธอบอกว่า เจดี แวนซ์ กำลังลบการพลีชีพของทหารอังกฤษหลายร้อยนาย ในอิรักและอัฟกานิสถาน ออกจากหน้าประวัติศาสตร์ และบอกกับบีบีซี ในเวลาต่อมาว่า ความเห็นของแวนซ์ ชัดเจนว่า พาดพิงถึงอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นการแสดงออกถึงการไม่เคารพอย่างยิ่ง

ขณะที่ ส.ส.เบน โอบีส-เจคตี้ อดีตนายทหารอังกฤษ ที่เคยไปรบในอิรักและอัฟกานิสถาน กล่าวว่า การดูหมิ่นความเสียสละของทหารอังกฤษ ของรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ ยากจะคิดเป็นอื่นไปได้ ถ้าไม่ได้กำลังพูดถึงอังกฤษและะฝรั่งเศส ต่อให้พยายามแก้ไขแล้วก็ตาม หรือไม่ก็ควรพูดให้ชัดเจนไปเลยว่า กำลังเอ่ยถึงประเทศไหน และควรขอโทษที่แสดงความเห็นไม่เหมาะสม  ขณะที่ สำนักงานนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ปฏิเสธถูกดึงลงไปร่วมแสดงความเห็นว่า แวนซ์กำลังดูหมิ่นหรือไม่  บอกแค่ว่า นายกรัฐมนตรี เคียร์ สตาร์เมอร์ ยกย่องทหารอังกฤษทุกนาย ที่รับใช้ชาติ เช่น ในอิรักและอัฟกานิสถาน

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ ผู้นำประเทศในสหภาพยุโรป เตรียมหารือกันที่ กรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม ปลายสัปดาห์นี้ โดยมีประเด็นที่รัฐบาลวอชิงตัน ระงับความช่วยเหลือด้านการทหารกับยูเครนเมื่อวันจันทร์ เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่ครอบคลุมการหารือครั้งนี้ นอกเหนือจากการหารือเรื่องแผนงบด้านกลาโหม 840,000 ล้านดอลลาร์ของอียู

เออร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการยุโรป สมัยวิสามัญ ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ ว่า “คำถาม ไม่ได้อยู่ที่ว่า ความมั่นคงของยุโรปถูกคุกคามหรือไม่ หรือยุโรปควรรับผิดชอบต่อความมั่นคงของแต่ละประเทศหรือไม่ .. แต่คำถามที่แท้จริง ที่อยู่ตรงหน้าของพวกเรา .. คือยุโรปเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการอย่างเด็ดขาดตามที่สถานการณ์กำหนดหรือไม่ และยุโรป พร้อมและสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีความมุ่งมั่นพอหรือไม่”

ถ้อยความนี้ได้สะท้อนในการประชุมฉุกเฉินหลายวาระของสหภาพยุโรปในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลถึงความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะลดบทบาทในยุโรป และสิ่งนี้ได้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของยุโรปในเรื่องการเพิ่มงบกลาโหม หลังจากรัฐบาลวอชิงตันออกมาเรียกร้องในประเด็นดังกล่าวในช่วงหลายปีนี้มานี้

แต่ประเทศสมาชิกในอียู ยังเผชิญกับความท้าทายอื่น ๆ ในช่วงที่ยุโรปมีท่าทีที่จะเสริมความแข็งแกร่งด้านการทหารใน 27 ประเทศสมาชิกมากขึ้น ทั้งประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศ มุมมองของสมาชิกอียูต่อรัสเซียที่เปลี่ยนไป และความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงจุดยืนของสหรัฐฯ ต่อพันธมิตรยุโรป ใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ส่วนทางด้าน “ฟรีดริช เมิร์ซ” หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยคริสเตียนแห่งเยอรมนี (ซีดียู) ซึ่งเป็นพันธมิตรกับพรรคสหภาพสังคมคริสเตียน (ซีเอสยู) และชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเดือนที่แล้ว กล่าวว่า ในยุคของ ประธานาธิบดี ทรัมป์ ยุโรปต้องจัดการความมั่นคงให้ดีขึ้น

ขณะที่ “ฟลอเรียน ฮาห์น” โฆษกด้านนโยบายการป้องกันประเทศ ของ กลุ่มพันธมิตร ซีดียู และ ซีเอสยู ระบุว่า การระงับการเกณฑ์ทหารของเยอรมนี ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบันอีกต่อไป

 

เมิร์ซ ให้คำมั่นว่า จะยกเลิกนโยบายหลายอย่างของ นางอังเกลา แมร์เคิล อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนี จากพรรคซีดียู รวมถึง นโยบายการย้ายถิ่นฐาน และการตัดสินใจ เมื่อปี 2554 ซึ่งระงับการเกณฑ์ทหารภาคบังคับ

เขากล่าวว่า เราต้องการกำลังพลมากขึ้นเป็นอย่างยิ่งในกองทัพเยอรมนี ซึ่งตนไม่ได้เจาะจงว่าตอนนี้ต้องมีจำนวนเท่าไหร่ แต่เราไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเลขในตอนนี้ได้ และเรายังต้องการทหารกองหนุนที่แข็งแกร่งมากกว่านี้ด้วย

สำกรับการเกณฑ์ทหาร เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานในเยอรมนี แต่การสนับสนุนให้ใช้โมเดลการรับราชการทหารบางรูปแบบ ก็เพิ่มขึ้นในพรรคการเมืองทุกพรรค โดยในที่นี้รวมถึง นายบอริส พิสโตริอุส รมว.กลาโหมเยอรมนี จากพรรคสังคมประชาธิปไตย (เอสพีดี) ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ผลักดันแนวคิดการเสริมกำลังกองทัพ แม้จะไม่มีการเกณฑ์ทหารก็ตาม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“DITP" ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ยกทัพบุก 5 จังหวัดชายแดนใต้ ปั้นนักรบการค้า "ฮาลาล" สู่ตลาดโลก
กู้ภัยพบเพิ่มอีก 1 ศพ เร่งนำร่างออกจากตึกสตง. "รองผู้ว่าฯกทม." ย้ำจากนี้ต้องรอนิติเวช ยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิต ป้องกันเกิดความสับสน
เอาแล้ว “อ.ไชยันต์” ถือฤกษ์วันจักรี ประกาศสมัครเป็นตุลาการศาลรธน.
แผ่นดินไหวเขย่า “พม่า” 4.0 ดับสะสม 3,471 กลิ่นศxคลุ้ง-เตาเผาใกล้แตก
ยูเอ็นเตือนฝนเป็นอุปสรรคกู้ภัยแผ่นดินไหวเมียนมา
ทรัมป์บอกชาวอเมริกันอดทนไว้ปมภาษีตอบโต้
"ทรัมป์" เล่นใหญ่ แจ้งพลเมืองอเมริกัน อดทน ปฏิบัติการขึ้นภาษีตอบโต้การค้า โวสหรัฐจะเป็นผู้ชนะ
“ทรัมป์” กระอักเลือด! “จีน” ประกาศงัดข้อ ขึ้นภาษี 34% แบน 11 บริษัทมะกัน
“ภูมิใจไทย” จัดงานก้าวสู่ปีที่ 17 ปี พร้อมเปลี่ยนโลโก้เป็น “พรรคสีน้ำเงิน” ตัวจริง เดินหน้าการเมือง สันติ สามัคคี เทิดทูนสถาบัน
เกษตรกร ค้านแนวคิดนำเข้าเนื้อหมูสหรัฐ เสี่ยงกระทบวงจรเลี้ยงหมูพังทั้งประเทศ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น