บอร์ด กคพ. มีมติเสียงข้างมาก รับปมฟอกเงินเป็นคดีพิเศษ

“ภูมิธรรม” นั่งหัวโต๊ะ ถก กคพ. ปม ฮั้วเลือก สว. เป็นคดีพิเศษ เปิดให้อนุกรรมการฯ รายงานที่ประชุม ขณะที่กรรมการฝั่งตำรวจ 3 คนขาดประชุม “ปลัดคลัง-มท.” ส่งตัวแทนร่วม

บอร์ด กคพ. มีมติเสียงข้างมาก รับปมฟอกเงินเป็นคดีพิเศษ – Top News รายงาน

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น.ที่กระทรวงยุติธรรม มีการประชุมคณะกรรมการพิเศษ หรือ กคพ.ครั้งที่ 3/2568 เพื่อพิจารณาคดีฮั้วเลือกตั้ง สว.เป็นคดีพิเศษหรือไม่ โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธาน กคพ.เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งเมื่อนายภูมิธรรมเดินทางมาถึง ได้บอกกับสื่อมวลชนสั้นๆ ต้องรอฟังมติที่ประชุมก่อน หลังจากประชุมจะออกมาแถลงข่าวแน่นอน ขณะที่บรรยากาศได้มีกลุ่ม อดีต ผู้สมัคร สว.และ สว.สำรอง ราว 50 คน ได้มารวมตัวแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ชูป้ายมีข้อความให้กำลังใจกรมสอบสวนคดีพิเศษหรนือดีเอสไอ พร้อมแจกแถลงการณ์ที่เนื้อหาระบุว่าอยากให้คณะกรรมการคดีพิเศษรับกรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ประจำกระทรวงยุติธรรมได้เข้ามาพูดคุยเจรจา เพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมแสดงออกด้วยความสงบ

 

จากนั้นเวลา 09.20 น. นายภูมิธรรม ในฐานะประธาน กคพ. กล่าวก่อนเริ่มการประชุมพิจารณาคดีฮั้ว เลือก สว.ว่า วันนี้ เป็นการพิจารณาในวาระที่เราเคยพิจารณากันในครั้งที่แล้ว และยังมีประเด็นที่ค้างจึงส่งกลับไปให้คณะอนุกรรมการพิจารณา และวันนี้จะมารายงานให้ที่ประชุมได้ทราบ ซึ่งมีประเด็นที่เราต้องดำเนินการต่อที่ยังไม่จบให้มีข้อยุติ ซึ่งขณะนี้ประเด็นต่างๆ ได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนแล้ว ก็อยากจะให้มารายงานต่อที่ประชุมและดำเนินการไปตามขั้นตอนต่อไป

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่พันตำรวจตรียุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอส ได้รายงานว่ามีองค์ประชุมทั้งหมด 19 คน ซึ่งคณะกรรมการฝั่งตำรวจ 3 คน ไม่มา โดยพลตำรวจเอกกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ส่งตัวแทนมาร่วมประชุม แต่ยังไม่ได้อยู่ในห้องนี้ พลตำรวจเอกสุทิน ทรัพย์พ่วง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการสอบสวนคดีอาญา และพลตำรวจโทสำราญ นวลมา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินก็ไม่ได้ร่วมประชุม

 

สำหรับรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ ครั้งที่ 3/2568 สัดส่วนกรรมการโดยตำแหน่ง 12 ราย นอกจากนายภูมิธรรมที่เข้าประชุมเองแล้ว ยังมีพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ,นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม ,พลเอกพิสิษฐ์ นพเมือง เจ้ากรมพระธรรมนูญ ,นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ส่วนปลัดกระทรวงการคลัง-ปลัดกระทรวงมหาดไทย-ปลัดกระทรวงพาณิชย์-อัยการสูงสุด-เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา-ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ขณะที่พลตำรวจเอกกิตติ์รัฐส่งพลตำรวจโทอภิชาติ สุริบุญญา ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี เป็นตัวแทนมาร่วมประชุม แต่พลตำรวจโทอภิชาตไม่ได้เข้าร่วมประชุม

ด้านกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน มีผู้ที่เข้าร่วมประชุมเอง ได้แก่ นายเพ็ชร ชินบุตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ ,นางดวงตา ตันโช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ , นายชาติพงษ์ จีระพันธุ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ,นายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ,นางทัชมัย ฤกษะสุต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ,พลตำรวจเอกมนู เมฆหมอก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ,นายณปกรณ์ ธนสุวรรณเกษม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการธนาคาร โดยขาดประชุม 2 ราย ได้แก่ พลตำรวจเอกสุทิน และพลตำรวจโทสำราญ

 

ขณะที่ผู้แทน กกต.ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เนื่องจาก นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ได้มีหนังสือชี้แจงถึงอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัย ตีความข้อกฎหมาย พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 มาตรา 49 อีกทั้งการไม่ส่งผู้แทน กกต.มาร่วมประชุมบอร์ด กคพ.เนื่องจากเห็นว่าสำนักงาน กกต.ได้แนวทางคำตอบที่ชัดเจนตามคำถามของดีเอสไอแล้ว ดังนั้นการส่งผู้แทนไปร่วมประชุมและตอบคำถามอาจเป็นการให้คำตอบที่ไม่สมบูรณ์ และไม่ครบถ้วนถูกต้อง  ทั้งนี้หากจะรับคดีฮั้ว สว.เป็นคดีพิเศษ ต้องใช้เสียงกรรมการ 2 ใน 3 หรือ 15 คนจาก 22 คน

 

ล่าสุด นายภูมิธรรม แถลงว่า ที่ประชุม กคพ. มีมติเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของที่ประชุมให้เป็นคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 21 (1) จำนวน 11 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง จากองค์ประชุม 18 เสียง เนื่องจากเป็นการกระทำความผิดสมคบกันเป็นอั้งยี่ และตามพ.ร.บ.การฟอกเงิน

ทั้งนี้ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ มาตรา 21 (1) อยู่ในหมวด 3 การสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ บัญญัติว่า คดีพิเศษที่จะต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามพ.ร.บ.นี้ ได้แก่คดีความผิดทางอาญา

(1) คดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพ.ร.บ.นี้ และที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของ กคพ. โดยคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายดังกล่าว จะต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(ก) คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวน สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ

(ข) คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ

(ค) คดีความผิดทางอาญาที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม

(ง) คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน

(จ) คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้สงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่า น่าจะได้กระทำความผิดอาญาหรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทรัมป์เตรียมประกาศภาษีนำเข้ายาครั้งใหญ่
"จตุพร" ชี้ถ้านายกฯดันกม.เอนเตอร์เทนเมนต์ฯต่อ พรรคร่วมแตกแยกใหญ่แน่
กยศ. แจงปมดราม่า สาเหตุเพิ่มจำนวนหักเงินเดือนบัญชีละ 3,000 บาท พร้อมเผยวิธีแก้ไข
"สุริยะ" ดีเดย์รถไฟฟ้า 20 บาท ก.ย.นี้ ใช้งบฯรัฐอุดหนุน 8 พันล้านบาทต่อปี
“สุริยะ” แจงปมตั๋วเครื่องบินแพงเกินจริง เหตุระบบขัดข้อง ลั่นหากพบราคาไม่เป็นธรรม ส่งร้องเรียนคมนาคมได้ทันที
"ชูศักดิ์" ชี้เป็นสิทธิ์ "ไชยชนก" ค้านกาสิโน ยันรัฐบาลชอบธรรมดันร่างกม.เอนเตอร์เทนเมนต์ฯเสริมท่องเที่ยว
“เขมร” รอดแผ่นดินไหว? ว่างจัด-โม้สรรพคุณจรวด 300 มม. ยิงไกล 130 กม.
"อธิบดี DSI" แจงสาเหตุเอกสาร "บริษัทไชน่า เรลเวย์ฯ" ตามยาก ลั่นหากพบผิดเจอหมายเรียก-หมายจับ
"นายกฯ" ยันเดินหน้า "เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์" พร้อมเคลียร์พรรคร่วมฯ-ปชช. ลั่นถูกบิดเบือนเป็นกาสิโน
"ศาลรธน." ลงมติเอกฉันท์ ตีตกคำร้อง "ณฐพร" วินิจฉัยกกต.ทำผิดปล่อยฮั้วเลือกสว.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น