จากกรณีการเสียชีวิตของ พันตำรวจเอกธิติสรรค์ อุทธนผล “อดีตผู้กำกับโจ้” ที่พบผูกคอเสียชีวิตภายในห้องขังเรือนจำคลองเปรม เมื่อคืนของวันที่ 7 มีนาคม 2568
ล่าสุดวันที่ 8 มีนาคม 2568 มีการเผยแพร่เอกสารหนังสือร้องเรียน ที่เขียนโดย นางสาวจันทร อุทธนผล แม่ของอดีตผู้กำกับโจ้ส่งถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เนื้อความในจดหมายระบุว่า
คำร้องเรียน
จัดทำคำร้องเรียนฉบับนี้ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.ศ.2568
เรื่อง : การกลั่นแกล้งและการใช้ความรุนแรงแรงโดยเจ้าหน้าที่ควบคุม
เรียน : อธิบดีกรมราชทัณฑ์
ข้าพเจ้า: นางสาวจันทา อุทธนผล เกี่ยวข้องเป็นมารคารคา ของนายธิติสรรค์ อุทธนผล
ด้วยข้าพเจ้าใคร่ขอร้องเรียนพฤติกรรมไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ควบคุม….. ซึ่งมีการกระทำอันส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัย และสิทธิขั้นพื้นฐานของนักโทษนายธิติสรรค์ อุทธนผล อย่างร้ายแรง เพื่อให้การชี้แจงเหตุการณ์มีความชัดเจน ข้าพเจ้าขอแยกพฤติการณ์ออกเป็นสองช่วงเวลาดังต่อไปนี้
เจ้าหน้าที่ควบคุม : …….
ตำแหน่ง : รองหัวหน้าแดน 1
ปฏิบัติหน้าที่ ณ เรือนจำกลางหลองเปรม….. ….. ….. ….
นักโทษที่แกลัง : นาย …….
ผู้ถูกรังแก : นายธิติสรรค์ อุทธนผล
1.เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปลายปี2567 (ประมาณเดือนตุลาคม – ธันวาคม)
เหตุการณ์เริ่มต้นจากนักโทษ …. ได้พูดใส่ร้าย นายธิติสรรค์ อุทธนผล กับเจ้าหน้าที่ควบคุมหลายคน ทำให้ผู้คุมหลายคนมีทัศนคติที่ไม่ดีกับนายธิติสรรค์ อุทธนผล และต่อว่า นายธิติสรรค์ อุทธนผล ตัวอย่างเช่น บอกกับผู้คุมท่านหนึ่งว่านายธิติสรรค์ อุทธนผลเรียกเขาว่า “นายนอกแดน” โดยคำพูดดังกล่าวหมายถึงการพูดจาดูถูกและลดคุณค่าในตัวผู้คุมท่านนั้น นอกจากนี้นาย …… ยังขู่จะทำร้ายร่างกายนายธิติสรรค์ อุทธนผล หลายครั้ง โดยนายธิติสรรค์ อุทธนผลคาดว่าสาเหตุที่นาย…. ไม่พอใจน่าจะมาจากที่นายธิติสรรค์ อุทธนผลเคยขอร้องให้นาย …… สูบบุหรี่ไกลจากพื้นที่ห้องนอนของตน เนื่องจากควันบุหรี่ส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจของตน อย่างไรก็ตามการขอร้องดังกล่าวดำเนิกไปอย่างสุภาพ โดยมีเจ้าหน้าที่ควบคุมที่อยู่ในเหตุการณ์เป็นพยาน
หลังจากขอร้องเรื่อบุหรี่นั้น นาย …. ได้กล่าวหาและหาเรื่องนายธิติสรรค์ อุทธนผลหลายครั้งรวมถึงยุยงให้ผู้อื่นไม่ชอบผลจากคำกล่าวร้ายของนาย…. ทำให้เจ้าหน้าที่ควบคุม นาย……. เริ่มแสดงพฤติกรรมกลั่นแกล้ง นายธิติสรรค์ อุทธนผล ดังนี้
– ด่าว่านายธิติสรรค์ อุทธนผลด้วยถ้อยคำที่รุนแรง (โดยหลายครั้งจะเรียกเข้าไปห้องส่วนตัว)
– รื้อค้นสิ่งของส่วนตัวของนายธิติสรรค์ อุทธนผล ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น รื้อเอกสารสำคัญทางคดี ทำให้เปียกน้ำและเสียหายทำให้เอกสารนั้นไม่สามารถใช้การได้
– พยายามที่จะตั้งเรื่องเอาผิดและด่าทอนายธิติสรรค์ อุทธนผล อย่างรุนแรงที่เขาซ่อมพัดลม แต่ข้อเท็จจริงคือผู้คุมท่านหนึ่งเป็นคนนำพัดลมมาให้นายธิติสรรค์ อุทธนผลซ่อม เนื่องจากว่าพัดลมมันเสีย นายธิติสรรค์ อุทธนผลจึงช่วยซ่อม