“ดร.สามารถ” ห่วงหนัก ทางยกระดับ พระราม 2 เกิดเหตุซ้ำซาก จี้ตรวจสอบวิศวกร รับผิดชอบก่อสร้างมีใบอนุญาตหรือไม่

"ดร.สามารถ" ห่วงหนัก ทางยกระดับ พระราม 2 เกิดเหตุซ้ำซาก จี้ตรวจสอบวิศวกร รับผิดชอบก่อสร้างมีใบอนุญาตหรือไม่

วันที่ 17 มีนาคม2568 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ
พระราม 2 ถล่มซ้ำซาก วิศวกรมี “ใบประกอบวิชาชีพ” หรือไม่?

เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ซึ่งเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นของกรมทางหลวง (ทล.) ล้วนเป็นวิศวกรกันทั้งนั้น เริ่มตั้งแต่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง ไปจนถึงวิศวกรที่ปรึกษาของ กทพ. ซึ่งมีหน้าที่บริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง นายช่างคุมงานของ ทล. และผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งต้องมีวิศวกรเช่นเดียวกัน
ในกรณีของ กทพ.ที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นใกล้ด่านทางด่วนดาวคะนองตอนเช้ามืดของวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2568 นั้น มีคนในแวดวงเดียวกันเป็นประธานกรรมการ กทพ. นั่นคือ นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง นั่นเอง

ข่าวที่น่าสนใจ

คนในวิชาชีพเดียวกันคือวิชาชีพวิศวกรรมทำงานร่วมกัน น่าจะได้ผลงานที่ดี มีคุณภาพ เสร็จทันตามกำหนดเวลา ไม่มีอุบัติเหตุร้ายแรง แต่กรณีการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 กลับไม่เป็นเช่นนั้น มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นบ่อย งานล่าช้า ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีก็คือสภาวิศวกร ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของวิศวกร เช่น ตรวจสอบการปฏิบัติงานของวิศวกรให้เป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรฐานที่กำหนด และออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ต้องการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม เป็นต้น
วิศวกรทุกคนที่มาร่วมงานในโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ กว.) จากสภาวิศวกร หากใครไม่มีก็ถือว่าเป็น “วิศวกรเถื่อน”
เมื่อการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย งานล่าช้า จึงถึงเวลาแล้วที่สภาวิศวกรจะต้องตรวจสอบวิศวกรทุกคนที่ร่วมงานออกแบบ ก่อสร้าง และควบคุมงานโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 ว่ามี “ใบ กว.” หรือไม่?
หากตรวจสอบแล้วพบว่ามี “วิศวกรเถื่อน” ร่วมทำงาน สภาวิศวกรจะต้องพิจารณาลงโทษวิศวกรผู้นั้น ร่วมทั้งหน่วยงานที่วิศวกรผู้นั้นสังกัดตามบทลงโทษที่กำหนดไว้ใน พรบ.วิศวกร พ.ศ.2542 ส่วนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะลงโทษวิศวกรและหน่วยงานต้นสังกัด วสท.เป็นสมาคมวิชาชีพมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรม
ผู้สนใจสามารถร่วมตรวจสอบได้ว่าวิศวกรที่ร่วมงานออกแบบ ก่อสร้างและควบคุมงานโครงการดังกล่าวมี “ใบ กว.” หรือไม่? โดยเข้าไปที่ www.coe.or.th เลือก “ตรวจสอบใบอนุญาต” แล้วป้อนชื่อวิศวกรที่ต้องการตรวจสอบ ก็จะรู้ว่าใครเป็นวิศวกรจริง ใครเป็น “วิศวกรเถื่อน”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พีช บีเอ็ม" ยกมือไหว้พร้อมคุกเข่า ขอโทษครอบครัวผู้เสียหายต่อหน้าสื่อ
ด่วน "ดีเอสไอ" บุกรวบ "ชวนหลิง จาง" กรรมการ "ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10" หลังโดนหมายจับ พร้อมก๊วนคนไทย
รัฐบาลทรัมป์เผลอส่งอีเมล์กดดันฮาร์วาร์ด
รัฐบาลสหรัฐฯศึกษาหาทางปลดประธานเฟด
"พีช บีเอ็ม" หอบพวงมาลัย รอขอโทษ "ญาติลุงกระบะ" "นายกเบี้ยว"ตะโกนใส่สื่ออย่ามาเบียด
"ตร.ปอศ." รวบหนุ่มหื่น ลวงเด็ก 14 ผ่านเฟซบุ๊กทำอนาจาร หนีความผิดกบดานประเทศเมียนมา
ผบก.ภ.ปทุมฯ ยันแจ้ง 4 ข้อกล่าวหา "พีช บีเอ็ม" แค่เบื้องต้น เร่งสอบสภาพรถ คำให้การลุงป้า นำพิสูจน์ฟ้องผิด
นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ เจ้าของฉายา "สิงห์สนามศุภฯ" เสียชีวิตแล้วในวัย 77 ปี
"กองทัพบก" เสียใจ สูญเสีย "พ.อ.พิฆราช" นายทหารจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกู้ภัยเหตุตึกสตง.ถล่ม ตั้งแต่ 28 มี.ค.จนนาทีสุดท้าย ไม่เคยหยุดภารกิจ
อย่าหลงเชื่อ "คลิปวัดร่องขุ่นถล่ม" ว่อนโซเชียลฯ "อ.เฉลิมชัย" ลั่น AI มันร้าย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น