“สุดาวรรณ” เผยบอร์ดอนุฯ ไฟเขียวดัน “พระปรางค์ วัดอรุณฯ” ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

"สุดาวรรณ" เผยบอร์ดอนุฯ ไฟเขียวดัน "พระปรางค์ วัดอรุณฯ" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

วันที่ 19 มี.ค.68 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้ทรงคุณวุฒิและอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ที่ศูนย์ประชุม ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

 

นางสาวสุดาวรรณ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาในวาระต่างๆ ดังนี้ การนำเสนอพระปรางค์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เพื่อขอบรรจุเข้าสู่บัญชีชั่วคราว (Tentative List) ในชื่อ “พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม อัตลักษณ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (Phra Prang of Wat Arun Ratchawararam : The Masterpiece of Krung Rattanakosin)” ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมในพุทธศาสนาประเภทพระปรางค์ที่มีความโดดเด่นที่สุด เป็นอัตลักษณ์หนึ่งเดียวของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย คุณสมบัติที่เลือกนำเสนอตรงตามเกณฑ์มรดกโลกข้อที่ 1 และข้อที่ 2 คือ เป็นผลงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมชิ้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระปรางค์ในศิลปะอยุธยา และพัฒนามาเป็นลักษณะเฉพาะของพระปรางค์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยขั้นตอนการนำเสนอแหล่งมรดก เพื่อขอบรรจุรายชื่อในบัญชีชั่วคราว หลังจากนี้ต้องเสนอให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบก่อนนำเสนอเอกสารไปยังศูนย์มรดกโลกเพื่อให้รับรองบรรจุรายชื่อในบัญชีเบื้องต้น ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ช่วงเดือนมิถุนายน 2568 นี้

 

Wat Arun big landmark in Bangkok City, Thailand

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมได้พิจารณากำหนดกรอบเวลาการนำส่งเอกสารขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฉบับสมบูรณ์ (Nomination Dossier) ของแหล่งมรดกวัฒนธรรมในบัญชีชั่วคราว เนื่องจากการส่งเอกสารฯ (Nomination Dossier) รอบวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2569 จะเป็นปีสุดท้าย ก่อนปรับเปลี่ยนเป็นระบบใหม่ที่ต้องมีการประเมินขั้นต้น (Preliminary Assessment) ประกอบกับข้อกำหนดที่ให้รัฐภาคีสามารถนำเสนอแหล่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกได้เพียงปีละ 1 แหล่ง และจำกัดจำนวนแหล่งที่บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อพิจารณาการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกปีละไม่เกิน 33 แหล่ง คณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรมจึงพิจารณากำหนดกรอบเวลาในการนำส่งเอกสารฯ ของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่จะเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาภายในประเทศอย่างเป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกวัฒนธรรมในบัญชีชั่วคราว 4 แหล่ง ได้แก่ 1.กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด 2.อนุสรณ์สถานแหล่งต่างๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนา 3.พระธาตุพนม กลุ่มสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้อง และ 4.สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา

 

 

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า นอกจากนี้ฝ่ายเลขาฯ ได้รายงานต่อที่ประชุมให้รับทราบ 2 เรื่อง ดังนี้ 1.การส่งเอกสารขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฉบับสมบูรณ์ของแหล่งวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปยังศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส รอบวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ความคืบหน้าปัจจุบันศูนย์มรดกโลกได้ส่งสำเนาเอกสารฯ ดังกล่าวไปยังสภาการโบราณสถานสากล (ICOMOS) องค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งเป็นขั้นตอนกระบวนการตรวจประเมินแหล่งที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยศูนย์มรดกโลกแจ้งให้ประเทศไทยเตรียมความพร้อมสำหรับลงพื้นที่ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจประเมินศักยภาพและการบริหารจัดการแหล่งและอาจมีการขอข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2569

 

2.ภารกิจการลงพื้นที่ของผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำกรณีการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงสถานีอยุธยา เมื่อเดือนมกราคม 2568 โดยได้ประชุมรับฟังข้อมูลร่วมกับทุกภาคส่วน ซึ่งข้อแนะนำเบื้องต้นของผู้เชี่ยวชาญเสนอให้ปรับปรุงรูปแบบโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ปรับลดขนาดและความสูงสถานีรถไฟความเร็วสูงและสันรางลง พร้อมทั้งเลื่อนตำแหน่งที่ตั้งอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูงให้มีระยะห่างจากสถานีรถไฟอยุธยาที่เป็นโบราณสถานมากขึ้น นอกจากนี้ผลักดันแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่ถูกจัดเป็นแผนระดับ 3 ให้เป็นที่รับรู้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ซึ่งกรมศิลปากร จะประสานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำเสนอต่อ ครม. และกรมศิลปากรยังได้ประชุมหารือกับกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อปรับปรุงผังเมืองรวมพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของเกาะเมืองหรืออโยธยา ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงสถานีอยุธยาให้เป็นพื้นที่การอนุรักษ์โบราณสถานและปกป้องรักษาคุณค่าโดดเด่นระดับสากล (OUV) แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สงกรานต์โคราชคึกคัก "มาดามหน่อย" นำทัพ วันไหลเสิงสาง สงกรานต์สาดสุข
ปิดฉากแข่งวอลเลย์บอลชายหาด "Est Cola AVC Beach Tour 24th Samila Open 2025" สมิหลา "ผู้ว่าฯสงขลา" ย้ำเดินหน้ายกระดับลุยซีเกมส์ปลายปี
"พฐก.-นิติเวช" เผยความคืบหน้าพิสูจน์ DNA ผู้เสียชีวิต เหตุตึก สตง.ถล่ม ยืนยันตัวตนได้แล้ว 33 ราย
ปธน.สีจิ้นผิงถึงกัมพูชา-พบฮุนเซนช่วงบ่าย
"บิ๊กต่าย" ฮึ่มใส่ลูกชาย"นายกเบี้ยว" อยู่ในสังคมยาก พฤติกรรมน่ารังเกียจ ขับรถไล่เบียดชนลุงป้าเจ็บ
"นายกฯ" ถึงร้องโอ้ว โซเชียลแชร์ภาพคู่ ลูกชาย "นายกเบี้ยว"
สัมพันธ์จีน-กัมพูชาแข็งแกร่ง หนุนกัมพูชารักษาเอกราชเชิงยุทธศาสตร์
จีน-มาเลเซียมุ่งมั่นสนับสนุน 'อาเซียน'
"นายกเบี้ยว" รุดเยี่ยม 2 ลุงป้า แจงติดต่อลูกชายไม่ได้ ปกติเป็นคนขับรถดีมาก
จีนเมิน 'เกมภาษี' ของสหรัฐฯ ชี้ไร้ค่า-พร้อมตอบโต้เด็ดขาด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น