“รบ.” เตือน อันตรายจากวัณโรค พบเสียชีวิตกว่า 1.3 หมื่นราย

“รบ.” เตือน ระวังอันตรายจากวัณโรค ปี 67 พบผู้ป่วยรายใหม่พุ่งสูงกว่า 113,000 ราย เสียชีวิตกว่า 13,000 ราย รัฐบาลตั้งเป้าลดอัตราการตายจากวัณโรค ลงร้อยละ 95 และลดผู้ป่วยรายใหม่ลงให้ได้ถึงร้อยละ 90

“รบ.” เตือน อันตรายจากวัณโรค พบเสียชีวิตกว่า 1.3 หมื่นราย – Top News รายงาน

อันตรายจากวัณโรค

 

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ที่ทำเนียบ นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก และองค์กรเครือข่ายหยุดยั้งวัณโรคระดับนานาชาติ (Stop TB Partnership) ได้มีมติให้วันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันวัณโรคสากล (World TB Day) เพื่อให้เกิดการรณรงค์ร่วมกันในการต่อต้านวัณโรคและย้ำเตือนให้ประชากรทั่วโลก ตระหนักว่าวัณโรคยังคงระบาด และยังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ จากข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 พบว่าวัณโรคยังคงเป็นโรคติดเชื้อที่อันตราย มีผู้ป่วยกว่า 10.8 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคประมาณ 1.3 ล้านราย ส่วนประเทศไทย ในปี 2567 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ประมาณ 113,000 ราย และเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 13,000 ราย ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยเช่นกัน

ข่าวที่น่าสนใจ

กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานควบคุมวัณโรค ตามแผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) ขององค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก โดยขับเคลื่อนนโยบายผ่านแผนการพัฒนา ระบบบริการสุขภาพด้านวัณโรค (Service Plan) ด้วยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงสูง การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการเกิดวัณโรคอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานในทุกด้าน ตั้งเป้าลดอัตราการตายจากวัณโรคลง ร้อยละ 95 และลดผู้ป่วยรายใหม่ลง ร้อยละ 90 ภายในปี 2578

กรมควบคุมโรคยังได้ดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค ให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) ในปี 2578 โดยให้ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ คือ

1.การเร่งรัด การค้นหา และตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในทุกกลุ่มเสี่ยง
2.ยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา
3.เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการวินิจฉัย การรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
4.เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบสนับสนุน การดำเนินงานวัณโรค

 

สำหรับวัณโรคเป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ ติดต่อจากผู้ป่วยไอ จาม ไม่ปิดปากปิดจมูก อาการสำคัญของผู้ป่วยวัณโรคที่เห็นได้ชัด คือ ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ไอเป็นเลือด และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ น้ำหนักลด มีเหงื่อออกผิดปกติในเวลากลางคืน เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ซึ่งถ้าหากมีอาการไอมีเลือดออก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง ป้องกันภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิต

นายคารม กล่าวว่า “รัฐบาลแนะประชาชนสามารถป้องกันวัณโรคได้ โดยการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และเข้ารับการตรวจสุขภาพหากมีอาการผิดปกติ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมาย “ยุติวัณโรคอย่างยั่งยืน” ตามมาตรฐานสากล”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" ถามกลางวงประชุม ใครรับผิดชอบ SMS แจ้งข่าวแผ่นดินไหว ลั่นช้าเกินสั่งการตั้งแต่ 14.00 จี้ " ปภ.-กสทช." เร่งปรับปรุง Cell Broadcast
"ผู้ว่าการ กทพ." ยืนยัน ทางพิเศษให้บริการตามปกติ ยกเว้นทางขึ้นลงด่านฯ ดินแดง
ช้าง อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ’ ฤดูกาล 2025 หา แชมป์-ผู้โชคดี ร่วมท่องเที่ยวออกรอบ ต้าหลี่-ลี่เจียง ประเดิมสนามแรก โลตัส วัลเล่ย์ฯ
สวนนงนุชพัทยา จัดของขวัญฉลองปีใหม่ไทยเที่ยวฟรีตลอดเดือนเมษายน และเข้าฟรีทุกวันตลอดชีวิต
"กรมโยธาธิการและผังเมือง" แถลงการณ์ ตรวจสอบความมั่นคงของอาคาร หลังเหตุแผ่นดินไหว
"ผู้ว่าการการทางพิเศษฯ" ระดมวิศวกรตรวจสอบ ความปลอดภัยทางพิเศษทุกสาย
"ทูตเมียนมา" ลงพื้นที่ติดตามการค้นหาผู้สูญหาย จากเหตุตึกสตง.ถล่ม เผยยังไม่รู้จำนวนแรงงานเมียนมาที่แน่ชัด
"ดีอี" เตือนข่าวปลอม “กลาโหมไฟเขียว หากสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชาผิดปกติ ให้กองทัพดำเนินการได้ทันที” หวั่นทำ ปชช.เข้าใจผิด เกิดความสับสน
เพจดังไขคำตอบ "ตึกใหม่-ตึกเก่า" มีรอยร้าวจากเหตุแผ่นดินไหว ไม่ใช่ไม่แข็งแรง
"ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" แจ้งข่าวดี ยังพบสัญญาณชีพผู้รอดชีวิตในซากตึกถล่ม เร่งช่วยเหลือให้ทัน 48 ชม.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น