“กลุ่มต่อต้าน”รุกหนักคืบเข้าเขตอิรวดี “ทัพพม่า”หนีทัพ เป็นปุ๋ยเกลื่อน

"กลุ่มต่อต้าน" รวมหัว สาดกระสุนเดือด ข้ามถิ่น เข้าเขต"อิรวดี" หวังยึดฐานที่มั่นติดเทือกเขาอาระกัน แต่ "ทหารพม่า" กลับพลาดท่า ทิ้งฐานทัพหนีตาย ขณะบางส่วนเป็นปุ๋ยเกลื่อน ชาวบ้านต้องช่วยกันฝัง

การปะทะกันระหว่าง กลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าและกองทัพพม่า ความขัดแย้งเพื่อหวังยึดครองดินดิน ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะสงบ แม้จะมีการเชิญกลุ่มต่อต้านต่าง ๆ มาเจรจาเพื่อยุติสงครามระหว่างกัน

ล่าสุด สำนักข่าว Irrawaddy รายงานว่า กองทัพอาระกัน หรือ AA (Arakan Army – AA) และพันธมิตร เช่น กองทัพเพื่อประชาชน PDF หลายกลุ่ม ได้ร่วมมือกัน ยึดหมู่บ้านหลายแห่งในเขตอิรวดี โดยเฉพาะในเมือง ‘เลเมียตนะ’ เมื่อสัปดาห์ก่อน โดย กองทัพพม่า พยายามปกป้องฐานทัพและกำลังพลของตนในพื้นที่ ด้วยปฏิบัติการทางอากาศ

ที่ผ่านมา เขตอิรวดี เป็นไม่กี่พื้นที่ ที่ไม่เคยมีการสู้รบ นับตั้งแต่กองทัพพม่า ยึดอำนาจ แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สงครามได้ลุกลามมาในพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจาก กองทัพอาระกัน AA สามารถยึด เมือง‘กั้ว’ ทางใต้สุดของรัฐอาระกันได้แล้ว ซึ่งมีชายแดนติดกับเขตอิรวดี ….

ชาวบ้านในพื้นที่ เล่าว่า สงครามกำลังเกิดขึ้นใน 10 กว่าหมู่บ้าน ของเขตอิรวดี ทำให้มีผู้ลี้ภัยแล้วกว่า 1,000 คน และยังมีชาวบ้านบางส่วน ติดค้างอยู่ในพื้นที่ไม่สามารถออกมาได้

ทั้งนี้ สงครามเกิดขึ้นที่เชิงเขาทางทิศตะวันออกของเทือกเขาอาระกัน ซึ่งแบ่งเขตเมือง เลเมียตนะ เขตอิรวดี และเมืองกั้ว ของ รัฐอาระกัน โดยหลังจากข้ามเทือกเขาของทหารอาระกันมายังเขตอิรวดี … กองทัพพม่า ได้พยายามส่งกำลังพลมาสกัดกั้นแต่ไม่เป็นผล โดยทหารพม่า พ่ายให้กับทหารฝ่ายตรงข้าม และบางส่วนยังหนีทัพ

ชาวบ้าน เล่าว่า ในหมู่บ้าน “โต่งทอว์” เห็นศพของทหารพม่า และทหาร PDF เสียชีวิตอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้าน ต้องช่วยกันนำร่างไปฝัง และยังคงเป็นเรื่องท้าทาย สำหรับกองทัพฝ่ายต่อต้าน ที่จะเข้ามาถึงเขตตัวเมืองชั้นในของเมืองเลเมียตนะ และการปะทะส่วนใหญ่ ยังคงเกิดขึ้นตามหมู่บ้านเชิงเขา โดยชาวบ้านยังคง เฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้าน นักวิเคราะห์ทางการทหารและผู้แปรพักตร์ เชื่อว่า มีแนวโน้มความขัดแย้งจะขยายตัวออกไป เนื่องจาก กองกำลังผสมพยายามที่จะยึดฐานที่มั่นในเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ติดกับเทือกเขาอาระกัน

อีกด้านหนึ่ง กองทัพพม่า ยังคงเดินหน้าเกณฑ์ชายหนุ่มอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เมื่อต้นเดือนมีนาคมนี้ ผู้ปกครองในเขตมัณฑะเลย์ ถูกบังคับให้เซ็นยินยอมที่จะจับฉลาก และส่งบุตรหลานของตนไปยังสำนักงานบริหารโดยสมัครใจ หากได้รับการคัดเลือกเป็นทหาร แต่หากฝ่าฝืน อาจต้องโทษจำคุก

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ได้มีการจับสลากบังคับเกณฑ์ทหาร รอบที่ 12 ในเมืองต่าง ๆ รวมถึง เมืองมหาอ่องเหม่ เมืองอ่องเหม่ตะซาน เมืองชะนะเยทตะซาน เมืองปยี่จีตะโก่ง ชานเมียตตะเส่ และเมืองปะเต่งจี / ชาวบ้าน เริ่มรู้สึกสิ้นหวังและวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก วิธีการของกองทัพพม่า ใช้การบังคับมากขึ้น / ชาวบ้าน เล่าว่า ได้ยินมา หากชื่อของคุณถูกจับฉลาก พวกเขาจะพาคุณเข้าอบรมทหารทันที และแนวทางปฏิบัติในปัจจุบันของเมืองมัณฑะเลย์ ก็อาจกลายเป็นต้นแบบนำร่อง ที่จะเป็นมาตรฐานใช้ทั่วประเทศ จนกว่กองทัพพม่า จะพ่ายแพ้”

ชาวเมืองมัณฑะเลย์ กล่าวด้วยว่า มีกลุ่มคนสายทหาร หรือกองกำลังกึ่งทหาร ชื่อ “ผิ่วซอว์ตี” และตำรวจ คอยดูแลกระบวนการดังกล่าว ทำให้เกิดบรรยากาศของการข่มขู่ และยังมีประกาศเสียงตามสายตามในหมู่บ้าน เกี่ยวกับเรื่องนี้อีกด้วย / แม่รายหนึ่ง ในเมืองปะเต่งจี กล่าวว่า ลูกชายของเรา เป็นความหวังและอนาคตเพียงหนึ่งเดียวของเรา แต่ชื่อของเขาถูกจับฉลาก และเขาจะต้องเดินไปบนเส้นทางที่ไม่มีทางหวนกลับ และว่า พวกเขา (เจ้าหน้าที่ทางการพม่า) เดินทางมาในตอนกลางคืน อ้างว่าเป็นการตรวจการลงทะเบียนรายชื่อแขกที่เข้าพัก  พวกเขารวบรวมรายชื่อโดยสอบถามอายุของชายที่เข้าเกณฑ์รับราชการทหาร ไม่มีใครที่จะหนีมันไปได้ หากหนี และถูกพวกเขาจับได้ โทษก็คือคุก”

ขณะเดียวกัน โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมา รายงานว่า ครอบครัวของกองทัพพม่าระดับสูง ( กองทัพบก กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศ) ได้เข้าเคารพนายทหารอาวุโส ที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งเคยประจำการในกองทัพพทม่า และเข้าร่วมพาเหรด เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากองทัพ ครบรอบ 80 ปี 27 มีนาคม ในกรุงเนปิดอว์

พิธีดังกล่าว มีนายทหารอาวุโสของกองทัพพม่า ที่เกษียณอายุราชการแล้ว 15 นาย รวมถึง พล.อ.เต็ง เส่ง และ พล.ท.ออง ทเว กล่าวว่า การให้เกียรตินายทหารอาวุโสที่เกษียณอายุราชการแล้ว ถือเป็นประเพณีอันน่าชื่นชมของกองทัพ เขารู้สึกภูมิใจ และ ยอมรับในความพยายามกองทัพ ภายใต้การนำของ พล.อ.มินอ่องหลาย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพ ที่ทุ่มเททำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยทั้งวันทั้งคืน ไม่เพียงเพื่อกิจการของกองทัพทหารเท่านั้น แต่ยังเพื่อความมั่นคงของชาติ สันติภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนด้วย…

ทั้งนี้ พล.อ.เต็งเส่ง อดีตประธานาธิบดี ปกครองพม่า ระหว่าง ปี 2554-2559 ที่มอบอำนาจให้ นางอองซาน ซูจี หลังการเลือกตั้งครั้งสำคัญ ถือได้ว่าเป็นประธานาธิบดีหัวปฏิรูป ภายหลังจากเกษียณอายุแล้ว ไม่ปรากฏตัวให้เห็นต่อสาธารณชนมากนัก หลังจากเมื่อปีก่อน มีรายงานว่า เต็งเส่ง เดินทางไปเยือนจีน…

ขณะที่ ช่วงเย็น มินอ่องลาย ได้จัดงานเลี้ยง วันครบรอบ 80 ปีของกองทัพ กลางจัตุรัส (Zeyathiri Beikman) ในกรุงเนปิดอว์ และระหว่างงานเลี้ยงอาหารค่ำ มีการยิงพลุ จากลานสวนสนาม เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กัมพูชามอบ 1 แสนดอลล์ช่วยเมียนมาย้ำเคียงข้างเมียนมา-ไทย
ทิพยประกันภัยยืนยันการรับประกันภัย อาคาร สตง. ไม่ส่งผลต่อฐานะการเงิน เนื่องจากมีการทำประกันภัยต่อไปยังบริษัทประกันภัยต่อชั้นนำในต่างประเทศถึง 95%
คืบหน้ายอดดับเมียนมา 31 มีนาคมยังอยู่ที่ 1,700 ราย
"ทีปกร" ดวลเพลย์ออฟคว้าแชมป์คลาส C กอล์ฟเยาวชน "สิงห์-กรุงไทย จูเนียร์ กอล์ฟ แชมเปี้ยน" คว้าตั๋วสู่จูเนียร์ เวิลด์ กอล์ฟ แชมเปี้ยนชิพ 2025
“สุริยะ” ลงพื้นที่เกิดเหตุตึก สตง. ถล่ม หลังเกิดแผ่นดินไหว สั่งการ รฟท. ตรวจสอบ-เร่งสำรวจทุกโครงสร้างทั่วประเทศ พร้อมแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ย้ำ! ต้องดูแลความปลอดภับประชาชนเป็นอันดับแรก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ชมทุ่งดอกผักกาดวิวชนบทงามตาในอันฮุย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) แบรนด์เครื่องดื่มคุณภาพดีของจีนรุกตลาดอาเซียนในราคาที่เป็นมิตร
ผู้ว่าฯ ชัชชาติพาทูต 30 ประเทศมาฟังดนตรีในสวนลุมฯ ยืนยันต่อสายตาโลก "กรุงเทพฯ ปลอดภัย"
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) โป๋อ๋าวที่ไห่หนานตั้ง 'เขตปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์'
รัฐบาล'ยูนนาน'ของจีนส่งสิ่งของยังชีพ 7.3 ตันให้เมียนมา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น