คืบหน้ายอดผู้เสียชีวิตแผ่นดินไหว “เมียนมา” ทะลุ 150 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 700 คน

คืบหน้ายอดผู้เสียชีวิตแผ่นดินไหว "เมียนมา" ทะลุ 150 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 700 คน

นายพลมิน อ่อง หล่าย หัวหน้าคณะรัฐประหารเมียนมาร์ ออกแถลงการณ์ถึงความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหวระบุว่า ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวมีอย่างกว้างขวางในมัณฑะเลย์ สะกาย และเนปิดอว์ จนถึงขณะนี้ มีรายงานผู้เสียชีวิต 144 ราย ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บพบ 732 ราย อย่างไรก็ดี จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ของนายพลมิน อ่อง หล่าย ออกมาช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันที่ 28 มีนาคม ซึ่งล่าสุด MRTV ของรัฐบาลเมียนมาร์ รายงานความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหว ผ่านแอปพลิเคชันเทเลแกรม ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 153 ราย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

แถลงการณ์ของท่านนายพลระบุต่อว่า เนื่องจากขณะนี้ เรากำลังดำเนินการบรรเทาทุกข์ครั้งใหญ่จากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้ ตนจึงอยากขอร้องให้ทุกฝ่าย เข้าช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ตนยังได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด และเปิดช่องทางทุกทางในการให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ล่าสุด ศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมด้านการจัดการภัยพิบัติ (หรือ AHA) ได้เสนอที่จะส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินให้ในวันพรุ่งนี้ และอินเดียก็เสนอที่จะส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ในวันพรุ่งนี้เช่นกัน

 

 

ทั้งนี้ เมียนมาร์ตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในโลก อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ก็มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และสร้างความเสียหายหนัก เกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อย มีผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจำนวนมาก ได้ออกมาให้ข้อมูลและวิเคราะห์ถึงเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ เช่น บิล แม็กไกวร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ให้ข้อมูลว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 มีนาคม อาจเป็นเหตุการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้น บนแผ่นดินใหญ่ของเมียนมาร์ ในรอบ 3 ใน 4 ศตวรรษ

 

ด้านโรเจอร์ มัสสัน นักวิจัยกิตติมศักดิ์ของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาอังกฤษ กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความลึกเพียง 10 กิโลเมตร ทำให้ความเสียหายรุนแรงมาก เนื่องจากเกิดขึ้นที่ระดับความลึกที่ถือว่าตื้น ดังนั้น คลื่นกระแทกจึงไม่สามารถสลายตัวได้ เมื่อเคลื่อนจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวขึ้นไปยังพื้นผิว อาคารต่างๆ จึงต้องรับแรงสั่นสะเทือนเต็มที่ สิ่งสำคัญคือต้องไม่มุ่งความสนใจไปที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว เนื่องจากคลื่นไหวสะเทือน ไม่ได้แผ่ออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว แต่แผ่ออกมาจากแนวรอยเลื่อนทั้งหมด

มัสสันกล่าวต่อว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นในปี 1956 (พ.ศ. 2500) บ้านเรือนต่างๆ จึงไม่น่าจะได้รับการสร้างที่ให้ทนทานต่อแรงแผ่นดินไหวที่รุนแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ แผ่นดินไหวส่วนใหญ่ในเมียนมาร์ จะเกิดขึ้นทางตะวันตกมากกว่า ในขณะที่แผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นที่ใจกลางของประเทศ

ทั้งนี้ การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเขตสะกายซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ ที่มีประชากรหนาแน่นนั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ส่งผลให้ไม่มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว ความเสียหายจึงอาจเลวร้ายลงได้มาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สถาบันเหล็กฯ ออกแถลงการณ์ โต้ทนาย "ซินเคอหยวน" ยันเครื่องทดสอบเหล็กแม่นยำ ถูกต้องตามมาตรฐานทุกอย่าง
Watt-D แจ้งเตือน ระวัง "มิจฉาชีพ" แอบอ้างเป็นพนักงาน PEA หลอก Add LINE
ทั่วโลกร่วมไว้อาลัยโป๊ปฟรานซิส
“หมอปลาย” ทักแรง! ภาคอีสานระวัง “ภูเขาไฟ” ดับไปแล้ว กำลังจะตื่นอีก
“นาซา” เผยข้อมูลช็อก! แผ่นดินพม่าเคลื่อนตัว 6 เมตร จ่อปรับผังเมืองเนปิดอว์
ผวาชักศึกเข้าไทย! “พม่า KNU” เหิมหนัก โบกธงฉลองในแผ่นดินไทย
ปภ.จับมือ "3 ค่ายมือถือ" ทดสอบส่งข้อความเตือนภัย พ.ค.นี้
"นายกฯ" นำเปิดโครงการ "SML ส่งตรงโอกาสถึงชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน" เน้นผลสำเร็จเริ่มจากยุคไทยรักไทย
เซเว่น อีเลฟเว่น ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยนแปลงโลก ในวัน Earth Day 2025 ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดการใช้พลังงาน ในธีม“พลังของเรา โลกของเรา”เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ซีพีจับมือทุกภาคส่วน ปักหมุด ‘เกาะสุกร’ จ.ตรัง ลงนาม MOU สร้างโมเดลต้นแบบจัดการขยะยั่งยืน มุ่งต่อยอดสู่เครือข่ายสิ่งแวดล้อมภาคใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น