เพจดังไขคำตอบ “ตึกใหม่-ตึกเก่า” มีรอยร้าวจากเหตุแผ่นดินไหว ไม่ใช่ไม่แข็งแรง

เพจดังไขคำตอบ "ตึกใหม่-ตึกเก่า" มีรอยร้าวจากเหตุแผ่นดินไหว ไม่ใช่ไม่แข็งแรง

สืบเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา จนสร้างความเสียหายลามมาถึงประเทศไทย และกลายเป็นที่ตื่นตระหนกอย่างมากต่อผู้ที่ประสบเหตุโดยตรง

ทางด้าน เพจเฟซบุ๊ก Curiosity Channel คนช่างสงสัย โพสต์ข้อมูลอธิบายว่า เห็นหลายคนโพสต์ว่า เมื่อเจอแผ่นดินไหว ทำไมตึกเก่าๆ ไม่ร้าวเลย แต่ตึกใหม่ๆ กลับร้าว ตึกใหม่ๆ ไม่แข็งแรงหรือเปล่า

ไม่ใช่ครับ

มาตรฐานการออกแบบอาคารรับแผ่นดินไหวใหม่ๆ ตั้งแต่ช่วง 2550 เป็นต้นมา ได้กำหนดให้วิศวกรต้องออกแบบตึกให้มีความ “เหนียว” ในการรับแผ่นดินไหว

ก่อนจะไปพูดถึงความเหนียว เรามาพูดสิ่งที่ตรงข้ามกันก่อน ซึ่งก็คือ “ความแข็ง”

สิ่งที่แข็ง มันจะตามมาด้วยความเปราะเสมอ หรือก็คือ ถ้ามันพัง มันจะพังอย่างฉับพลัน ไม่มีการเตือนใดๆ เหมือนกับเราพยามหักดินสอ ดินสอมันหักทันที ไม่มีการร้าวก่อน หรือที่วิศวะเรียกว่า “วิบัติแบบทันที” ซึ่งมันจะอันตรายมาก ไม่มีการเตือนก่อนใดๆ จากตึกดีๆ นิ่งๆอยู่ ถ้ามันรับแรงไม่ไหว มันจะพังอย่างฉับพลัน ซึ่งทำให้ผู้อยู่อาศัย “หนีไม่ทัน”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

แต่อาคารที่เหนียวตามมาตรฐานการออกแบบสมัยใหม่ ถ้าเจอแรงแผ่นดินไหว มันจะโยกง่ายกว่า แอ่นตัวง่ายกว่า แต่จะยังไม่พังหักพับลงมา เหมือนเราจะพยายามบิดไม้บรรทัดพลาสติก ซึ่งนั่นทำให้เกิดรอยร้าวตามจุดต่างๆ ของอาคาร โดยเฉพาะผนัง ซึ่งรอยร้าวนี่แหละคือสัญญาณเตือนให้ผู้อาศัยรับหลบหนีออกจากอาคาร นั่นเองครับ

และการมีรอยร้าว ไม่ได้ทำให้ตึกอ่อนแอกว่าการไม่มีรอยร้าวนะครับ จริงๆแล้ว มันอาจแข็งแรงกว่าด้วยซ้ำ เพราะมันโยกไปโยกมาได้ มันจะสลายแรงแผ่นดินไหวให้กลายเป็นแรงในการโยกแทน ในขณะที่อาคารแบบแข็งเกร็ง จะสะสมแรงแผ่นดินไหวให้กลายเป็น Stress ในองค์อาคาร ถ้าสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนทนไม่ไหว มันจะพังอย่างฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน นึกภาพต้นมะพร้าวเอนตามลม มันจะไม่หัก แต่ถ้ามันฝืนยืนแข็งทื่อ มันจะหักง่ายกว่าครับ

ดังนั้นการมีรอยร้าวหลังเกิดแผ่นดินไหวนั้น “ดีแล้ว” ถูกแล้ว ตรงตามมาตรฐานการออกแบบอาคารรับแผ่นดินไหวครับ ถ้าไม่มีรอยร้าวเลยสิ น่าคิด โดยเฉพาะตึกเก่าๆ ที่สร้างมานานแล้ว ส่วนใหญ่จะออกแบบให้เป็นแบบ “แข็งเกร็ง” ครับ

 

 

ขอขยายความคำว่า “ถ้าไม่มีรอยร้าวเลยสิ น่าคิด” เห็นคนตีความกันผิด คือการไม่ร้าว แค่แปลว่า มันไม่โยกตัว ไม่มีสัญญาณเตือน ไม่ได้แปลว่าไม่แข็งแรง ถ้ามันไม่พัง ก็คือแข็งแรงไง แต่ที่น่าคิด คือ ถ้าตึกสร้างหลังปี 2550 ไม่ร้าว ก็แปลได้ 2 แบบคือ แข็งแรงมาก ยังไม่ถึงจุดร้าวตามที่ออกแบบไว้ กับไม่ได้ออกแบบตามมาตรฐานที่ให้มีความเหนียว

ทำไมแอดมินรู้เรื่องนี้? คือผมสามัญวิศวกรโยธา จบโทด้านอาคารรับแผ่นดินไหว แบบสายตรงเป๊ะกับเรื่องนี้เลย และยังเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร เลขที่ใบอนุญาต บ.2879/2560 , เป็นวิศวกรอาเซียนเลขที่ 2664/2022 , เป็นวิศวกรเอเปค เลขที่ THA-01-00029 จริงๆ ไม่อยากจะเล่าหรอกว่าเรามีตำแหน่งงานอะไร เพียงแต่พอมันแมส มันจะมีคนประเภท บอกว่าเอ็งเป็นใคร ไม่รู้จริงอย่ามามั่ว เลยต้องขอใส่เครดิตนิดหน่อย

ปล. แต่ร้าว ไม่ได้แปลว่าไม่เสียหาย กลับเข้าไปนอนได้นะ ร้าวคือ “การแจ้งเตือน” ร้าวคือ “เสียหาย” นั่นแหละ แต่แค่ “ยัง” ไม่พังพับลงมา เป้าหมายในการทำให้แตกร้าว คือ้ตือนให้ผู้ใช้หนีเป็นเรื่องสำคัญ เอาชีวิตคนมาก่อน ไม่ใช่แปลว่า ร้าว=ตึกปลอดภัยกลับเข้าไปอาศัยได้ ยังไงก็ต้องให้วิศวกรมาประเมินความเสียหายและซ่อมแซมอยู่ดี ร้าวมากๆ ยังไงก็อันตรายอยู่ดี และไม่มีรอยร้าว ไม่ได้แปลว่าไม่แข็งแรงนะครับ มันก็แข็งแรงแหละครับ แค่อาจไม่มีรอยร้าวเตือนก่อนเนิ่นๆ เท่านั้นเอง หรือแข็งแรงมาก จนยังไม่ถึงจุดที่มันจะร้าวตามที่ออกแบบไว้ ถ้าจะร้าว แผ่นดินไหวต้องแรงกว่านี้อีก แผ่นดินไหวแค่นี้จิ๊บๆ ก็เป็นได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สถาบันเหล็กฯ ออกแถลงการณ์ โต้ทนาย "ซินเคอหยวน" ยันเครื่องทดสอบเหล็กแม่นยำ ถูกต้องตามมาตรฐานทุกอย่าง
Watt-D แจ้งเตือน ระวัง "มิจฉาชีพ" แอบอ้างเป็นพนักงาน PEA หลอก Add LINE
ทั่วโลกร่วมไว้อาลัยโป๊ปฟรานซิส
“หมอปลาย” ทักแรง! ภาคอีสานระวัง “ภูเขาไฟ” ดับไปแล้ว กำลังจะตื่นอีก
“นาซา” เผยข้อมูลช็อก! แผ่นดินพม่าเคลื่อนตัว 6 เมตร จ่อปรับผังเมืองเนปิดอว์
ผวาชักศึกเข้าไทย! “พม่า KNU” เหิมหนัก โบกธงฉลองในแผ่นดินไทย
ปภ.จับมือ "3 ค่ายมือถือ" ทดสอบส่งข้อความเตือนภัย พ.ค.นี้
"นายกฯ" นำเปิดโครงการ "SML ส่งตรงโอกาสถึงชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน" เน้นผลสำเร็จเริ่มจากยุคไทยรักไทย
เซเว่น อีเลฟเว่น ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยนแปลงโลก ในวัน Earth Day 2025 ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดการใช้พลังงาน ในธีม“พลังของเรา โลกของเรา”เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ซีพีจับมือทุกภาคส่วน ปักหมุด ‘เกาะสุกร’ จ.ตรัง ลงนาม MOU สร้างโมเดลต้นแบบจัดการขยะยั่งยืน มุ่งต่อยอดสู่เครือข่ายสิ่งแวดล้อมภาคใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น