ปภ. รายงานความเสียหาย 18 จังหวัด-กทม. ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว เร่งสำรวจช่วยเหลือเยียวยาปชช.

บกปภ.ช. อัปเดตความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือกรณีแผ่นดินไหว - เร่งสำรวจความเสียหายและผลกระทบเพื่อให้การช่วยเหลือตามสิทธิอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง

ปภ.รายงานความเสียหาย 18 จังหวัด-กทม. ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว เร่งสำรวจช่วยเหลือเยียวยาปชช. – Top News รายงาน

บกปภ.ช.
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 น. บกปภ.ช. รายสถานการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเช้านี้ได้รับรายงานความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 18 จังหวัด เฉพาะกรุงเทพมหานครมีผู้เสียชีวิต 9 ราย ผู้สูญหาย 79 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ กรุงเทพฯ 8 ราย นนทบุรี 1 ราย ยังคงเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตจากอาคารถล่ม – กรมบัญชีกลางขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีแผ่นดินไหว) จำนวน 200 ล้านบาท
นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ซึ่งมีสาเหตุจากการเลื่อนตัวกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย สาธารณัฐแห่งสหภาพเมียนมา ขนาด 8.2 ความลึก 10 กม. ที่ละติจูด 21.682 องศาเหนือ ลองจิจูด 96.121 องศาตะวันออก บริเวณประเทศเมียนมา ห่างจาก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 326 กม. สามารถรับรู้แรงสั่นไหวได้ในพื้นที่ รวม 63 จังหวัด (ข้อมูลวันที่ 30 มี.ค.68 เวลา 06.00 น.) ขณะนี้สถานการณ์อยู่ในการควบคุมและเป็นขั้นตอนของการจัดการพื้นที่ และแนวโน้มของการเกิด After Shock ได้ลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ได้รับรายงานความเสียหาย 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรีสมุทรปราการ สมุทรสาคร ชัยนาท และกรุงเทพมหานคร รวม 85 อำเภอ 173 ตำบล 144 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 420 หลัง วัด 48 แห่ง โรงพยาบาล 76 แห่ง อาคาร 8 แห่ง โรงเรียน 23 แห่ง และสถานที่ราชการ 18 แห่ง เฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครมีมีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 9 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บใน กทม. 8 ราย นนทบุรี 1 ราย ดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

  1. จ.เชียงใหม่ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 20 อำเภอ 49 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ดอยเต่า อ.พร้าว อ.หางดง อ.แม่แจ่ม อ.สันกำแพง อ.สะเมิง อ.กัลยาณิวัฒนา อ.ฮอด อ.แม่อาย อ.เชียงดาว อ.สันป่าตอง อ.แม่ริม อ.จอมทอง อ.แม่วาง อ.สันทราย อ.แม่แตง อ.อมก๋อย อ.แม่ออน และ อ.สารภี บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 225 หลัง อาคารสูง 6 แห่ง วัด เจดีย์ 31 แห่ง โรงเรียน 11 แห่ง โรงพยาบาล 15 แห่ง
  2. จ.เชียงราย พื้นที่ได้รับความเสียหาย 13 อำเภอ 12 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เชียงของ อ.ป่าแดด อ.เมืองฯ อ.เวียงป่าเป้า อ.เทิง อ.แม่จัน อ.เชียงแสน อ.แม่สาย อ.ขุนตาล อ.แม่ลาว อ.ดอยหลวง อ.แม่สรวย และ อ.พาน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 57 หลัง วัด 2 แห่ง โรงพยาบาล 9 แห่ง
  3. จ.พะเยา พื้นที่ได้รับความเสียหาย 7 อำเภอ 8 ตำบล ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ภูซาง อ.เชียงม่วน อ.ดอกคำใต้ อ.เชียงคำ อ.แม่ใจ และ อ.ปง บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 40 หลัง โรงเรียน 1 แห่ง โรงพยาบาล 6 แห่ง รพ.สต. 6 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง
  4. จ.ลำพูน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 6 อำเภอ 13 ตำบล 25 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.ป่าซาง อ.ลี้ อ.เมืองฯ อ.บ้านโฮ่ง อ.เวียงหนองล่อง และ อ.แม่ทา บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 33 หลัง วัด 3 แห่ง โรงพยาบาล 4 แห่ง สถานที่ราชการ 2 แห่ง
  5. จ.ลำปาง พื้นที่ได้รับความเสียหาย 9 อำเภอ 19 ตำบล 16 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สบปราบ อ.เกาะคา อ.แม่ทะ อ.แม่พริก อ.งาว อ.ห้างฉัตร อ.วังเหนือ และ อ.เถิน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 28 หลัง วัด 4 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง โรงพยาบาล 3 แห่ง สถานที่ราชการ 3 แห่ง
  6. จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 4 อำเภอ 5 ตำบล ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ปาย อ.สบเมย และ อ.ขุนยวม วัด 1 แห่ง สถานที่ราชการ 1 แห่ง โรงพยาบาล 3 แห่ง
  7. จ.แพร่ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 4 อำเภอ 12 ตำบล 24 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สอง อ.หนองม่วงไข่ และ อ.สูงเม่น บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 20 หลัง โรงเรียน 2 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง สถานที่ราชการ 8 แห่ง
  8. จ.น่าน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 อำเภอ 2 ตำบล ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ภูเพียง วัด 2 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง
  9. จ.เพชรบูรณ์ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 6 อำเภอ 19 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.วิเชียรบุรี อ.หล่มสัก อ.น้ำหนาว อ.เขาค้อ และ อ.บึงสามพัน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 2 หลัง โรงพยาบาล 18 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง สถานที่ราชการ 1 แห่ง
  10. จ.พิษณุโลก พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 อำเภอ 4 ตำบล ได้แก่ อ.นครไทย อ.บางกระทุ่ม โรงพยาบาล 4 แห่ง
  11. จ.สุโขทัย อ.ศรีสำโรง อาคารโรงยาสูบ เสียหาย 1 หลัง
  12. จ.อ่างทอง อ.วิเศษชัยชาญ โรงเรียน 4 แห่งได้รับความเสียหายที่
  13. จ.พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 อำเภอ 2 ตำบล อ.ลาดบัวหลวง อ.พระนครศรีอยุธยา วัด 2 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง
  14. จ.ปทุมธานี พื้นที่ได้รับความเสียหาย 1 อ. 1 ต. อ.คลองหลวง เบื้องต้นพบรอยร้าวอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารโรงอาหารเป็นชั้นเดียว อาคารสำนักงาน 2 ชั้น และอาคารเรียน 3 ชั้น
  15. จ.นนทบุรี พื้นที่ได้รับความเสียหาย 3 อำเภอ 5 ตำบล อ.เมืองฯ อ.ปากเกร็ด อ.บางกรวย โรงพยาบาล 4 แห่ง ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 1 แห่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย
  16. จ.สมุทรปราการ อ.พระประแดง วัด 1 แห่ง ได้รับความเสียหาย
  17. จ.สมุทรสาคร อ.เมืองฯ โรงพยาบาล 1 แห่ง ได้รับความเสียหาย
  18. จ.ชัยนาท อ.เมืองฯ วัด 1 แห่งได้รับความเสียหาย
ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือนั้น ในทุกพื้นที่ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณะกุศล ภาคเอกชน และจิตอาสา และพลเรือน ได้เข้าให้การช่วยเหลือและสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าให้การช่วยเหลือผู้ติดค้างภายใต้ซากอาคาร โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) รวม 48 นาย พร้อมด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัย กว่า 14 รายการ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี และเขต 16 ชัยนาท เข้าร่วมปฏิบัติการสนับสนุนการค้นหาผู้ประสบภัย ขณะเดียวกันได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีแผ่นดินไหว) แล้ว 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดแพร่ รวมทั้งกรุงเทพมหานครที่มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติเต็มพื้นที่ โดยขณะนี้กรมบัญชีกลางได้อนุมัติให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีแผ่นดินไหว) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 76 จังหวัด ซึ่งเป็นวงเงินในอำนาจอธิบดี จำนวน 200 ล้านบาท สำหรับใช้จ่ายด้านการดำรงชีพและด้านการปฏิบัติงานฯ
“กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะฝ่ายเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 -18 เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรกลสาธารณภัยและตรวจสอบความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยทั้ง 355 รายการ ซึ่งพร้อมสนับสนุนจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบและให้เคลื่อนย้ายกำลังทันทีที่ได้รับการประสาน และให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเร่งสำรวจความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุแผ่นดินไหวในพื้นที่เพื่อที่จะให้การช่วยเหลือเป็นไปตามสิทธิที่จะได้รับอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง” อธิบดี ปภ. กล่าว
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยยังคงปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังในทุกพื้นที่ที่ประสบภัย รวมถึงติดตามสถานการณ์และประสานการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด โดยหากประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อนุทิน” รับลูกนายกฯ สั่งปภ.ทำแผนเผชิญภัยพิบัติทุกรูปแบบ ในกรอบเวลา 30 วัน
เครือซีพี พร้อมกลับเข้าสู่โหมดการทำงานปกติ หลังอาคารสำนักงานผ่านการตรวจสอบโดยวิศวกรอิสระ ตามมติการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลกระทบจากแผ่นดินไหว
เคียงข้างทุกวิกฤต! ซีพีเอฟ ร่วมร้อยเรียงความดี ส่งความห่วงใยผ่านอาหาร-สิ่งของจำเป็น หนุนภารกิจค้นหาต่อเนื่อง
"อธิบดี DSI" ถกด่วน เร่งสอบปม "ตึก สตง." ถล่ม หากพบความผิด รับเป็นคดีพิเศษทันที
"สรรเพชญ" ร่วมทีมแพทย์ วิศวกร ตรวจโครงสร้างอาคาร เพิ่มมั่นใจ รพ.สงขลา ปลอดภัย
โปรดแต่งตั้ง "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดญาณเวศกวัน
เช็กเลย ค่าทางด่วน-มอเตอร์เวย์ฟรี 4 เส้นทาง ช่วงสงกรานต์ 11-17 เม.ย.นี้
ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2568
"นฤมล" นำขรก.ไว้อาลัยสูญเสียเหตุแผ่นดินไหว ทำบุญวันสถาปนาก.เกษตรฯ 133 ปี ย้ำนโยบายแจกโฉนดเพื่อการเกษตร
"สยามพารากอน" มอบประสบการณ์ระดับโลก เดินหน้าสร้างเชื่อมั่น จัดกิจกรรมแฟนมีตติ้ง "อเล็กซ์ อัลบอน อังศุสิงห์" นักแข่งF1 ชื่อดัง 1 เม.ย.นี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น