เสีย อิงเยว่ ( Xia Yinnyue) ผู้อํานวยการห้องปฏิบัติการเสวี่ยหลง-2 กล่าวว่า เครื่องเจาะมีความยาวประมาณ 22 เมตร แบ่งเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนยาว 5.5 เมตร น้ำหนัก 206 กิโลกรัม น้ำหนักข้อต่อแต่ละข้อหนัก 60 กิโลกรัม ซึ่งนอกจากจะต้องเจาะให้ลึกถึงก้นทะเลแล้ว เครื่องเจาะนี้จะต้องเก็บตัวอย่างให้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
.
สถานที่เก็บตัวอย่างอยู่ในทะเลอะมุนด์เซน ที่ความลึกเกิน 2,800 เมตร, จู เผิงเทา (Zhu Pengtao) หนึ่งในทีมสำรวจประจำเรือเสวี่ยหลง-2 กล่าวว่า เพื่อให้ได้พิกัดที่แม่นยำ ทีมนักวิจัยนำระบบกำหนดตำแหน่งแบบไดนามิกมาใช้ ทำให้การระบุตำแหน่งมีความผิดพลาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร
.
ทีมนักวิจัยใช้เวลา 20 ชั่วโมง ตั้งแต่การประกอบเครื่องเจาะจนเก็บตัวอย่างตะกอนสำเร็จ เสีย อิงเยว่ (Xia Yinnyue) อธิบายว่า ตะกอนหน้าดินจากก้นทะเลลึกมีความสำคัญอย่างมากในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรและสิ่งแวดล้อม กระบวนการเก็บตัวอย่างครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น
.
เมื่อกลับมาถึงจีน ทีมงานจะวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและเคมี เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต
.
ทีมสํารวจแอนตาร์กติกครั้งที่ 41 ออกเดินทางเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 โดยจะปฏิบัติภารกิจสำรวจแอนตาร์กติกาเป็นเวลา 7 เดือน
.
คลิปจาก China Media Group
ทีมสํารวจแอนตาร์กติกครั้งที่ 41 ของจีน สามารถเก็บตัวอย่างตะกอนบริเวณก้นทะเลอะมุนด์เซน (Amundsen)ขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จอย่างน่าพอใจ
ข่าวที่น่าสนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง