ก.อุตฯ ลุยตรวจโรงงานผลิตเหล็กไม่ได้มาตรฐาน ใช้ก่อสร้างอาคาร สตง.ถล่ม ด้านตัวแทนบริษัท ยันความบริสุทธิ์ไม่ได้ผลิตเหล็กไร้คุณภาพ

คณะทำงานตรวจสุดซอย กระทรวงอุตสาหกรรมเข้าตรวจสอบโรงงาน ซิน เคอ หยวน สตีล โรงงานผลิตเหล็ก ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร สตง.พังถล่ม พบ เหล็ก ไซซ์เดียวกับ ไปสร้างตึก สตง.ถูกอายัด ด้านตัวแทนบริษัทยืนยันเป็นเหล็กคนละล็อต ไม่ได้ขายต่อให้คนกลาง ยืนยันความบริสุทธิ์ไม่ได้ผลิตเหล็กไร้คุณภาพ

ก.อุตฯ ลุยตรวจโรงงานผลิตเหล็กไม่ได้มาตรฐาน ใช้ก่อสร้างอาคาร สตง.ถล่ม ด้านตัวแทนบริษัท ยันความบริสุทธิ์ไม่ได้ผลิตเหล็กไร้คุณภาพ – Top News รายงาน

ก.อุตฯ

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 เวลา 09.00 น. วันที่ 2 เม.ย.2568 เจ้าหน้าที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม , กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ปทส.ดีเอสไอ และนางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ คณะทำงานของรัฐมนตรีอุตสาหกรรม หรือหัวหน้าทีมตรวจสุดซอย ได้เดินทางมารวมตัวกันที่เขตประกอบอุตสาหกรรม WHA ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เพื่อจะเข้าไปตรวจสอบบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเหล็กไม่ผ่านมาตรฐาน แล้วนำไปก่อสร้างอาคาร สตง.

 

จากนั้น ทีมงานชุดตรวจสอบได้เดินทางไปยังบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ซึ่งอยู่บริเวณด้านในสุดของเขตประกอบอุตสาหกรรม โดยก่อนที่จะเดินทางเข้าไปตรวจสอบ ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการเข้าไปพูดคุยกับทางตัวแทนบริษัท เพื่อขอใช้อำนาจเข้าไปตรวจสอบเหล็กที่ได้มีการอายัดเอาไว้ ว่าได้มีการแกะหรือลักลอบนำไปจำหน่ายหรือไม่ และจะขอตรวจสอบโรงงานผลิตเหล็กว่าได้มีการเปิดใช้งานหลังมีคำสั่งให้หยุดผลิตหรือไม่

โดยก่อนจะเดินทางเข้าไปตรวจสอบโรงงานเหล็ก เจ้าหน้าที่ได้นำ เอกสารการจ่ายค่าไฟของโรงงานมาให้สื่อมวลชนดู พบว่าค่าไฟลดลงตามลำดับ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 67 ค่าไฟอยู่ที่ประมาณ ร้อยกว่าล้านบาท จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 68 เดือนล่าสุด ค่าไฟเหลือเพียง 6 แสนกว่าบาท

ต่อมาคณะชุดตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ของบริษัท และสื่อมวลชน ได้เข้าไปตรวจสอบโกดังเก็บเหล็ก ซิน เคอ หยวน สตีล ที่ได้มีการอายัดเอาไว้ พร้อมยืนยันว่าตั้งแต่กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการสั่งอายัดไม่ให้นำเหล็กเหล่านี้ออกจำหน่าย ทางบริษัทก็ไม่เคยเข้าไปยุ่งกับเหล็กจำนวนดังกล่าวเลย และขอยืนยันว่าเหล็กทั้งหมดที่ได้มีการอายัดเอาไว้นั้นยังอยู่ครบทุกเส้น

ข่าวที่น่าสนใจ

จากนั้น เจ้าหน้าที่ ได้ตัดตัวอย่างเหล็กที่ได้มีการอายัดเอาไว้ โดยเฉพาะเหล็กที่มีขนาด 32 มิลลิเมตร ที่ตรงกับเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร สตง. ไปตรวจสอบอีกครั้งที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย แม้ก่อนหน้านี้ทางเจ้าหน้าที่ได้มี การเก็บตัวอย่างเหล็กชนิดดังกล่าวไปตรวจกับสถาบันเหล็กมาแล้วถึงสองครั้ง ซึ่งผลก็ออกมาว่าไม่ผ่านมาตรฐานทั้งสองครั้ง

ซึ่งระหว่างที่ทางคณะทำงานได้มีการพูดคุยกับตัวแทนของบริษัท ก็เกิดการโต้เถียงกันเล็กน้อย เนื่องจากทางตัวแทนบริษัทขอให้ทางเจ้าหน้าที่คณะทำงาน นำตัวอย่างเหล็กที่ถูกอายัดเอาไว้ ไปส่งตรวจกับสถาบันยานยนต์ ควบคู่กับสถาบันเหล็ก พร้อมนำเอกสารมาโชว์ต่อหน้าสื่อมวลชนว่ามาตรฐานสารโบรอนของทั้งสองสถาบันมีความแตกต่างกัน โดยของสถาบันเหล็กกล้ามีมาตรฐานอยู่ที่ 0.0009 เปอร์เซ็นต์ ถึง 0.0025 เปอร์เซ็นต์ ส่วนของสถาบันยานยนต์จะมีมาตรฐานค่าโบรอนอยู่ที่ 0.0004 เปอร์เซ็นต์ ถึง 0.0066 เปอร์เซ็นต์ เพราะหากดูค่ามาตรฐานของทั้งสองสถาบันแล้ว สถาบันยานยนต์จะมีมาตรฐานค่าโบรอนที่ดูต่ำกว่า

แม้ทางคณะทำงานจะได้มีการอธิบายต่อหน้าว่าตอนที่บริษัทได้มีการไปขอมาตรฐาน มอก. ก็ได้นำเหล็กไปตรวจสอบกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย แต่ทำไมถึงไม่ยอมรับผลการตรวจสอบของสถาบันดังกล่าว แต่ถ้าหากทางบริษัทจะอยากให้ทางเจ้าหน้าที่นำไปตรวจสอบทั้งสองสถาบัน ทางทำงานก็ไม่ติดขัด เพราะจะได้ให้ความเป็นธรรมกับทางบริษัทด้วย พร้อมกันนี้ทางคณะทำงานยังได้ชี้แจงด้วยว่า ก่อนหน้านี้ก็ได้มีการนำตัวอย่างเหล็กไปตรวจสอบกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยถึงสองครั้ง ซึ่งผลก็ได้ต่ำกว่ามาตรฐานทั้งสองครั้ง

 

ขณะที่ตัวแทนบริษัทซิน เคอ หยวน สตีล กล่าวว่า ไม่ได้มีความกังวลอะไรเลย บริษัทได้แสดงความบริสุทธิ์ใจให้คณะทำงานและสื่อมวลชนเข้าตรวจสอบ พร้อมกับขอยืนยันว่าตั้งแต่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการสั่งระงับการการผลิต และอายัดเหล็กที่ไม่ผ่านค่ามาตรฐาน บริษัทก็ได้มีการระงับการผลิตเหล็กตั้งแต่วันที่ได้มีการออกคำสั่ง คือวันที่ 18 ธันวาคม 67 ส่วนเหล็กที่ถูกอายัดไว้ในโกดัง บริษัทไม่เคยเข้าไปยุ่งและไม่เคยเข้าไปแตะต้องอะไรเลย

ส่วนเหล็กที่ได้มีการจำหน่ายออกไปแล้วไปสร้างอาคาร สตง. บริษัทชี้แจงว่า เพิ่งทราบจากข่าวว่าเหล็กที่ได้นำไปสร้างอาคาร สตง. เป็นเหล็กของบริษัทซิน เคอ หยวน สตีล เพราะก่อนหน้านี้ทางบริษัทไม่ทราบเลยว่าหลังได้มีการจำหน่ายไปให้กับเอเจนซี่ ซึ่งถือว่าเป็นพ่อค้าคนกลาง จากนั้นทางพ่อค้าคนกลางได้ไปจัดจำหน่ายให้กับผู้รับเหมารายไหนต่ออีกทอด แต่ยืนยันว่าหลังจากที่ได้มีการผลิตเหล็กเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางโรงงานก็ได้มีการตรวจคุณภาพตั้งแต่ต้น พอนำไปขายให้กับพ่อค้าคนกลาง ฝั่งพ่อค้าคนกลางก็จะมีการตรวจค่ามาตรฐานซ้ำอีกรอบ ซึ่งถ้าหากผ่านมาตรฐานก็จะนำไปจำหน่ายให้กับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และก่อนที่จะนำเหล็กไปสร้างนั้น ทางผู้รับเหมาก็จะมีการตรวจสอบอีกขั้นก่อนจะนำเหล็กไปใช้

 

อย่างไรก็ตาม นายธนพงศ์ จูสนิท ทนายความของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล ชี้แจงว่า เหล็กของอาคาร สตง. ที่เจ้าหน้าที่นำไปตรวจสอบ แล้วพบว่าเหล็กไม่ผ่านค่ามาตรฐาน บริษัทไม่รู้ว่าเหล็กของบริษัทที่ได้นำไปก่อสร้างอาคาร ระหว่างนั้นเหล็กอาจจะไปโดนความร้อน โดนปูน หรือส่วนผสมในการก่อสร้าง จนทำให้มีการส่งผลต่อคุณภาพของเหล็ก และก็ยังไม่รู้ว่าในโครงการก่อสร้างอาคาร สตง. มีการใช้เหล็กของบริษัทในอัตราสัดส่วนเท่าไหร่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นฤมล-ธรรมนัส" ร่วมต้อนรับ "วีระพงษ์" นายกอบจ.มุกดาหาร สมัครสมาชิก พรรคกล้าธรรม มั่นใจอนาคตเลือกตั้งสนามใหญ่
"เสธหิ" พูดกระแทกใจ "อันที่สุดของไทยนั้นคือชาติ หากพินาศแล้วใครอยู่ได้หนอ"
สาวสุดช็อก จองตั๋วเครื่องบินไป จ.สกลนคร ราคาสูงทะลุ 1.4 หมื่นบาท
เกาหลีใต้จ่อเพิ่มการนำเข้าก๊าซ LNG จากสหรัฐ
สิงคโปร์ชี้สหรัฐทำลายระบบการค้าเสรีที่สร้างมากับมือ
เกาหลีใต้ประกาศเลือกตั้ง 3 มิถุนายน
อั้นไว้ก่อน ค่อยเติม พรุ่งนี้น้ำมันลด "เบนซิน-แก๊สโซฮอล์" ทุกชนิด ปรับราคาลง
“ปลัดฯแรงงาน” เผยจ่ายชดเชยลูกจ้างเสียชีวิต “ตึกสตง.ถล่ม” แล้ว กว่า 19 ล้าน พร้อมดูแลสิทธิผู้บาดเจ็บ ว่างงานเต็มที่
“กัน จอมพลัง” พา “คะน้า” ดาราสาว เข้าแจ้งความเอาผิด “ไฮโซเก๊” ตร.ไซเบอร์เตรียมออกหมายเรียกพรุ่งนี้
ทะเลเดือด "ฮูตี" ซัดขีปนาวุธ-โดรนถล่มเรือรบมะกัน 2 ลำโจมตีฐานทหารอิสราเอล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น